คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 900

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค, การยินยอมลงวันที่เช็ค, และความรับผิดตามเช็คพิพาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยบรรยายรายละเอียดของเช็คพิพาท และแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทและใบคืนเช็คมาท้ายฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาครบถ้วน จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับ เพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่ออกเช็คได้เอง โจทก์จึงมีสิทธิลงวันที่ในเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับได้ เมื่อโจทก์ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548 ในเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับ อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2548 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7749/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยเรียกรับเงินจากผู้ขาย เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 บัญญัติให้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ซึ่งหมายความว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดี เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายสินค้าและจัดส่ง และได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้จัดซื้อรถยกและชั้นวางสินค้าไว้ใช้ในคลังสินค้าของบริษัทนายจ้าง แต่ในการเจรจาซื้อสินค้าดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าตอบแทนในการจัดซื้อสินค้าไว้เป็นการส่วนตัว และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการประพฤติทุจริตเบียดบังสิทธิและผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่การงานและความไว้วางใจของนายจ้างที่ให้อำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อตกลงเรียกเงินค่าตอบแทนในการเจรจาซื้อขายสินค้าดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็ค, ความสุจริตของผู้ทรงเช็ค, และอายุความฟ้องร้องตั๋วเงิน
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ จำเลยที่ 2 สลักหลักเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังส่งมอบต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 921, 940 ประกอบมาตรา 989 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงแยกจากกันตามฐานะแห่งตน ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จะปลอมหรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1006
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลแชร์เพื่อหารายได้ ไม่เกินวัตถุประสงค์บริษัท จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
การประมูลแชร์เป็นวิธีการหารายได้อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบธุรกิจหรือการอื่นใดที่ต้องใช้เงิน เป็นกิจทั่วไปที่ดำเนินการได้เพื่อให้กิจการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือรับรองดำเนินไปได้ จึงมิใช่เรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามเช็คไม่ระงับหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญา
มูลหนี้คดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้วมีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สามารถชำระได้ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็ค แม้จะมีมูลหนี้ลดลง
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า แม้จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท แต่โจทก์กับจำเลยมีมูลหนี้กัน 100,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 100,000 บาท ทั้งนี้โดยรับฟังข้ออ้างของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องรับผิดก็คงรับผิดเพียงหนี้ตามเช็คที่ ส. ได้สั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ ฉบับละ 50,000 บาท รวม 100,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทั้งสองไว้เท่านั้น ทั้งนี้จำเลยได้ขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกสมุดบัญชีเงินสดรายวันของโจทก์ที่แสดงให้ปรากฏรายการรับเงินการจ่ายเงินทุกประเภทของทุกวันทำการระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์มาเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ถึงข้ออ้างของจำเลยแต่โจทก์ไม่สามารถส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงได้วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกเอกสารของศาลโดยไม่มีเหตุผลสมควร ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างของจำเลยที่ว่ามูลหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จำนวน 100,000 บาท โจท์ยอมรับแล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาทเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การจะนำข้อสันนิษฐานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับต่อคดีได้นั้น ต้นฉบับเอกสารที่จำเลยอ้างว่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ที่จำเลยประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานจะต้องเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถพิสูจน์พยานซึ่งเป็นประเด็นในดคีได้โดยตรง คดีนี้ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยซึ่งรับเองว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ในปี พ.ศ.2541 ส่วนพยานเอกสารที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจากโจทก์นั้น เป็นสมุดเงินสดรายวันของโจทก์ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2543 ซึ่งไม่อยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์ ดังนั้น แม้จะได้เอกสารที่จำเลยขอมาและจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นคนนำเช็คไปขายลดเช็คให้โจท์หรือมีหลักฐานว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะมีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ แล้วต่อมาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบนำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อและผู้สลักหลังเช็ค
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า เช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกันหรือไม่ และโจทก์ได้เช็คมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ชำระราคาค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้นำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือไปมอบให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทนำไปมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกัน และโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดประเด็นขึ้นมาวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงมิได้เป็นการหยิบยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันสินค้า: แม้ไม่มีเจตนาชำระหนี้โดยตรง แต่ยังผูกพันตามกฎหมาย หากสินค้าไม่ชำระ
การออกเช็คเพื่อประกันค่าสินค้าที่ลูกค้าหรือสมาชิกสั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยนั้นเพื่อเป็นประกันว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ส่งให้แก่ลูกค้าหรือสมาชิก หากลูกค้าหรือสมาชิกไม่ชำระโจทก์ก็ยังได้รับเงินค่าสินค้าตามเช็คดังกล่าว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ค่าสินค้า จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น แม้คดีในส่วนอาญา จำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ก็เป็นเพราะเช็คที่จำเลยออกมิใช่เป็นเช็คเพื่อชำระหนี้อันเป็นองค์ประกอบของความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าหรือสมาชิก จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชอบชำระหนี้ค่าสินค้าตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวต่อผู้ทรงเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10595/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คของผู้ถือโดยสุจริต ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่ผูกพันแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับโอน
ผู้ทรงเช็คผู้ถือมีสิทธิโอนโดยการส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และเมื่อเช็คพิพาทตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือโดยโจทก์อ้างว่ามีผู้นำมาแลกเงินสดจากโจทก์ และจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 และมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ได้ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบ มาตรา 989 วรรคหนึ่ง เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงมิให้นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร และต่อมาได้มีการหักกลบลบหนี้กันระหว่างจำเลยกับ ช. แล้ว จึงไม่มีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีกต่อไปแล้วนั้น เป็นการต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ช. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ในกรณีที่ ช. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การโอนสิทธิ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง และความรับผิดของผู้สลักหลัง
เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918, 989 โจทก์ผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในมูลหนี้ตามตั๋วเงินคือเช็คไม่อาจต่อสู้ผู้ทรงคือโจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ จ. ผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้ จ. โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการเล่นแชร์ระหว่างกัน คำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับ จ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ฉะนั้นจำเลยจะยกความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
of 36