พบผลลัพธ์ทั้งหมด 794 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป้องกันตัวไม่อ้างได้เมื่อผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายก่อน และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชอบ
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 68 ผู้ยกขึ้นอ้างต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำกระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจ ใช้อาวุธปืนยิง ก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อาวุธปืนป้องกันตัวเกินสมควร และการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า แต่การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับแก้อุทธรณ์ของโจทก์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาฆ่า จึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไปเพื่อจะทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด ถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน แต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลยจึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไปเพื่อจะทำร้ายผู้เสียหาย เมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด ถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน แต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลยจึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อเนื่องจากโทสะหลังถูกทำร้าย ศาลฎีกาตัดสินความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า แต่การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยมิได้อุทธรณ์กลับแก้อุทธรณ์ของโจทก์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน ดังนี้ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาฆ่า จึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไป เพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อนแต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลย จึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โดยบันดาลโทสะ
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไป เพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อนแต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลย จึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดหลายกระทง ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. ได้รับอันตรายสาหัส แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย ว. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กายอีก เป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยมีรายละเอียดให้ เห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้กระทำความผิดหลายกรรม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายด้วยอาวุธมีด การพิสูจน์เจตนา และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดของกลางฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยยังไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายพี่น้องร่วมสายเลือด การพิสูจน์เหตุการณ์ และการรอการลงโทษ
การที่จำเลยโกรธโจทก์ร่วมที่ไม่ยอมลงชื่อรับหนังสือจากจำเลยและด่าโจทก์ร่วมว่า "ไอ้ลูกหมา" พร้อมกับผลักโต๊ะใส่ แล้วเข้ากอดปล้ำต่อสู้กัน ถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุกับสมัครใจทะเลาะวิวาท จึงไม่อาจอ้างว่ากระทำไปเพื่อป้องกันเพราะการป้องกันโดยชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกระทำฝ่ายเดียวก่อนจึงได้กระทำไปเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง
ใบหูเป็นส่วนที่ประกอบรูปหน้าให้งาม การที่ใบหูขาดไปส่วนหนึ่งซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ย่อมทำให้รูปหน้าเสียความงามอันเป็นการเสียโฉมอย่างติดตัว แม้บาดแผลจะรักษาหายประมาณ 14 วันโจทก์ร่วมก็ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว
จำเลยกับโจทก์ร่วมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มูลคดีนี้มาจากการบริหารงานบริษัทของพี่น้อง จำเลยจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง การลงโทษจำคุกจำเลย ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแก่สังคมส่วนรวมโดยเฉพาะความสัมพันธ์ ฉันพี่น้องโจทก์ร่วมก็ไม่ได้โกรธแค้นจำเลยซึ่งเป็นน้องจนไม่ยอมอภัย จึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยได้ปรับเปลี่ยน นิสัยที่ยังอาจแก้ไขได้เสียใหม่
ใบหูเป็นส่วนที่ประกอบรูปหน้าให้งาม การที่ใบหูขาดไปส่วนหนึ่งซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ย่อมทำให้รูปหน้าเสียความงามอันเป็นการเสียโฉมอย่างติดตัว แม้บาดแผลจะรักษาหายประมาณ 14 วันโจทก์ร่วมก็ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว
จำเลยกับโจทก์ร่วมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มูลคดีนี้มาจากการบริหารงานบริษัทของพี่น้อง จำเลยจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง การลงโทษจำคุกจำเลย ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแก่สังคมส่วนรวมโดยเฉพาะความสัมพันธ์ ฉันพี่น้องโจทก์ร่วมก็ไม่ได้โกรธแค้นจำเลยซึ่งเป็นน้องจนไม่ยอมอภัย จึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยได้ปรับเปลี่ยน นิสัยที่ยังอาจแก้ไขได้เสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของทายาทหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนในสถานการณ์ถูกทำร้ายและเข้าใจผิด ศาลยืนตามอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง
ผู้ตายให้ผู้เสียหายจอดรถจักรยานยนต์กลางสะพาน แล้วผู้ตายยืนดักคอยจำเลย เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์มาถึง ผู้ตายถีบรถจักรยานยนต์จนล้มลงและเข้าชกต่อยจำเลย ขณะนั้นเป็นเวลาวิกาล เมื่อจำเลยถูกทำร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุในลักษณะจู่โจมและเกิดขึ้นโดยทันที ทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายกับผู้เสียหาย อาจดักรอชิงรถจักรยานยนต์หรืออาจประสงค์ร้ายต่อภรรยาจำเลยที่นั่งซ้อนท้ายมาจำเลยมีรูปร่างเล็กมากไม่มีทางสู้แรงปะทะของผู้ตายและผู้เสียหายหรือหนี รอดพ้นได้การที่จำเลยซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อครัวใช้มีดทำครัวที่พกติดตัวเป็น อาวุธแทงผู้ตายเพียง 1 ที แต่บังเอิญไปถูกอวัยวะสำคัญ ผู้ตายจึงถึงแก่ความตาย และเมื่อผู้เสียหายเข้ามาถีบจำเลย จำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้เสียหายได้เข้าช่วย รุมทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายเพียง 1 ทีเช่นกัน การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การใช้กำลังเพื่อป้องกันภยันตรายใกล้จะถึงจากการประทุษร้าย
จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีเรื่องกับผู้ตาย เมื่อผู้ตายถือมีดเข้ามาท้าทาย จำเลยเพียงแต่ใช้มือผลักอกผู้ตายเท่านั้น การที่ผู้ตายยังเข้าไปหาจะใช้มีดฟันจำเลยอีก จำเลยจึงถีบผู้ตายและใช้มีดฟันผู้ตายไปเพียงครั้งเดียว แม้ผู้ตายจะมีอาการมึนเมาสุรา แต่ตามลักษณะอาการของผู้ตายแสดงว่ายังครองสติได้ การมึนเมาสุราดังกล่าวจะยกขึ้นมาเพื่อฟังให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้ พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยฟันผู้ตายเพื่อป้องกันตนเอง ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด