คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1733

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยศาลเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางซื้อขาย, อายุความมรดก: การฟ้องแบ่งมรดกต้องทำภายใน 1 ปีนับจากทราบการตาย
ตามคำให้การจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ.ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมการซื้อขายต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ นิติกรรมการยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้ ช.สามี ศ.เจ้ามรดก ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับ ศ. เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงสินสมรสย่อมแยกกันตามกฎหมาย และตกเป็นมรดกของ ศ.กึ่งหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ศ. และจำเลยซึ่งเป็นบุตร รวมทั้งช.สามีเจ้ามรดกได้คนละส่วนเท่ากัน โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันทราบถึงการตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 คดีจึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดคดีขาดอายุความ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น การจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความ ต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การครอบครองแทนทายาททำให้การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังข้อเท็จจริงว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดินโจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้านถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่นการจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: สิ้นสุดเมื่อจัดการทรัพย์สินมรดกเสร็จสิ้น แม้มีการโอนให้ทายาท
แม้การกระทำของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอนจำเลยที่1ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี2528โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี2535เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: เริ่มนับเมื่อการจัดการมรดกสิ้นสุด แม้มีการโอนทรัพย์สินและถอนเงินแล้ว
แม้การกระทำของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอนจำเลยที่1ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี2528โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี2535เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: นับแต่วันจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้มีเหตุอาจถอดถอนผู้จัดการมรดก
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความในคดีมรดก
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1727บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นกรณีมิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก หรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 ที่จะนำอายุความตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอได้ แม้ไม่มีคดีแบ่งมรดก และอายุความคดีไม่ขาด
การร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่า ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องร้องขอเข้ามาในคดีเดิม คือในคดีที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้จะไม่มีการฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกด้วย ผู้ร้องก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีเดิมได้
ข้อคัดค้านที่ว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก เป็นของผู้คัดค้านซื้อมา ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ส่วนปัญหาที่ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทเป็นของตนเองหมดแล้ว การจัดการมรดกเสร็จแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยและผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่มีประเด็นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาข้างต้นจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรน์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1727 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเท่านั้น มิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงจะนำอายุความฟ้องคดีมรดกและคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 มาใช้บังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก, อายุความ, และคุณสมบัติผู้จัดการมรดกของนิติบุคคล
การที่สภากาชาดไทยมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้โดยอาศัยใบมอบอำนาจทั่วไปไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีได้ด้วยเป็นเพียงเรื่องการมอบอำนาจบกพร่องเท่านั้นไม่เป็นผลถึงกับทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไปก่อนสืบพยานผู้ร้องก็ได้ส่งใบมอบอำนาจให้เลขาธิการฟ้องคดีได้ซึ่งถือว่าเป็นการให้สัตยาบันการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ได้กระทำไปแล้วการมอบอำนาจให้เลขาธิการยื่นคำร้องคดีนี้จึงสมบูรณ์ผู้ร้องมีอำนาจร้องคดีนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีของผู้ร้องก็ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733 สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสภาพไม่ใช่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเมื่อการจัดการมรดกไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ร้องก็ไม่อยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718.
of 5