คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ม. 36 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและป่าสงวน: ผู้มีสิทธิฟ้องร้องคดีบุกรุก
ส. ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นที่ดินของรัฐสภา ท. ส. จึงมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ซื้อตามกฎหมาย และต่อมาได้มีการกำหนดให้ที่ดินในท้องที่ที่ดินพิพาทเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินแปลงนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ และมาตรา 36 ทวิ กำหนดว่า บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มา ตาม พ.ร.บ. นี้หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส. จะมีสิทธิเข้าครอบครองได้ก็แต่โดยการได้รับเอกสารสิทธิจาก ส.ป.ก. เมื่อ ส.ป.ก. ยังมิได้อนุญาตให้ ส. เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งหลังจาก ส. ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์แล้วมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส. จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอย่างใด โดย ส. เพียงแต่อ้างว่าได้ไถปรับที่ดินไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี จึงไปดูที่ดินพบว่าจำเลยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่ ส. เพียงแต่ไถปรับที่ดินทิ้งไว้โดยไม่ทำประโยชน์อะไรนานเป็นปี ถือไม่ได้ว่า ส. ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนในขณะที่จำเลยเข้าไปทำประโยชน์ และที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ส.ป.ก. ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุกตามฟ้องซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิจากการคัดเลือกของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินฯ และอำนาจในการเพิกถอน
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาก่อนมีการปฏิรูปที่ดินและมิได้เช่าจากโจทก์ แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาททั้งสองย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด เมื่อโจทก์ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินที่มีโฉนด สิทธิซื้อขายจากผู้ไม่มีสิทธิเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่มีอำนาจแม้เจ้าพนักงานที่ดินจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินเพราะกระบวนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายย่อมตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 29 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้จะอ้างอิง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
จำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ผู้ที่มิใช่เจ้าของ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายจึงตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ ประกอบมาตรา 37 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตปฏิรูปฯ ยังเป็นกรรมสิทธิ์ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึดเพื่อชำระหนี้
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 36 ทวิ บัญญัติว่าบรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แสดงว่าที่ดินใดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและผู้ครอบครองไม่สามารถแสดงสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายที่ดินเหล่านั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ที่ดินที่โจทก์นำยึดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงถือว่าเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 2 ซึ่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินฯ ให้อำนาจ ส.ป.ก. นำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ตามมาตรา 8 กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นของ ส.ป.ก. หาใช่ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดไม่ ทั้งยังถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ห้ามยึดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 อีกด้วย เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 จะได้สิทธิในที่ดินไม่ เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดทรัพย์ที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
โจทก์ขอนำยึดที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ทาง ส.ป.ก. ได้จัดไว้เพื่อให้ผู้ถือครองคือจำเลยซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ขณะโจทก์นำยึดที่ดินยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แก่จำเลย และพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยจะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยจะได้สิทธิในที่ดินไม่เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์อยู่ที่ ส.ป.ก. ไม่ใช่ผู้ถือครอง
เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่จำเลยที่ 1 มีเพียงสิทธิถือครองเพราะยังไม่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิใด ๆ ให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องถือว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ป. ก. ตามพ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาดเพื่อเอาชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่อยู่ในนิยาม 'ป่า' การตัดไม้ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 3(2) จึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1)การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก.ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ใช่ป่าไม้ การตัดไม้ในที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มาตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงไม่ใช่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (1) การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด การที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8147/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิและการโอนสิทธิในที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดิน
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธินั้นไปยังบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดโดยทางมรดก ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนปฏิรูปที่ดิน แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ย่อมมีสิทธิที่จะนำไปให้บุคคลใดที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ได้ เมื่อทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ตรวจสอบคุณสมบัติของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง
of 2