พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียขอเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาทโดยธรรมในทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งสอง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ตายที่ 1 กับ ศ. เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตาย ก่อนตายผู้ตายที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 2 แปลง คือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 419 และ 420 โดยผู้ตายที่ 1 กับผู้ตายที่ 2 ทำประโยชน์และมีชื่อเป็นผู้ครอบครองร่วมกันตั้งแต่ปี 2516 โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ตายที่ 1 เป็นผู้ทำกินโดยปลูกข้าวและนำผลผลิตมาอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายที่ 2 หากผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายก็ให้ที่ดินทั้งหมดตกเป็นสิทธิของผู้ตายที่ 1 เพียงผู้เดียว ต่อมาผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมและมิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายที่ 1 ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่ 1 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของผู้ตายที่ 2 เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6391-6392/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาทนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ได้ยื่นคำแถลงว่าผู้ร้อง และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงกันได้ โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อนดังนั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ค้ำประกันและผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดกของผู้ตาย
นอกจากผู้คัดค้านกับผู้ตายจะอยู่กินกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยตามปกติธรรมดาของสามีภริยาทั่วไปแล้ว ผู้คัดค้านยังได้เข้าค้ำจุนช่วยเหลือธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของผู้ตายโดยยอมเป็นผู้ค้ำประกันในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้ตายในการผ่อนชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่อีกด้วย ซึ่งการเป็นผู้ค้ำประกันในฐานะลูกหนี้ร่วมดังกล่าว ทำให้ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยจากกองมรดกของผู้ตายเพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ทั้งยังเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดาที่มีเหนือผู้ตายได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลที่ต้องถูกกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่อันเนื่องจากการจัดแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การตัดทายาท, ผู้จัดการมรดก, การไม่มีส่วนได้เสีย, การเพิกถอนคำสั่งศาล
ตามพินัยกรรมเอกสารหมายค.9และค.11ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกและให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวแม้จะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมายค.11ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตามพินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใดพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคท้ายผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่งจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727วรรคหนึ่ง ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่1ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้วและหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทยบริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วจึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่1เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยดังนี้เมื่อผู้คัดค้านที่1ยืนยันชัดแจ้งว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยธรรมเนื่องจากพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ค.9 และ ค.11 ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าพินัยกรรม เอกสารหมาย ค.11 ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตาม พินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้น ทั้งไม่ปรากฎว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใด พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1608 วรรคท้าย ผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ปรากฎว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้ว และหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 1 เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยืนยันชัดแจ้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ปรากฎว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้ว และหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 1 เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยืนยันชัดแจ้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: เหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดก, การอ้างทายาทเพิ่มเติม, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์
ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้ว เหตุแห่งการขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกจึงหมดไปกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีก
ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องปกปิดความจริงว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอีกคนหนึ่ง และยังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ผู้ร้องมิได้ระบุมาในคำร้อง เมื่อผู้คัดค้านมิได้มีข้อเท็จจริงอื่นมาประกอบเพื่อให้รับฟังโดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดทรัพย์มรดกและทายาท อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ทั้งคำร้องของผู้คัดค้านก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่สามารถหรือละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้สมควรสั่งเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำร้องคัดค้านมาแต่แรก เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ยังถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในกรณีเช่นนี้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจริง ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้
ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องปกปิดความจริงว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอีกคนหนึ่ง และยังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ผู้ร้องมิได้ระบุมาในคำร้อง เมื่อผู้คัดค้านมิได้มีข้อเท็จจริงอื่นมาประกอบเพื่อให้รับฟังโดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดทรัพย์มรดกและทายาท อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ทั้งคำร้องของผู้คัดค้านก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่สามารถหรือละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้สมควรสั่งเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำร้องคัดค้านมาแต่แรก เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ยังถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในกรณีเช่นนี้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจริง ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้