คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พันธุ์เลิศ บุญเลี้ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6156/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจเจ้าของร่วมในอาคารชุดเพื่อดำเนินการจัดประชุม และการประชุมที่เป็นผลจากการมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 42/2 (3) ไม่ได้บัญญัติห้ามเจ้าของร่วมในอาคารชุดมอบอำนาจให้ผู้อื่นหรือเจ้าของร่วมคนอื่นกระทำการแทนตนเอง อีกทั้งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ม. ก็ไม่มีข้อกำหนดห้ามเช่นเดียวกัน การที่เจ้าของร่วมในคดีนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านไปดำเนินการแทนเกี่ยวกับการทำหนังสือขอให้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดจัดประชุมใหญ่วิสามัญ และการตั้งตัวแทนเพื่อการออกหนังสือนัดประชุมภายหลังจากที่คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามคำขอของเจ้าของร่วมซึ่งมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคะแนนเสียงทั้งหมด โดยการดำเนินการดังกล่าวมิใช่เป็นการเฉพาะตัวในกิจการที่สำคัญที่เจ้าของร่วมจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง เจ้าของร่วมจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านเป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการแทนตนเองได้ บทบัญญัติมาตรา 1173 แห่ง ป.พ.พ. ไม่อาจนำมาบังคับใช้กับกรณีในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การครอบครองพื้นที่ และความรับผิดทางแพ่ง
ความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ สามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดฐานบุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
แม้โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าที่ดินที่เกิดเหตุเป็นป่า โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้ชัดเจนว่าเป็นป่าตามฟ้องประเภทใดก็ตาม แต่เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุเป็นป่า ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็ย่อมเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปหาพืชผักหรือปลาที่ไม่ใช่ของป่าหวงห้ามเพื่อการดำรงชีพได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาหาได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้องโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8954/2558 เป็นเรื่องที่ทายาทของ ส. อ้างว่าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ฟ้องขับไล่ อ. ผู้บุกรุกและเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นการที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันว่า ผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อน และใครมีสิทธิดีกว่ากัน หาได้มีการวินิจฉัยรับรองถึงสถานะของที่ดินพิพาทว่าเป็นป่าหรือไม่ ทายาทของ ส. ผู้ชนะคดีมีสิทธิครอบครองที่ดินและกระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมืองหรือไม่แต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ได้ก่อสิทธิใดแก่ทายาทของ ส. ที่จะยกขึ้นต่อสู้รัฐได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกดำเนินคดีนี้ แม้ที่ดินที่เกิดเหตุที่จำเลยครอบครองแทนทายาทของ ส. เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งดังกล่าว ผลของคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิอันใดแก่จำเลยที่ยกขึ้นยันรัฐได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีของบุคคลที่ไม่ได้เป็นทนายความ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามกฎหมาย
มูลเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกอุทธรณ์ของจำเลย เนื่องจาก ส. ขณะทำคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าเป็นทนายความ จึงต้องห้ามมิให้เป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคำคู่ความและคำฟ้องอุทธรณ์ตามลำดับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ในส่วนคำแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขคำแก้อุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ในส่วนอุทธรณ์เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียง และผู้พิมพ์ เช่นเดียวกันกับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้จำเลยแก้ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้ แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะเพิกถอนการรับฟ้องอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดำเนินการเสียเองให้จำเลยแก้ไขให้ถูกต้องก่อนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียว จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นฎีกาว่า จำเลยโดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นใบแต่งทนายความแต่งตั้ง ส. ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้แล้ว อันไม่จำต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสาธารณสมบัติฯ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีที่ดิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้ยกคำร้องขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โจทก์มิได้ฎีกา คดีอาญาจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ส่วนข้อวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เป็นเพียงมูลเหตุแห่งคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว คู่ความชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ยกฎีกาจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือสนับสนุนการประมงต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจเรือ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประเภทภายหลังกำหนด
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติมครั้งที่ 4 มีข้อกำหนดให้เจ้าของเรือประมงและเรือที่เกี่ยวข้องกับการประมงและเรือสนับสนุนการประมงต้องนำเรือมาให้คณะทำงานตรวจเรือตรวจสอบและทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์เรือภายในเวลาที่กำหนด ต่อมามีประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 101/2560 เรื่อง การตรวจสอบและทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์และการแจ้งรายการเกี่ยวกับเรือตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 โดยกำหนดให้เจ้าของ ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองเรือหรือผู้รับมอบอำนาจเจ้าของเรือตามรายชื่อแนบท้ายประกาศกรมเจ้าท่าฉบับนี้ อันรวมถึงจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือมายื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรือและทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์หรือมาแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือแอลพีเอส 5 เรือมีน้ำหนัก 166 ตันกรอส ประเภทเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต ใช้บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องมายื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรือและทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์เรือ หรือมาแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มาของไม้ หากไม่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายถือว่าผิด
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีภาระพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้พะยูงอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีไม้พะยูงแปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 69 และ 73 ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว หากจำเลยจะต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าไม้ท่อนของกลางเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ส่วนไม้แปรรูปของกลางก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) เมื่อมาตรา 69 วรรคหนึ่งและมาตรา 50 (4) ได้บัญญัติในเรื่องภาระการพิสูจน์ไว้เป็นการเฉพาะเช่นนี้แล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วมี พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม" บทบัญญัติมาตรา 7 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็หามีผลทำให้โจทก์มีภาระพิสูจน์ถึงที่มาของไม้ท่อนและไม้แปรรูปของกลางไม่ แต่ยังคงเป็นภาระของจำเลยที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในการนำสืบข้อเท็จจริงอันจะทำให้ตนพ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษและรอการลงโทษคดีไม้หวงห้าม โดยพิจารณาจากคำรับสารภาพ การยอมสละข้อต่อสู้ และเหตุผลในการบรรเทาโทษ
การที่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์ว่า กระทำความผิดทุกกระทงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่เป็นการแก้ไขคำให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพในชั้นอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยยอมสละข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ด้วยการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่อีกต่อไป ถือเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตาม ป.อ. มาตรา 78 จึงมีเหตุลดโทษให้แก่จำเลยบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนผิดกฎหมาย: แก้ไขโทษกรรมเดียวจากครอบครองอาวุธปืน วัตถุระเบิด และยุทธภัณฑ์
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นความผิดและระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 ประกอบมาตรา 55 อันเป็นบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดดังกล่าวในขณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ซึ่งต้องลงโทษฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามตาม ป.วิ.พ. เนื่องจากจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาเพื่ออ้างประโยชน์จากกฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับหลังมีคำพิพากษา
จำเลยให้การว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นของจำเลย และไม่ทราบว่าเป็นไม้ของผู้ใด โดยไม่เคยให้การว่าเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. อีกทั้งในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังคงโต้เถียงว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นไม้ของจำเลย มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาอ้างว่า ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 11