คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการจ่ายค่าสิทธิและดอกเบี้ย: การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมิน
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40(3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (4)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมินไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40(1) และ (2) ฉะนั้นเงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 แล้วก่อนประเมิน ครั้นคดีขึ้นสู่ศาลโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบหักล้างการประเมิน ถ้ารายใดโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าการประเมินนั้นถูกต้อง
เมื่อได้มีการเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิจารณาในชั้นไต่สวนแล้วก็ถือว่าได้มีการไต่สวนโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ใดมาสอบถามหรือไม่และสอบถามอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
แม้ตามเอกสารของบริษัทแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินค่าพาหนะแก่โจทก์ในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงาน แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จ่ายประสงค์จะจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อดูงานจริง ๆ หากแต่เป็นการจ่ายเป็นค่าตอบแทนในฐานะโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษํทแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) แต่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)
สิทธิการเช่าตึกคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ที่โจทก์ได้มาโดยไม่ได้จ่ายค่าทดแทนถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินได้จากการอื่นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ละเลยไม่เสียภาษีเงินได้ จึงสมควรที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว แต่เป็นเพราะโจทก์มีภารกิจหน้าที่การงานมากเรื่องภาษีอากรโจทก์ไม่ได้ทำเอง โจทก์ไม่มีความรู้ว่าต้องเสียภาษีอะไรเท่าใด คนของโจทก์จัดทำมาให้เสร็จ ทั้งขณะนั้นโจทก์กำลังประสบกับความทุกข์อย่างหนักตามที่ยกขึ้นกล่าวก็ไม่ใช่เหตุผลในกฎหมายอันทำให้โจทก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร: การพิจารณาเงินได้พึงประเมินและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อโจทก์ถือว่าคำสั่งเดิมของเจ้าพนักงานประเมินที่ได้นำส่งภาษีเงินได้เป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์ ก็ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะออกคำสั่งฉบับใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้อง โดยยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมที่ระบุชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์นั้นเสีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินกระทำเช่นนั้น
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่นายจ้างจ่ายค่าภาษีแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินภาษีตามมาตรา 40(1)(2) ของประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 นั้น เมื่อมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีเรื่องนี้อยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย(กรมสรรพากร) โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้อันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้: เงินที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 นั้น เมื่อมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีเรื่องนี้อยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย(กรมสรรพากร) โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินอันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้ที่ต้องนำมาประเมินภาษีซ้ำ
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินอันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้และกำไรสุทธิทางภาษี: เงินได้ต้องได้รับมาแล้ว ไม่ใช่แค่สิทธิเรียกร้อง
(1) ความในมาตรา 39 นั้น เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว
of 7