พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายความที่ได้รับมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย ศาลอนุญาตถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ได้
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนทนายความคนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ตามคำร้อง ของ กรรมการชุดใหม่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 คัดค้านการแต่งตั้งทนายความคนใหม่ของจำเลยที่ 1 หรือคัดค้านว่าผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1ไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 หรือคัดค้านว่าหนังสือรับรองแนบท้ายคำร้องไม่ถูกต้อง ทนายความคนใหม่ของจำเลยที่ 1จึงเป็นทนายความของจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งของศาล ตามหนังสือแต่งตั้งทนายความจำเลยที่ 1 ให้อำนาจทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิเช่น การประนีประนอมยอมความ การที่ทนายความของจำเลยที่ 1ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองจึงได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 โดยชอบ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะนายทะเบียนหุ้นซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1และอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้บังคับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนหุ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วทั้งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปโจทก์ทั้งสองจึงไม่จำเป็นต้องฟ้องร้อง เพื่อบังคับคดีกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อีก การถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและสั่งอนุญาตได้ตามหลักการอนุโลมมาตรา 246 และ 175 ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1(3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาบังคับใช้โดยอนุโลมโดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้ และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์ในคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจอนุญาตได้ตามหลักอนุโลมจากบทบัญญัติในศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1 (3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา175 มาบังคับใช้โดยอนุโลม โดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้ และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์ในคดีแพ่ง: ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้ แม้จำเลยคัดค้าน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1(3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาบังคับใช้โดยอนุโลม โดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อนแม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและการฟ้องแย้ง: ศาลอนุญาตถอนฟ้องได้หากไม่มีผลทำให้คู่ความเสียเปรียบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องได้ในภายหลัง
แม้หากศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จสำนวนจะต้องพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ถูกต้องก็ตาม แต่การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับประเด็นในเนื้อหาแห่งคดี จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงหามีผลทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีไม่และเมื่อการอนุญาตให้ถอนฟ้องมีเหตุอันสมควร ฟ้องแย้งย่อมตกไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาเหตุผล, ความจำเป็น, และผลกระทบต่ออีกฝ่าย
การที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่ เป็นการถอนฟ้องไปเพื่อเจตนาที่จะฟ้องใหม่ โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิง คดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ดังนั้น แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่ศาลก็ใช้ดุลพินิจ อนุญาต ให้โจทก์ถอนฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาความจำเป็นและมิเป็นการเอาเปรียบ
แม้จำเลยจะคัดค้านการถอนฟ้อง แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่ประการใด เป็นการถอนฟ้องไปเพื่อที่จะฟ้องใหม่ โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ฟ้องของโจทก์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่มีข้อบกพร่องปรากฏให้เห็นว่าจะเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อฟ้องใหม่อันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีแต่โจทก์มีความจำเป็นสำหรับจำเลยอื่นที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อน โดยข้อเท็จจริงที่เป็นที่มาแห่งความจำเป็นนี้ปรากฏแก่โจทก์หลังจากฟ้องคดีไปแล้วถ้าจะถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่จำเป็นโดยไม่ถอนฟ้องจำเลยในคดีนี้ทั้งหมด ก็จะทำให้ต้องมีการพิจารณาคดีในหนี้ที่โจทก์ฟ้องถึงสองครั้ง เป็นการเสียเวลาในการดำเนินคดีโดยไม่จำเป็น ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องรวมถึงจำเลยที่ 4ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะคัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตถอนฟ้องในคดีที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพิพาท กับเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่โจทก์ฎีกาเรื่องนี้ขึ้นมาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อโจทก์เปลี่ยนความเห็น
โจทก์ได้ตั้ง ช. เป็นทนายให้มีอำนาจอุทธรณ์และถอนอุทธรณ์ด้วย ต่อมา ช. ได้ขอถอนอุทธรณ์ในนามของโจทก์ โดยให้เหตุผลการถอนอุทธรณ์ว่าเพราะตกลงกับจำเลยได้ ศาลชั้นต้นได้สอบถาม ช.และตัวจำเลยแล้ว ช. ก็ยืนยันว่าโจทก์ขอถอนอุทธรณ์และไม่ติดใจบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไป ส่วนจำเลยก็ยืนยันไม่คัดค้านเช่นกัน ฉะนั้นการที่ตัวโจทก์ยื่นคำร้องในวันนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยทนายของโจทก์ดังกล่าวว่าโจทก์ไม่ถอนอุทธรณ์ โดยมิได้ให้เหตุผลว่าคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ทนายโจทก์ยื่นแทนโจทก์นั้นไม่ชอบอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงมีความเห็นขัดแย้งกับทนายโจทก์ในเรื่องขอถอนอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องตกลงกับจำเลยได้ตามคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ ช.ทนายโจทก์อ้างถึง ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของตัวโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้วเพราะหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์แต่ให้พิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป ก็อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง