พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ แม้ถอนอุทธรณ์แล้วก็ไม่ช่วย
คดีเดิมโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยได้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องแย้งคดีเดิมและต่อมาโจทก์ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง แม้ต่อมาจะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในขณะยื่นคำฟ้องมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132-2135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียนตามกฎหมาย แม้จะมีการทำสัญญาและยื่นคำขอแล้ว
การอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์หรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่สำนวนถอนอุทธรณ์ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตได้ โจทก์ทั้งสี่ได้เช่าตึกแถวพิพาทจากพ. มีกำหนดครั้งละ10ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่พ. ให้โจทก์ทั้งสี่เช่าได้มีการก่อสร้างหรือต่อเติมตึกแถวพิพาทคงได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ทั้งสี่ให้เงินตอบแทนแก่พ. เพื่อขอทำสัญญาเช่าต่อจากสัญญาเดิมไปอีก10ปีโดยโจทก์แต่ละคนชำระเงินคนละ100,000บาทดังนั้นเงินที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าให้แก่พ. จึงหาใช่เงินช่วยก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับพ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ โจทก์ทั้งสี่กับพ. เพียงแต่ทำหนังสือสัญญาเช่ามีกำหนด10ปีโดยนำไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากส. ถึงแก่กรรมเสียก่อนการจดทะเบียนสิทธิการเช่ารายพิพาทนี้จึงยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ข้อตกลงเช่ากันใหม่อีก10ปีจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538โจทก์ทั้งสี่จะอ้างระยะเวลาเช่า10ปีมาใช้ยันแก่จำเลยหาได้เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นการเช่าธรรมดาอันมิใช่สัญญาต่างตอบแทนและสัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538โจทก์ทั้งสี่จะบังคับให้จำเลยในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของพ. จดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสี่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132-2135/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อไม่ได้จดทะเบียน ทำให้ทายาทไม่ต้องรับผิดตามสัญญา
การอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร โจทก์ทั้งสี่เช่าตึกแถวพิพาทจาก พ. มีกำหนด10ปีเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ทั้งสี่ให้เงินตอบแทนแก่ พ. เพื่อขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก10ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ พ. ให้โจทก์ทั้งสี่เช่าได้มีการก่อสร้างหรือต่อเติมตึกแถวพิพาทเงินดังกล่าวจึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับ พ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ โจทก์ทั้งสี่กับ พ. ทำหนังสือสัญญาเช่ามีกำหนด10ปีโดยนำไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่าเนื่องจาก พ. ถึงแก่กรรมก่อนการจดทะเบียนสิทธิการเช่าจึงยังไม่บริบูรณ์โจทก์ทั้งสี่จะอ้างระยะเวลาเช่า10ปีมายันแก่จำเลยในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. โดยจะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสี่หาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427-1428/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์: สิทธิถอนฟ้องครอบคลุมถึงการถอนอุทธรณ์ได้
ใบแต่งทนายความมีข้อความให้ทนายโจทก์ทั้งสองมีอำนาจถอนฟ้องและสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์รวมอยู่ด้วยทนายโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุญาตถอนฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าศาลไม่ควรอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: คำนึงเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาจากข้อได้เสียของคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวหากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีก่อนไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีใหม่ หากเป็นมูลหนี้เดิมและยังไม่ขาดอายุความ ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้องจำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นที่ยังไม่ได้ตัดสิน
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้อง จำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี