พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่งในการขนส่งสินค้าทางทะเล การแบ่งแยกความรับผิดชอบตามช่วงการขนส่ง
ผู้เอาประกันภัยสั่งซื้อสินค้าเมล็ดถั่วเหลืองจากผู้ขายในราคาค่าสินค้ารวมค่าระวางขนส่ง ผู้ขายว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง ตัวแทนของกัปตันเรือของจำเลยที่ 1 ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายที่ประเทศบราซิล โดยมีข้อความระบุว่า ให้ใช้ประกอบสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ เช่นนี้จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ หน้าที่และสิทธิของจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 5 เมื่อใบตราส่งระบุว่าเป็นการขนส่งจากท่าเรือต้นทางเมืองซานโตส ประเทศบราซิล ถึงท่าเรือปลายทางเกาะสีชัง ประเทศไทย หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือเกาะสีชัง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยว่าจ้างให้ดำเนินการขนถ่ายและขนส่งสินค้าจากเกาะสีชังต่อไปยังท่าเรือของผู้เอาประกันภัยที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การขนส่งทอดนี้จึงเป็นการขนส่งในราชอาณาจักรซึ่งไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 จึงเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้คนละช่วงคนละตอน หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยทั้งสองแยกกันอย่างเด็ดขาดและอยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายคนละฉบับ หากมีความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งที่จำเลยใดครอบครองดูแล จำเลยนั้นก็ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยเพียงลำพัง มิใช่รับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม
ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สินค้าในความดูแลของจำเลยที่ 1 สูญหาย แม้จำนวนน้ำหนักสินค้าต้นทางที่แน่นอนจะเป็นอย่างที่โจทก์กล่าวอ้างหรือจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มิใช่สาระสำคัญ และต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าตามจำนวนที่ได้รับมาแก่ผู้เอาประกันภัยถูกต้องครบถ้วนแล้ว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคสอง มิได้บกพร่องขาดจำนวนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะนำสืบขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าแต่ละช่วงแต่ละตอนประกอบรายงานการกำกับดูแลการขนถ่ายเมื่อเรือลำเลียงของจำเลยที่ 2 มาถึงท่าขนถ่ายสินค้าระบุว่า ตราผนึกอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สินค้าอยู่ในสภาพปกติไม่ปรากฏความเสียหายก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าเมื่อมีการชั่งน้ำหนักของสินค้าทั้งหมดที่โรงงานของผู้เอาประกันภัยสินค้าปรากฏว่าขาดหายไปกว่า 1,000 เมตริกตัน และมีการจับกุมและการตรวจยึดเรือลำเลียงอื่นซึ่งบรรทุกเมล็ดถั่วเหลืองและรถบรรทุกเมล็ดถั่วเหลืองเต็มกระบะอีก 4 คัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้าง พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า มีการลักลอบขนถ่ายสินค้าของผู้เอาประกันภัยไปจากความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่สูญหายไปดังกล่าว
ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สินค้าในความดูแลของจำเลยที่ 1 สูญหาย แม้จำนวนน้ำหนักสินค้าต้นทางที่แน่นอนจะเป็นอย่างที่โจทก์กล่าวอ้างหรือจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มิใช่สาระสำคัญ และต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าตามจำนวนที่ได้รับมาแก่ผู้เอาประกันภัยถูกต้องครบถ้วนแล้ว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคสอง มิได้บกพร่องขาดจำนวนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะนำสืบขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าแต่ละช่วงแต่ละตอนประกอบรายงานการกำกับดูแลการขนถ่ายเมื่อเรือลำเลียงของจำเลยที่ 2 มาถึงท่าขนถ่ายสินค้าระบุว่า ตราผนึกอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สินค้าอยู่ในสภาพปกติไม่ปรากฏความเสียหายก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าเมื่อมีการชั่งน้ำหนักของสินค้าทั้งหมดที่โรงงานของผู้เอาประกันภัยสินค้าปรากฏว่าขาดหายไปกว่า 1,000 เมตริกตัน และมีการจับกุมและการตรวจยึดเรือลำเลียงอื่นซึ่งบรรทุกเมล็ดถั่วเหลืองและรถบรรทุกเมล็ดถั่วเหลืองเต็มกระบะอีก 4 คัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้าง พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า มีการลักลอบขนถ่ายสินค้าของผู้เอาประกันภัยไปจากความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่สูญหายไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6140/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากน้ำ: การพิสูจน์เหตุแห่งความเสียหายและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลตามสัญญาเช่าเรือ (Charterparty) ที่ทำกับผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่ง สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้รับตราส่งจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และถือว่าสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เริ่มตั้งแต่เมื่อจำเลยที่ 1 รับสินค้าไว้จากผู้ส่งของจนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 4 ผู้ประกอบการโรงพักสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 (3) ซึ่งเมื่อรับสินค้าที่ท่าเรือต้นทางจำเลยที่ 1 ออกใบตราส่งโดยมิได้บันทึกสภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอกไว้ในใบตราส่งจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 รับสินค้าที่มีสภาพภายนอกเรียบร้อยไว้เพื่อการขนส่ง ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และเมื่อเรือมาถึงท่าเรือของจำเลยที่ 4 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 มีการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือตั้งแต่วันที่ 22 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 มีการบันทึกไว้ที่มุมล่างขวาของ "Time Sheet" ว่าสินค้าได้รับการขนถ่ายขึ้นจากเรือตามสภาพที่บรรทุกลงเรือโดยไม่มีการสำรวจความเสียหายของสินค้าหรือมีการบอกกล่าวเป็นหนังสือจากผู้รับตราส่งถึงจำเลยที่ 1 ว่า สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายภายในเวลาตามที่บัญญัติในมาตรา 49 (1) และ (2) จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าตามสภาพที่ระบุไว้ในใบตราส่งและโจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าเหตุที่สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางถนนจากท่าเรือของจำเลยที่ 4 ไปยังโรงงานของบริษัท พ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นผู้ขนส่งและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยรับขนของ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้า หากเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618 อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 บัญญัติว่า "ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้" และแม้จำเลยที่ 5 จะให้การถึงเหตุที่ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงดังกล่าวเพียงคนเดียว แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อาจต้องรับผิดร่วมกันเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ กระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ให้การไว้ เมื่อมิได้ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ให้การนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ได้ทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสภาพความเสียหายของสินค้าไม่สามารถเห็นได้จากสภาพภายนอกเช่นนี้ ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวเรื่องความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 แล้วแต่กรณีส่งมอบสินค้า มิฉะนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ และจำเลยที่ 5 ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โรงงานของบริษัท พ. เมื่อวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ ระยะเวลา 8 วัน ที่ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในเรื่องความเสียหายของสินค้าจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5, 6 และ 8 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น จึงต้องถือว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้สิ้นสุดลงแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งคดีไม่มีประเด็นเรื่องการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะเนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 หรือไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางถนนจากท่าเรือของจำเลยที่ 4 ไปยังโรงงานของบริษัท พ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นผู้ขนส่งและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยรับขนของ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้า หากเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618 อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 บัญญัติว่า "ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้" และแม้จำเลยที่ 5 จะให้การถึงเหตุที่ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงดังกล่าวเพียงคนเดียว แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อาจต้องรับผิดร่วมกันเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ กระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ให้การไว้ เมื่อมิได้ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ให้การนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ได้ทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสภาพความเสียหายของสินค้าไม่สามารถเห็นได้จากสภาพภายนอกเช่นนี้ ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวเรื่องความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 แล้วแต่กรณีส่งมอบสินค้า มิฉะนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ และจำเลยที่ 5 ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โรงงานของบริษัท พ. เมื่อวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ ระยะเวลา 8 วัน ที่ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในเรื่องความเสียหายของสินค้าจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5, 6 และ 8 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น จึงต้องถือว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้สิ้นสุดลงแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งคดีไม่มีประเด็นเรื่องการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะเนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15019/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อความเสียหายสินค้าจากฝนตกและการหักความชื้น สินค้าขาดจำนวน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 104 ซึ่งมาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเพราะจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย และมาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ซึ่งในการสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์ นั้น แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารเป็นพยานหลักฐาน แต่โจทก์ก็มีพนักงานพิจารณาสินไหมบริษัทโจทก์ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเหตุที่เกิดแก่สินค้าดังกล่าวมาเป็นพยานตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของพยาน โดยจำเลยที่ 4 มิได้นำพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น เมื่อการขนส่งดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งสินค้าทางทะเลในประเทศ ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขนของ ซึ่งมิได้บัญญัติว่า สัญญาเช่นนี้ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือต้องมีหลักฐานเป็นเอกสารมาแสดงจึงจะบังคับกันได้ ดังนั้น ที่โจทก์นำสืบและพยานดังกล่าวเบิกความยืนยันจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับขนสินค้านั้นทางทะเลจากท่าเรือ ซึ่งแม้จะปรากฏว่าเป็นการรับขนตามสัญญาเช่าเรือ (Charterparty) แต่ก็มีการออกใบตราส่ง ดังนั้น การรับขนสินค้าทางทะเลในกรณีนี้ในส่วนของหน้าที่และสิทธิของผู้ขนส่งและผู้รับตราส่งซึ่งมิใช่ผู้จ้างเหมาจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 5 ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในประเทศ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การรับขนของทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 4 วรรคสอง โดยหน้าที่และสิทธิของจำเลยที่ 4 ให้บังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขนของดังกล่าวแล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับสินค้าที่ขนส่งไว้ในความดูแลเพื่อขนส่งและออกใบตราส่ง ซึ่งมีข้อความว่าสินค้าที่ขนส่งมีน้ำหนัก 1,964,583 เมตริกตัน และมีข้อความระบุว่า "Shipped, in apparent good order and condition" และข้อความว่า "Clean on board" แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับสินค้าที่ขนส่งไว้เพื่อการขนส่งสินค้ามีจำนวนตรงตามที่ระบุในใบตราส่ง และสินค้าอยู่ในสภาพดี และผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าที่ขนส่งกับได้ส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่เรือ ที่ผู้รับตราส่งจัดหามา จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งทางทะเลได้ส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับตราส่งแล้ว เมื่อเรือมาถึงเกาะสีชังผู้สำรวจและประเมินความเสียหายของสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างยังได้ออกรายงาน ยืนยันน้ำหนักสินค้าที่ขนส่งว่าเท่ากับที่รับไว้เพื่อการขนส่งจากต้นทาง จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้มอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง หรือถ้าไม่ได้ออกใบตราส่งให้ไว้แก่กัน ให้สันนิษฐานว่าได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพดี แล้วแต่กรณี และโจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าที่ส่งมอบไม่ครบตามจำนวนที่ระบุในใบตราส่ง ถือไม่ได้ว่าการที่สินค้าขาดจำนวนไป มาจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าที่ขนส่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อการที่สินค้าที่ขนส่งขาดจำนวนหรือสูญหายไปดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยที่ 4 ขาดจำนวนไปจากที่ได้รับไว้เพื่อการขนส่ง และโจทก์เองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบสินค้าที่ขนส่งไว้เพื่อขนส่งเป็นจำนวนเท่าใด ประกอบกับตามใบกำกับสินค้าก็ได้กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับความชื้นของสินค้าดังกล่าวไว้ด้วย ทั้งการขนส่งก็เป็นแบบเทกอง จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าข้าวสาลีที่ขนส่งขาดจำนวนไปดังกล่าวเช่นกัน ส่วนปัญหาเรื่องฝนตกอย่างฉับพลันคนเรือดึงผ้าใบปิดระวางเรือไม่ทัน เป็นเหตุให้สินค้าที่เหลืออยู่ในระวางเรือเปียกฝน เช่นนี้ถือว่าสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 ทั้งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะสามารถรู้ล่วงหน้าและป้องกันได้ในฐานะผู้ประกอบอาชีพรับขนส่งสินค้า จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในการที่สินค้าข้าวสาลีที่ขนส่งได้รับความเสียหายจำนวนนี้ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการค้นหาสาเหตุของการที่สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยที่ 4 ไม่ชำระหนี้ด้วยการขนส่งสินค้าที่ได้รับไว้ในความดูแลให้ปลอดจากความเสียหาย เพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อให้ทราบปริมาณความเสียหายและจำนวนค่าเสียหายของสินค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจาก 2 สาเหตุ เมื่อจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดจากเหตุสินค้าเปียกน้ำเท่านั้น จึงเห็นควรลดค่าเสียหายส่วนนี้ลงตามส่วน
ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับขนสินค้านั้นทางทะเลจากท่าเรือ ซึ่งแม้จะปรากฏว่าเป็นการรับขนตามสัญญาเช่าเรือ (Charterparty) แต่ก็มีการออกใบตราส่ง ดังนั้น การรับขนสินค้าทางทะเลในกรณีนี้ในส่วนของหน้าที่และสิทธิของผู้ขนส่งและผู้รับตราส่งซึ่งมิใช่ผู้จ้างเหมาจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 5 ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในประเทศ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การรับขนของทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 4 วรรคสอง โดยหน้าที่และสิทธิของจำเลยที่ 4 ให้บังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขนของดังกล่าวแล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับสินค้าที่ขนส่งไว้ในความดูแลเพื่อขนส่งและออกใบตราส่ง ซึ่งมีข้อความว่าสินค้าที่ขนส่งมีน้ำหนัก 1,964,583 เมตริกตัน และมีข้อความระบุว่า "Shipped, in apparent good order and condition" และข้อความว่า "Clean on board" แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับสินค้าที่ขนส่งไว้เพื่อการขนส่งสินค้ามีจำนวนตรงตามที่ระบุในใบตราส่ง และสินค้าอยู่ในสภาพดี และผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าที่ขนส่งกับได้ส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่เรือ ที่ผู้รับตราส่งจัดหามา จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งทางทะเลได้ส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับตราส่งแล้ว เมื่อเรือมาถึงเกาะสีชังผู้สำรวจและประเมินความเสียหายของสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างยังได้ออกรายงาน ยืนยันน้ำหนักสินค้าที่ขนส่งว่าเท่ากับที่รับไว้เพื่อการขนส่งจากต้นทาง จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้มอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง หรือถ้าไม่ได้ออกใบตราส่งให้ไว้แก่กัน ให้สันนิษฐานว่าได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพดี แล้วแต่กรณี และโจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าที่ส่งมอบไม่ครบตามจำนวนที่ระบุในใบตราส่ง ถือไม่ได้ว่าการที่สินค้าขาดจำนวนไป มาจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าที่ขนส่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อการที่สินค้าที่ขนส่งขาดจำนวนหรือสูญหายไปดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยที่ 4 ขาดจำนวนไปจากที่ได้รับไว้เพื่อการขนส่ง และโจทก์เองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบสินค้าที่ขนส่งไว้เพื่อขนส่งเป็นจำนวนเท่าใด ประกอบกับตามใบกำกับสินค้าก็ได้กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับความชื้นของสินค้าดังกล่าวไว้ด้วย ทั้งการขนส่งก็เป็นแบบเทกอง จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าข้าวสาลีที่ขนส่งขาดจำนวนไปดังกล่าวเช่นกัน ส่วนปัญหาเรื่องฝนตกอย่างฉับพลันคนเรือดึงผ้าใบปิดระวางเรือไม่ทัน เป็นเหตุให้สินค้าที่เหลืออยู่ในระวางเรือเปียกฝน เช่นนี้ถือว่าสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 ทั้งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะสามารถรู้ล่วงหน้าและป้องกันได้ในฐานะผู้ประกอบอาชีพรับขนส่งสินค้า จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในการที่สินค้าข้าวสาลีที่ขนส่งได้รับความเสียหายจำนวนนี้ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการค้นหาสาเหตุของการที่สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยที่ 4 ไม่ชำระหนี้ด้วยการขนส่งสินค้าที่ได้รับไว้ในความดูแลให้ปลอดจากความเสียหาย เพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อให้ทราบปริมาณความเสียหายและจำนวนค่าเสียหายของสินค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจาก 2 สาเหตุ เมื่อจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดจากเหตุสินค้าเปียกน้ำเท่านั้น จึงเห็นควรลดค่าเสียหายส่วนนี้ลงตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9630/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าทางทะเล: เงื่อนไข Free Out, หน้าที่ของผู้ขนส่ง, ภาระการพิสูจน์ความเสียหาย
ตามปกติแล้วผู้ขนส่งมีหน้าที่ส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางจนถึงท่าเรือปลายทางและมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือปลายทาง แต่ทั้งนี้อาจมีข้อตกลงกันเป็นพิเศษให้ผู้รับตราส่งเป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเองได้ที่เรียกว่าเป็นเงื่อนไขแบบ Free Out เมื่อพิจารณาใบตราส่งไม่ปรากฏว่าได้ระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้และที่พยานจำเลยที่ 2 อ้างว่า สินค้าพิพาททำการขนถ่ายภายใต้ข้อกำหนด Free Out ตามไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1 ส่งถึงตัวแทนจำเลยที่ 1 และยังเป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งได้รับทราบและแสดงความตกลงด้วย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งที่มีเงื่อนไขแบบ Free Out
แม้ข้อเท็จจริงไม่อาจฟังได้ว่าผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าพิพาทขึ้นจากเรือ ดังที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้าง หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้ขนส่ง แต่เมื่อโจทก์อ้างว่าสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
แม้ข้อเท็จจริงไม่อาจฟังได้ว่าผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าพิพาทขึ้นจากเรือ ดังที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้าง หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้ขนส่ง แต่เมื่อโจทก์อ้างว่าสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 มาตรา 44 และมาตรา 45 นั้น ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหายโดยเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ของนั้นอยู่ในความดูแลของตน จึงไม่ใช่ต้องรับผิดเพียงเฉพาะมูลค่าสินค้าที่เสียหาย แต่ยังต้องรับผิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับตราส่งได้รับจากผลแห่งความเสียหายของสินค้าด้วย ค่าภาษีศุลกากรและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จำเป็นต้องจ่ายในการนำเข้าสินค้า เมื่อสินค้าเสียหายทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ โจทก์ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคิดเป็นต้นทุนในการขายสินค้าเพื่อให้ได้ทุนคืน และโจทก์เสียโอกาสในการขายให้ได้กำไร ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดกำไรย่อมเป็นความเสียหายที่เป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15502/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางทะเล
ผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากสินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบชักช้านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งเสมอไป ผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบจึงย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ส่งมอบใบตราส่งซึ่งระบุชื่อผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่งให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แต่ก็ปรากฏตามใบตราส่งว่ามีการลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฮ. ผู้มีชื่อเป็นผู้รับตราส่งที่ด้านหลังใบตราส่งและไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่จำเลย แต่ได้ส่งมอบใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ ถือว่าผู้ซื้อได้มีการสลักหลังลอยลงในใบตราส่งโอนสิทธิตามใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้ขนส่งได้ไม่ว่าโจทก์จะเป็นคู่สัญญาในสัญญารับขนของทางทะเลหรือไม่ก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 เป็นเรื่องที่ผู้ส่งของสั่งผู้ขนส่งให้งดการส่งของ ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการของนั้นเป็นประการอื่นใดก่อนจะขนส่งออกไปถึงท่าปลายทางหรือก่อนจะส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งผู้ส่งของต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแก่ผู้ขนส่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการขนส่งตามสัญญาที่ระบุในใบตราส่งอันถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล การใช้สิทธิของผู้ส่งของตามมาตรา 36 นี้ ผู้ส่งของต้องยังเป็นผู้ยึดถือครอบครองใบตราส่งอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่อาจจะมีใบตราส่งเวนคืนแก่ผู้ขนส่งได้ มาตรา 36 ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งจะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่ของหรือสินค้าที่ขนส่งสูญหายซึ่งปรากฏเมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วอย่างในคดีนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 36 ที่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง
โจทก์ผู้ส่งของได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางปรากฏว่าสินค้าสูญหายไปทั้งหมด ถือว่าเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลย และไม่ปรากฏเหตุตามมาตรา 51 ถึงมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงใบตราส่ง ตามมาตรา 39 และ 43 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การรับขนส่งสินค้าของจำเลยเป็นแบบ "CFS/CFS" ที่จำเลยมีหน้าที่นำสินค้าเข้าบรรจุในตู้สินค้า และสินค้าตามคำฟ้องมีจำนวนน้อย มีโอกาสที่จะมีการบรรจุสินค้าของบุคคลอื่นอีกจำนวนมากที่นำเข้ารวมไว้ในตู้สินค้านี้ ความผิดพลาดในการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าจึงอาจเกิดขึ้นได้ การไม่ได้นำสินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือตัวแทนซึ่งจำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิด แต่เมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงว่าจำเลยหรือตัวแทนมีพฤติการณ์อื่นใดที่ถึงขนาดเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะรับฟังได้ว่า เป็นการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสินค้าที่ขนส่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยหรือตัวแทนทั้งที่รู้ว่าการสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ความรับผิดของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 58 จำเลยจึงรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดคือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยควรส่งมอบสินค้า
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 เป็นเรื่องที่ผู้ส่งของสั่งผู้ขนส่งให้งดการส่งของ ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการของนั้นเป็นประการอื่นใดก่อนจะขนส่งออกไปถึงท่าปลายทางหรือก่อนจะส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งผู้ส่งของต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแก่ผู้ขนส่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการขนส่งตามสัญญาที่ระบุในใบตราส่งอันถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล การใช้สิทธิของผู้ส่งของตามมาตรา 36 นี้ ผู้ส่งของต้องยังเป็นผู้ยึดถือครอบครองใบตราส่งอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่อาจจะมีใบตราส่งเวนคืนแก่ผู้ขนส่งได้ มาตรา 36 ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งจะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่ของหรือสินค้าที่ขนส่งสูญหายซึ่งปรากฏเมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วอย่างในคดีนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 36 ที่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง
โจทก์ผู้ส่งของได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางปรากฏว่าสินค้าสูญหายไปทั้งหมด ถือว่าเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลย และไม่ปรากฏเหตุตามมาตรา 51 ถึงมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงใบตราส่ง ตามมาตรา 39 และ 43 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การรับขนส่งสินค้าของจำเลยเป็นแบบ "CFS/CFS" ที่จำเลยมีหน้าที่นำสินค้าเข้าบรรจุในตู้สินค้า และสินค้าตามคำฟ้องมีจำนวนน้อย มีโอกาสที่จะมีการบรรจุสินค้าของบุคคลอื่นอีกจำนวนมากที่นำเข้ารวมไว้ในตู้สินค้านี้ ความผิดพลาดในการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าจึงอาจเกิดขึ้นได้ การไม่ได้นำสินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือตัวแทนซึ่งจำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิด แต่เมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงว่าจำเลยหรือตัวแทนมีพฤติการณ์อื่นใดที่ถึงขนาดเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะรับฟังได้ว่า เป็นการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสินค้าที่ขนส่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยหรือตัวแทนทั้งที่รู้ว่าการสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ความรับผิดของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 58 จำเลยจึงรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดคือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยควรส่งมอบสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12708/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการขายซากสินค้า
จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นมีหน้าที่ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เกิดเหตุมาส่งมอบให้ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือฮ่องกง และเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ถูกยกขึ้นจากเรือไปวางบนลานพักสินค้าของการท่าเรือฮ่องกง ถือว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้ส่งมอบไว้ที่การท่าเรือฮ่องกงถือว่าไม่ได้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 แล้ว การพบเหตุเพลิงไหม้ภายในตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าพิพาทหลังจากมีการลากตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวไปยังโรงพักสินค้า ไม่อาจถือได้ว่าความเสียหายของสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์เกิดในระหว่างที่ตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกฎหมาย
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 1 เพื่อการขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนส่ง แต่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ขนส่งอีกต่อหนึ่ง ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ต่างรับจ้างขนส่งสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เงินส่วนต่างค่าขนส่งเป็นของตนเอง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งเพื่อบำเหน็จทางการค้าปกติของตนอันถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และเมื่อจำเลยที่ 1 ว่าจ้างผู้ขนส่งคนอื่นคือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่ผู้ขนส่งมอบหมายสินค้าให้ผู้ขนส่งอื่นขนส่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และมาตรา 618 ส่วนจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
ส่วนที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไปร้อยละ 110 ของราคาสินค้านั้น เป็นความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้รับประโยชน์เท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งไม่ต้องผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การสูญหายของสินค้าทำให้ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งต้องเสียหายมากกว่าราคาสินค้าที่รวมค่าประกันภัยและค่าระวางการขนส่งแล้วแต่อย่างใด
จำเลยที่ 5 ออกใบตราส่งและประทับชื่อจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่ง ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 7 ออกใบรับขนของ (WAYBILL) ระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ส่งของโดยให้ตัวแทนของจำเลยที่ 5 รับสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง อันเป็นการทำหน้าที่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลทุกประการ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้ขนส่งโดยมีจำเลยที่ 7 เป็นผู้ขนส่งอื่น ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 7 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39, 43, 44 และ 45 สำหรับจำเลยที่ 6 แม้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 7 แต่จำเลยที่ 6 ไม่ได้ทำสัญญาขนส่งแทนจำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ถึง (4) คดีนี้เป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ซึ่งผู้ขนส่งไม่อาจจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ได้ เมื่อการสูญหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย หรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 เป็นผู้ลักเอาสินค้าที่สูญหายไป หรือจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดที่มีเจตนาจะให้เกิดการสูญหาย หรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 ละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่ามีกรณีตามมาตรา 60 (1) ที่ทำให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดความรับผิด จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมรับผิดเพียงจำนวนจำกัดตามมาตรา 58
ส่วนที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไปร้อยละ 110 ของราคาสินค้านั้น เป็นความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้รับประโยชน์เท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งไม่ต้องผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การสูญหายของสินค้าทำให้ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งต้องเสียหายมากกว่าราคาสินค้าที่รวมค่าประกันภัยและค่าระวางการขนส่งแล้วแต่อย่างใด
จำเลยที่ 5 ออกใบตราส่งและประทับชื่อจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่ง ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 7 ออกใบรับขนของ (WAYBILL) ระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ส่งของโดยให้ตัวแทนของจำเลยที่ 5 รับสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง อันเป็นการทำหน้าที่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลทุกประการ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้ขนส่งโดยมีจำเลยที่ 7 เป็นผู้ขนส่งอื่น ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 7 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39, 43, 44 และ 45 สำหรับจำเลยที่ 6 แม้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 7 แต่จำเลยที่ 6 ไม่ได้ทำสัญญาขนส่งแทนจำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ถึง (4) คดีนี้เป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ซึ่งผู้ขนส่งไม่อาจจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ได้ เมื่อการสูญหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย หรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 เป็นผู้ลักเอาสินค้าที่สูญหายไป หรือจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดที่มีเจตนาจะให้เกิดการสูญหาย หรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 ละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่ามีกรณีตามมาตรา 60 (1) ที่ทำให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดความรับผิด จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมรับผิดเพียงจำนวนจำกัดตามมาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8761/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งกรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนส่งทางทะเล
จำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าขนส่งจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้รับตราส่ง เพื่อแลกใบปล่อยสินค้าที่จำเลยที่ 5 ออกให้แก่จำเลยที่ 3 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าขนส่งเป็นของตนเองในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยในการไปติดต่อผู้ขนส่งเท่านั้นไม่ใช่ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 5 เป็นผู้ออกใบตราส่งแบบ FCL/FCL หรือ CY/CY ให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นใบตราส่งแบบ CFS/CFS จะเห็นได้ว่า ใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ที่รับขนส่งสินค้าระบบตู้สินค้าแบบ CFS/CFS อันหมายถึงสินค้าบรรจุไม่เต็มตู้โดยมีการบรรจุสินค้าหลายเจ้าของรวมทั้งสินค้า 3 พัลเล็ต นี้ด้วย และปิดผนึกตู้สินค้าที่ท่าต้นทางแล้วมอบให้จำเลยที่ 5 ขนส่ง จำเลยที่ 5 จึงออกใบตราส่งแบบ FCL/FCL หรือ CY/CY ให้ โดยรับตู้สินค้าที่บรรจุเต็มตู้มา โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ส่ง และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับตราส่ง มีผลให้จำเลยที่ 4 ต้องมารับตู้สินค้านี้ไปเองเพื่อนำไปเปิด แล้วนำสินค้าไปส่งแก่ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งเมื่อเรือถึงปลายทางจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับตราส่งมารับของในนามของจำเลยที่ 3 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 เป็นเพียงตัวแทนมารับของที่ปลายทางเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งจึงไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าทางทะเลเฉพาะช่วงจากท่าเรือในสาธารณรัฐสิงคโปร์มายังประเทศไทย จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งในส่วนที่ตนได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 เมื่อตัวแทนของจำเลยที่ 3 เป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าและปิดผนึกด้วยตราผนึก เมื่อถึงปลายทางตู้สินค้าและตราผนึกที่ตู้สินค้ายังคงเดิมและอยู่ในสภาพดี แสดงว่าระหว่างการขนส่งสินค้าโดยจำเลยที่ 5 นั้น ตู้สินค้าไม่ได้ถูกเปิดและขนถ่ายสินค้าออกจากตู้จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าสินค้าไม่ได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 5 ตามที่ได้รับมอบหมายให้ขนส่ง จำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่งอื่นไม่ต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์รับประกันภัยสินค้าเป็นมูลค่า 51,338.76 ยูโร คิดเป็นเงินบาทตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 2,620,843.70 บาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 51.05 บาท และเมื่อสินค้าเสียหายเป็นเงิน 14,848 ยูโร ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยคิดคำนวณเป็นเงินบาทเป็นสัดส่วนกับมูลค่าประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย เป็นเงิน 871,688.96 บาท เท่ากับที่โจทก์คิดคำนวณได้และจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เชื่อได้ว่าเป็นการคิดคำนวณถูกต้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนดังกล่าว
จำเลยที่ 5 เป็นผู้ออกใบตราส่งแบบ FCL/FCL หรือ CY/CY ให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นใบตราส่งแบบ CFS/CFS จะเห็นได้ว่า ใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ที่รับขนส่งสินค้าระบบตู้สินค้าแบบ CFS/CFS อันหมายถึงสินค้าบรรจุไม่เต็มตู้โดยมีการบรรจุสินค้าหลายเจ้าของรวมทั้งสินค้า 3 พัลเล็ต นี้ด้วย และปิดผนึกตู้สินค้าที่ท่าต้นทางแล้วมอบให้จำเลยที่ 5 ขนส่ง จำเลยที่ 5 จึงออกใบตราส่งแบบ FCL/FCL หรือ CY/CY ให้ โดยรับตู้สินค้าที่บรรจุเต็มตู้มา โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ส่ง และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับตราส่ง มีผลให้จำเลยที่ 4 ต้องมารับตู้สินค้านี้ไปเองเพื่อนำไปเปิด แล้วนำสินค้าไปส่งแก่ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งเมื่อเรือถึงปลายทางจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับตราส่งมารับของในนามของจำเลยที่ 3 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 เป็นเพียงตัวแทนมารับของที่ปลายทางเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งจึงไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าทางทะเลเฉพาะช่วงจากท่าเรือในสาธารณรัฐสิงคโปร์มายังประเทศไทย จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งในส่วนที่ตนได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 เมื่อตัวแทนของจำเลยที่ 3 เป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าและปิดผนึกด้วยตราผนึก เมื่อถึงปลายทางตู้สินค้าและตราผนึกที่ตู้สินค้ายังคงเดิมและอยู่ในสภาพดี แสดงว่าระหว่างการขนส่งสินค้าโดยจำเลยที่ 5 นั้น ตู้สินค้าไม่ได้ถูกเปิดและขนถ่ายสินค้าออกจากตู้จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าสินค้าไม่ได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 5 ตามที่ได้รับมอบหมายให้ขนส่ง จำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่งอื่นไม่ต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์รับประกันภัยสินค้าเป็นมูลค่า 51,338.76 ยูโร คิดเป็นเงินบาทตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 2,620,843.70 บาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 51.05 บาท และเมื่อสินค้าเสียหายเป็นเงิน 14,848 ยูโร ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยคิดคำนวณเป็นเงินบาทเป็นสัดส่วนกับมูลค่าประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย เป็นเงิน 871,688.96 บาท เท่ากับที่โจทก์คิดคำนวณได้และจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เชื่อได้ว่าเป็นการคิดคำนวณถูกต้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นหลังส่งมอบสินค้า
บริษัท ค. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับจ้างจัดบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ประจำอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพ ย่อมต้องมีความซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สินค้าแผ่นยางพาราที่มิได้บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้ ตู้ละ 30 มัด นับว่าเป็นจำนวนไม่น้อย เพราะทำให้น้ำหนักของสินค้าขาดหายไปถึง 3,330.30 กิโลกรัมในแต่ละตู้และจำนวนสินค้าแผ่นยางพาราจำนวน 180 มัด ที่วางเรียงกันเป็น 11 แถวในแต่ละตู้ จะมีสินค้าในตู้ที่ขาดหายไปถึงเกือบ 2 แถว ซึ่งผู้ทำหน้าที่จัดบรรจุ ตรวจนับ และตรวจการบรรจุสินค้าย่อมสามารถเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาใบตรวจรับสภาพตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าแผ่นยางพาราแล้วปรากฏว่า ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสองที่โจทก์อ้างว่ามีสินค้าแผ่นยางพาราสูญหายไปยังคงมีน้ำหนักสินค้ารวมตู้ตู้ละ 22 ตัน หากมีการบรรจุสินค้าขาดไปตู้ละ 30 มัด น้ำหนักรวมของตู้ควรเหลือประมาณตู้ละ 19 ตันเท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้ามิได้สูญหายไปในช่วงการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือต้นทางและตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่ถูกลากมายังโรงงานของผู้รับสินค้า ซีลปิดตู้ทุกตู้ยังอยู่ในสภาพดี แสดงให้เห็นว่า ตู้ไม่ได้ถูกเปิดออกนับตั้งแต่มีการบรรจุสินค้าเข้าที่ท่าเรือกรุงเทพ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าสินค้าสูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้า