คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 337

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมเพื่อเรียกค่าไถ่: ความผิดฐานจับบุคคลอายุเกิน 13 ปี ไม่ใช่กรรโชก
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน. พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไป พฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน (อายุเกิน 13 ปี) ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจับคนเรียกค่าไถ่: พฤติการณ์สำคัญกว่ากรรโชกธรรมดา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน 100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไปพฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน(อายุเกิน 13 ปี)ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778-1779/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จับกุมเรียกค่าไถ่: ความผิดฐานจับบุคคลอายุเกิน 13 ปีเรียกค่าไถ่ ไม่ใช่กรรโชกธรรมดา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนร้าย 7 คนไปที่บ้านผู้เสียหาย 2 คน อยู่ข้างล่าง 5 คน ซึ่งมีจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยขึ้นไปบนเรือน. พวกจำเลยคนหนึ่งเรียกเอาเงิน 2,000 บาท ครั้นผู้เสียหายว่าไม่มี. พวกจำเลยคนนั้นจึงใช้ปืนจี้พาผู้เสียหายลงเรือนไป โดยบอกภรรยาผู้เสียหายว่าถ้าต้องการสามีคืนให้หาเงินจำนวนดังกล่าวไปให้. เมื่อคนร้ายไปแล้ว มีผู้ช่วยพาภรรยาผู้เสียหายติดตามไปนำเงิน100 บาท ไปด้วยเพื่อไถ่ตัวผู้เสียหาย. เมื่อไปพบจำเลยกับพวกนั่งอยู่กลางทุ่งนา. ภรรยาผู้เสียหายเอาเงินจำนวนนั้นมอบให้แก่พวกจำเลยคนที่เป็นผู้เรียกเงิน. แต่พวกจำเลยไม่ยอมปล่อยตัวผู้เสียหายจนกว่าจะได้เงินครบตามที่เรียกร้อง. ภรรยาผู้เสียหายจึงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินคดีต่อไป. พฤติการณ์ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดฐานจับคน(อายุเกิน 13 ปี)ไปเรียกค่าไถ่ หาใช่กรรโชกธรรมดาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อละเว้นการจับกุม ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก แต่ผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ยกคำขอของโจทก์ในข้อที่ขอให้ใช้ทรัพย์มิใช่เป็นการแก้ไขมาก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ได้เรียกเงินจากผู้ที่จำเลยจับกุมตัวมาแล้วปล่อยผู้ต้องหาไป อันเป็นการเรียกหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหาย อันเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 5 หามีความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 อีกบทหนึ่งด้วยไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยมิได้เป็นผิดตามมาตรา 337 แล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยใช้ทรัพย์หรือคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาเพื่อแลกกับการปล่อยตัว ความผิดตาม ม.149 และความแตกต่างจากความผิดฐานกรรโชก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ยกคำขอของโจทก์ในข้อที่ขอให้ใช้ทรัพย์มิใช่เป็นการแก้ไขมาก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ได้เรียกเงินจากผู้ที่จำเลยจับกุมตัวมาแล้วปล่อยผู้ต้องหาไป อันเป็นการเรียกหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหาย อันเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 5 หามีความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 อีกบทหนึ่งด้วยไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยมิได้เป็นผิดตามมาตรา 337 แล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยใช้ทรัพย์หรือคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อละเว้นการจับกุม มีความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ใช่กรรโชก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ยกคำขอของโจทก์ในข้อที่ขอให้ใช้ทรัพย์มิใช่เป็นการแก้ไขมาก.จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ได้เรียกเงินจากผู้ที่จำเลยจับกุมตัวมาแล้วปล่อยผู้ต้องหาไป. อันเป็นการเรียกหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ. เพื่อละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหาย. อันเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย. จำเลยจึงมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149. และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 5. หามีความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 อีกบทหนึ่งด้วยไม่. และเมื่อการกระทำของจำเลยมิได้เป็นผิดตามมาตรา 337 แล้ว. โจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยใช้ทรัพย์หรือคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบของผู้ร่วมกระทำผิดที่ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจทุ่งวัง อำเภอเมืองสงขลา จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมเรือนจำประจำเรือนจำเขตสงขลา ได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้ อันเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 337 และ 83 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น เพราะแม้จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจ แต่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดโดยทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงาน: การกระทำผิดร่วมกันระหว่างตำรวจและผู้คุมเรือนจำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจทุ่งวังอำเภอเมืองสงขลา จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมเรือนจำประจำเรือนจำเขตสงขลาได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้อันเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148,157, 337 และ 83 นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น เพราะแม้จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจแต่โจทก์ก็มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดโดยทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินตกลงคดีหลังถูกทำร้าย: ไม่เป็นความผิดขู่กรรโชก หากไม่มีเจตนาทุจริต
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถูกผู้เสียหายยิง แล้วได้ไปแจ้งความต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนัน การที่จำเลยที่ 2 เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้พูดกับผู้เสียหายเป็นทำนองไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันนั้น ดังนี้จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 148, 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพื่อตกลงเลิกคดีหลังถูกทำร้าย ไม่ถือเป็นความผิดขู่กรรโชก หากไม่มีเจตนาทุจริต
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถูกผู้เสียหายยิง แล้วได้ไปแจ้งความต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนัน การที่จำเลยที่ 2 เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้พูดกับผู้เสียหายเป็นทำนองไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันนั้น ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 148, 337
of 17