พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6742/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนข้อหา ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาเดียวเท่านั้น การที่จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ทุกประการจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใดโจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความเช่นนั้น และแม้ว่าในคำร้องขอบรรเทาโทษของจำเลยจะมีเนื้อหาว่าจำเลยรับซื้อไมโครโฟนของกลางไว้เพื่อให้หลานใช้ร้องเพลงเล่นก็ตามแต่คำร้องขอบรรเทาโทษมิใช่คำให้การ แต่เป็นเพียงการขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและบรรยายเหตุผลต่าง ๆ ให้ศาลปรานีถึงแม้จะมีถ้อยคำที่อาจแสดงว่าจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานใดฐานหนึ่งหรือมิได้รับสารภาพในความผิดฐานใดเลยก็มิอาจถือได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลย เมื่อคำให้การของจำเลยไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำให้การรับสารภาพในคดีอาญาต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีสิทธิไม่รับฟัง
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติรับรองสิทธิพื้นฐานของบุคคลผู้ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการกล่าวคือให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งให้สิทธิแก่จำเลยที่จะให้การต่อศาลหรือไม่ให้การก็ได้ แต่ในกรณีที่จำเลยให้การต่อศาลแล้วหากประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การนั้น จำเลยจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 163 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุผลอันสมควรหรือไม่
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร – ความผิดหลายกรรมต่างกัน – การพิพากษาลงโทษ – การสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปีไปเสียจากความปกครองดูแลของบิดา เพื่อการอนาจารต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่า ขอให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าววรรคใด และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 และไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีพรากผู้เยาว์-อนาจาร การลงโทษตามกรรมต่างกัน และการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ
ตามฟ้องโจทก์ข้อ 1 ก. และข้อ 1 ง. แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. อายุ 13 ปี 8 เดือน ซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากความปกครองดูแลของ อ. ผู้เป็นบิดา เพื่อการอนาจาร ต้องตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุด้วยว่า โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 ดังกล่าววรรคใดจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 176 และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้ โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ก. และข้อ 1 ง. ว่า จำเลยได้พรากเด็กหญิง ณ. ผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากนาย อ. ผู้ปกครองเพื่อการอนาจารต่างวันเวลากัน หลังจากจำเลยกระทำผิดดังกล่าวแต่ละข้อแล้ว จำเลยได้บังอาจกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. โดยใช้กำลังกายกอดปล้ำ หอมแก้ม และใช้มือบีบ จับนม ของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ยินยอม อันเป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ทั้งความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจารการที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายหลังจากนั้นจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายหลังจากนั้นอีก 2 ครั้ง ตามคำฟ้องโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ซึ่งโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องมาแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา ต้องมีน้ำหนักพอสมควร แม้จำเลยรับสารภาพ ก็ต้องพิสูจน์ความผิดอื่นประกอบ
แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพตามฟ้องว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ต้องสืบพยานให้ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแม้โจทก์จะมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมมาเบิกความ แต่คำเบิกความดังกล่าวคงรับฟังได้เพียงว่าได้เป็นผู้จับกุมจำเลย ส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลอื่นเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ จึงมีเพียงคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเท่านั้นที่นำมาใช้ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเป็นที่พอใจว่าจำเลยทั้งสองมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย คงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังรายงานสืบเสาะและพินิจเพื่อวินิจฉัยความผิดทางอาญา ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เนื่องจากศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง แต่ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในชั้นพิจารณาให้ปรากฏต่อศาล
แม้ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยไม่ จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ซึ่งในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ศาลก็ยังมีหน้าที่จะต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ว่าจะลงโทษได้หรือไม่ ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็แต่เมื่อเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายเท่านั้น และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคแรก ก็ได้บัญญัติว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แสดงว่าแม้ในคดีที่มีข้อหาความผิดที่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไปได้โดยมิต้องสืบพยานก็ตาม แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่แล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ มิใช่ต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยเสียทีเดียว นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณา ป.วิ.อ. มาตรา 228 ยังให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติมได้ด้วย เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำการตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ และเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นดังกล่าวแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปก็ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 225
แม้ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยไม่ จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ซึ่งในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ศาลก็ยังมีหน้าที่จะต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ว่าจะลงโทษได้หรือไม่ ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็แต่เมื่อเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายเท่านั้น และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคแรก ก็ได้บัญญัติว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แสดงว่าแม้ในคดีที่มีข้อหาความผิดที่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไปได้โดยมิต้องสืบพยานก็ตาม แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่แล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ มิใช่ต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยเสียทีเดียว นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณา ป.วิ.อ. มาตรา 228 ยังให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติมได้ด้วย เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำการตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ และเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นดังกล่าวแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปก็ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังรายงานคุมประพฤติในคดีอาญา: ข้อจำกัดและขอบเขตการใช้พยานหลักฐาน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย เนื่องจากต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย เมื่อปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยมิได้พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก แม้จะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏต่อศาล ถึงแม้ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้
การที่ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย แต่เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 และแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงแล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตามมาตรา 176 และมาตรา 228 ดังนั้น เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้งศาลฎีกาจึงให้สืบพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของมารดาเพื่อจะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้เสร็จแล้วให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปตามมาตรา 208(1) ประกอบมาตรา 225
การที่ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย แต่เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 และแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงแล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตามมาตรา 176 และมาตรา 228 ดังนั้น เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้งศาลฎีกาจึงให้สืบพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเสียจากอำนาจปกครองของมารดาเพื่อจะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้เสร็จแล้วให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปตามมาตรา 208(1) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันฟุตบอลและสลากกินรวบ: ความผิดหลายกรรม, การรับสารภาพ, และการปรับบทลงโทษ
สำหรับข้อหาเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโลก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการเล่นทายผลฟุตบอลโลก อันเป็นการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันซึ่งได้ระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 3 ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน นำมาซึ่งผลประโยชน์ของตน และร่วมเล่นกับพวกที่หลบหนีอยู่ ส่วนข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบ อันนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน และร่วมกันเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน อันเป็นการเล่นซึ่งระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โดยถือเอาเลขท้าย 3 ตัว ของเลขรางวัลที่ 1 และเลขท้าย 2 ตัว ของสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 และ 16 ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2541 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี อีกทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้ว ส่วนยอดเงินตามโพยมิใช่องค์ประกอบความผิดแต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องทั้งสองข้อหาจึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า พฤติการณ์ในการค้นและออกหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจนำพยานหลักฐานที่ได้มาใช้รับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งมิใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้ไขโทษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า พฤติการณ์ในการค้นและออกหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจนำพยานหลักฐานที่ได้มาใช้รับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งมิใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้ไขโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยให้การรับสารภาพ และปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามช่วงเวลาที่กระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้มีชื่อจำนวน 55 คน ได้กระทำผิดด้วยการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์บรรยาย มาในคำฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่การกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับจึงต้องปรับบทให้ถูกต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงในคดีจึงต้องรับฟังเป็นยุติถึงการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่อาจที่จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่ามิได้มีเจตนากระทำผิด เป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติไปแล้ว อันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง