พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากของผู้ขายฝากแม้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ - การคุ้มครองสิทธิผู้รับประโยชน์สุจริต
แม้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (1) จะกำหนดว่า ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงในขณะยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินหรือขอคุ้มครองสิทธิของตน และขณะยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านที่ 6 ได้ขายฝากทรัพย์สินรายการที่ 38 ถึงที่ 43 และผู้คัดค้านที่ 7 ได้ขายฝากทรัพย์สินรายการที่ 35 และที่ 36 ไปแล้ว ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 เป็นผู้ขายฝากทรัพย์ไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งการขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 และกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 ได้ขายฝากทรัพย์สินดังกล่าวไปแล้ว แต่เมื่อผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ตามสัญญาขายฝาก ผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาขายฝากและทรงสิทธิในฐานะเป็นผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2522 มาตรา 50 วรรคสอง (เดิม) คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 จึงมิใช่เป็นการยื่นคำคัดค้านโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (1) แต่เป็นการร้องคัดค้านตามมาตรา 50 วรรคสอง (เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 ทำสัญญาขายฝากทรัพย์ที่ขอไถ่โดยสุจริต ทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดกับผู้คัดค้านที่ 1 กับพวก ก่อนครบกำหนดไถ่ได้แสดงเจตนาขอไถ่ทรัพย์ตามสัญญา ผู้คัดค้านที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นผู้รับประโยชน์โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีเพื่อใช้สิทธิไถ่ทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดการคัดลอก/ดัดแปลงให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) นั้น โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด รวมทั้งต้องเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้จำเลยเข้าใจว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยว่า "..จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานนวนิยายของโจทก์ดังกล่าวด้วยการคัดลอกและดัดแปลงบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉาก ในนวนิยายของโจทก์แต่ละเล่มแล้วนำไปเรียบเรียงไว้ในบทนวนิยายของจำเลย..." อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนที่อยู่ในนวนิยาย 2 เล่ม ของโจทก์ หาใช่เป็นการคัดลอกดัดแปลงนวนิยายทั้งฉบับทั้ง 2 เล่ม ที่การบรรยายฟ้องนี้อาจจะทำให้จำเลยพอเข้าใจได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร แต่เมื่อเป็นการคัดลอกดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมจะต้องบรรยายฟ้องข้อเท็จจริงให้พอเข้าใจได้ว่าบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉากนั้น เป็นส่วนไหนในนวนิยายเล่มใดใน 2 เล่ม ของโจทก์ และจำเลยคัดลอกและดัดแปลงงานดังกล่าวอย่างไร รวมทั้งนำไปใช้อยู่ในส่วนไหนของนวนิยายของจำเลย อันจะทำให้จำเลยสามารถเทียบเคียงได้ว่า ข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้นเป็นการคัดลอกดัดแปลงจริงหรือไม่ กรณีเช่นนี้หาใช่รายละเอียดที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นหรือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาไม่ อีกทั้งเป็นการพิจารณาถึงการแสดงออก (Expression) ไม่ใช่แนวคิด (Idea) ต่างจากที่โจทก์ฎีกาว่า การวินิจฉัยต้องพิจารณาเนื้อหาของงานทั้งหมดโดยรวมประกอบกัน มิใช่แยกพิจารณาออกมาเป็นส่วน ๆ เฉพาะที่มีการคัดลอกเท่านั้น อนึ่ง การบรรยายฟ้องที่เพียงใช้ข้อความตามกฎหมาย เช่น การทำซ้ำหรือดัดแปลง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามสมควรว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงอย่างไร ย่อมไม่อาจทำให้จำเลยสามารถเข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ ประกอบกับปัญหานี้เป็นการพิจารณาเฉพาะในส่วนของการบรรยายฟ้องเรื่องการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด จึงไม่เกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องอื่น ๆ ส่วนการพิจารณาว่าฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากฟ้องเท่านั้น ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องมาพิจารณาประกอบได้ ทั้งเป็นขั้นตอนที่ต้องพิจารณาก่อนไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนมูลฟ้องมาพิจารณาประกอบเช่นกัน เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในส่วนของการกระทำความผิดของจำเลยว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงนั้นถูกกระทำโดยจำเลยในส่วนไหน อย่างไร ย่อมต้องถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกินกำหนด - การยื่นฎีกาเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และการไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นฎีกาและยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีคำสั่งว่าการพิจารณาสิทธิฎีกาของจำเลยอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. การที่จําเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาของจําเลยไว้วินิจฉัย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ให้ยกคำร้อง วันที่ 17 มิถุนายน 2565 จําเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จําเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกฉบับหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จําเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจําเลยก็ตาม แต่การที่จําเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จําเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงครั้งหลังนี้ ได้ล่วงพ้นระยะเวลาที่จําเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้เสียแล้ว คำร้องดังกล่าวของจําเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จําเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจําเลยมา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองจำกัดเฉพาะสินค้าที่จดทะเบียน การใช้กับสินค้าต่างจำพวกไม่ถือเป็นการละเมิด
สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยเป็นการให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับจำพวกและรายการสินค้าตามที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิในลักษณะที่เป็นการหวงกันมิให้ผู้อื่นนําเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปใช้โดยมิชอบ ดังนั้น ขอบเขตแห่งสิทธิของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีจำกัดเฉพาะเครื่องหมายการค้ารูปพังงาเรือ และคําว่า HIKARI ที่ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าสว่านมือสำหรับเจาะเหล็ก กบไสไม้สำหรับไสไม้ให้บางลง เครื่องขัดสำหรับขัดเหล็กให้ผิวเรียบ ที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันมิให้จำเลยที่ 11 ใช้เครื่องหมายการค้าคําว่า HIKARI กับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าจักรเย็บผ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า ซึ่งเป็นการใช้กับสินค้าต่างจำพวกกันและรายการสินค้าไม่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับจำพวกและรายการสินค้าที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 11 ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ การที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 11 ไม่มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบเขตแห่งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 11 ได้ ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยที่ 11 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5063/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องดอกเบี้ยผิดนัดและการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนี้เงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 (เดิม) กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น และต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และ 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และ 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน มีผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปัจจุบันปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี
เมื่อในคดีนี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำเสนอข้อพิพาทของผู้คัดค้านโดยไม่ได้ให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยไว้ ซึ่งเมื่อพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยพิพาททั้งสองฉบับ พบว่าไม่มีการระบุอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดไว้ การที่คำชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 กำหนดไว้ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้ย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเฉพาะส่วนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยให้บังคับได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่คำชี้ขาดไปถึงผู้ร้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ)
เมื่อในคดีนี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำเสนอข้อพิพาทของผู้คัดค้านโดยไม่ได้ให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยไว้ ซึ่งเมื่อพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยพิพาททั้งสองฉบับ พบว่าไม่มีการระบุอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดไว้ การที่คำชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 กำหนดไว้ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้ย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเฉพาะส่วนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยให้บังคับได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่คำชี้ขาดไปถึงผู้ร้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4904/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรม และการคืนค่าขึ้นศาล
การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้คัดค้านเต็มตามวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ แต่ยังสงวนสิทธิให้ผู้คัดค้านมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนอีก ย่อมมีผลให้ผู้ร้องต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย อันเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 877 วรรคท้าย ที่ห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนซึ่งเอาประกันไว้ และ ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง ที่ไม่ให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญา ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายอันทำให้ผู้ร้องต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยถือเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีนี้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นหลังจากรับคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และขอให้บังคับตามคำชี้ขาดโดยในตอนท้ายคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้ร้องจ่ายค่าขาเทียมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านอย่างเดียว โดยยังไม่มีคำสั่งคำร้องของผู้คัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ อย่างไรก็ตามเมื่อคำชี้ขาดที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนกับคำชี้ขาดที่ผู้คัดค้านขอให้บังคับตามนั้นเป็นคำชี้ขาดฉบับเดียวกันซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างได้นำสืบพยานหลักฐานของฝ่ายตนจนเสร็จสิ้นแล้วไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว และตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าว คงอุทธรณ์เพียงขอให้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องและบังคับให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดในส่วนค่าสินไหมทดแทนในการจัดทำขาเทียมเท่านั้น ทั้งประเด็นที่สำคัญที่ได้โต้แย้งกันในคดีนี้ก็มีเพียงว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนที่สงวนสิทธิให้ผู้คัดค้านมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีขาเทียมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เท่านั้น กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวย่อมไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบในทางคดี การที่จะแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่จึงไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด นอกจากจะทำให้ คู่ความต้องเสียเวลามากขึ้น กรณีจึงไม่สมควรแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวของศาลชั้นต้น
คดีนี้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นหลังจากรับคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และขอให้บังคับตามคำชี้ขาดโดยในตอนท้ายคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้ร้องจ่ายค่าขาเทียมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านอย่างเดียว โดยยังไม่มีคำสั่งคำร้องของผู้คัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ อย่างไรก็ตามเมื่อคำชี้ขาดที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนกับคำชี้ขาดที่ผู้คัดค้านขอให้บังคับตามนั้นเป็นคำชี้ขาดฉบับเดียวกันซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างได้นำสืบพยานหลักฐานของฝ่ายตนจนเสร็จสิ้นแล้วไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว และตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าว คงอุทธรณ์เพียงขอให้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องและบังคับให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดในส่วนค่าสินไหมทดแทนในการจัดทำขาเทียมเท่านั้น ทั้งประเด็นที่สำคัญที่ได้โต้แย้งกันในคดีนี้ก็มีเพียงว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนที่สงวนสิทธิให้ผู้คัดค้านมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีขาเทียมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เท่านั้น กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวย่อมไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบในทางคดี การที่จะแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่จึงไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด นอกจากจะทำให้ คู่ความต้องเสียเวลามากขึ้น กรณีจึงไม่สมควรแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท การพนัน-ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-เสี่ยงแพร่เชื้อ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลย
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนัน ฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ จำเลยทั้งยี่สิบสามมีเจตนาเล่นการพนันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งยี่สิบสามจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 23 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุอาคารทรุดตัว, การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย, และการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
แม้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามจะมิได้ยกปัญหาว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นอ้างในคำให้การ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 252 โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารคอนโดมิเนียมพิพาทและผู้ดำเนินการก่อสร้างโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อก่อสร้างเสาเข็มทำฐานรากอาคารและก่อสร้างอาคารสูง 37 ชั้น ทำให้อาคารเรียนของโจทก์เสียหายและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ครู นักเรียน และบุคลากรของโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าประสงค์ให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใครและมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างบุคคลภายนอกรวมทั้งจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ทำการก่อสร้างคอนโดมิเนียมพิพาท ก็ไม่มีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามมาตรา 428 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์อ้างว่าก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์มอบหมายให้วิศวกรทำการตรวจสอบความเสียหายของอาคารเรียนของโจทก์พบว่ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทภายหลังจากวันชี้สองสถานได้ ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้เกี่ยวข้องพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180
เมื่อกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามขั้นตอนดำเนินการก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในรายงานต้องดำเนินการภายใต้การตรวจสอบควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายซึ่งมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องชุมชนหรือบุคคลอื่น ๆ การที่จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ฝ่าฝืนไม่กระทำการตามที่ระบุไว้ในรายงานดังกล่าว และเกิดความเสียหายขึ้นแก่อาคารเรียนของโจทก์ พื้นรอบอาคารรวมถึงรั้วกำแพงคอนกรีต โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 422
การก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดเสียงดัง แรงสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองปลิวเข้ามาในห้องเรียน โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนย่อมได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ร่วมรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการขุดเจาะเสาเข็มและการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยทั้งกระบวนการนับตั้งแต่การเริ่มรื้อถอนอาคารหลังเดิมไปจนก่อสร้างแล้วเสร็จรวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการก่อสร้างดังกล่าว อันเป็นกรณีที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างทุกขั้นตอนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายเดียวกันแก่โจทก์ ไม่อาจแบ่งแยกความเสียหายว่าเกิดจากการกระทำละเมิดในขั้นตอนการก่อสร้างตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงได้ ส่วนจำเลยแม้มิใช่ผู้ทำการก่อสร้าง แต่ในฐานะเจ้าของโครงการย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบมิให้การทำงานก่อสร้างก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น แม้จำเลยจะว่าจ้างบุคคลใดทำการก่อสร้าง แต่จำเลยยังต้องควบคุมดูแลบุคคลผู้ทำการก่อสร้างผ่านข้อตกลงในสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ทำการก่อสร้าง ปัญหาระหว่างการก่อสร้างโครงการของจำเลยย่อมถือว่าอยู่ในความรับรู้และรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลตรวจสอบควบคุมมิให้การก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และพฤติการณ์แห่งคดีนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 422 จำเลยจึงต้องร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด หากแต่เป็นเพียงผู้รับประกันภัยที่ต้องรับผิดในนามของผู้เอาประกันภัยต่อโจทก์ จำเลยร่วมที่ 2 จึงยังมิได้เป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันกระทำละเมิด แต่เมื่อมีการขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นคู่ความ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงให้ความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยร่วมที่ 2 นับแต่วันที่จำเลยขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดี ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 142 (5)
อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลล่างทั้งสองแทนโจทก์รวมกัน 320,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.39 โดยประมาณจากทุนทรัพย์ 81,825,000 บาท จึงไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงสำหรับคดีมีทุนทรัพย์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 ในศาลชั้นต้น และร้อยละ 3 ในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์อ้างว่าก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์มอบหมายให้วิศวกรทำการตรวจสอบความเสียหายของอาคารเรียนของโจทก์พบว่ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมโดยเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทภายหลังจากวันชี้สองสถานได้ ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้เกี่ยวข้องพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180
เมื่อกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตามขั้นตอนดำเนินการก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในรายงานต้องดำเนินการภายใต้การตรวจสอบควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายซึ่งมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องชุมชนหรือบุคคลอื่น ๆ การที่จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ฝ่าฝืนไม่กระทำการตามที่ระบุไว้ในรายงานดังกล่าว และเกิดความเสียหายขึ้นแก่อาคารเรียนของโจทก์ พื้นรอบอาคารรวมถึงรั้วกำแพงคอนกรีต โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 422
การก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดเสียงดัง แรงสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองปลิวเข้ามาในห้องเรียน โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนย่อมได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลย จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 ร่วมรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการขุดเจาะเสาเข็มและการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยทั้งกระบวนการนับตั้งแต่การเริ่มรื้อถอนอาคารหลังเดิมไปจนก่อสร้างแล้วเสร็จรวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการก่อสร้างดังกล่าว อันเป็นกรณีที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างทุกขั้นตอนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายเดียวกันแก่โจทก์ ไม่อาจแบ่งแยกความเสียหายว่าเกิดจากการกระทำละเมิดในขั้นตอนการก่อสร้างตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงได้ ส่วนจำเลยแม้มิใช่ผู้ทำการก่อสร้าง แต่ในฐานะเจ้าของโครงการย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบมิให้การทำงานก่อสร้างก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น แม้จำเลยจะว่าจ้างบุคคลใดทำการก่อสร้าง แต่จำเลยยังต้องควบคุมดูแลบุคคลผู้ทำการก่อสร้างผ่านข้อตกลงในสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ทำการก่อสร้าง ปัญหาระหว่างการก่อสร้างโครงการของจำเลยย่อมถือว่าอยู่ในความรับรู้และรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลตรวจสอบควบคุมมิให้การก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และพฤติการณ์แห่งคดีนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 422 จำเลยจึงต้องร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด หากแต่เป็นเพียงผู้รับประกันภัยที่ต้องรับผิดในนามของผู้เอาประกันภัยต่อโจทก์ จำเลยร่วมที่ 2 จึงยังมิได้เป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันกระทำละเมิด แต่เมื่อมีการขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นคู่ความ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงให้ความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยร่วมที่ 2 นับแต่วันที่จำเลยขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดี ปัญหาเรื่องการกำหนดความรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 142 (5)
อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลล่างทั้งสองแทนโจทก์รวมกัน 320,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.39 โดยประมาณจากทุนทรัพย์ 81,825,000 บาท จึงไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงสำหรับคดีมีทุนทรัพย์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 ในศาลชั้นต้น และร้อยละ 3 ในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเช็ค และใช้เช็คปลอม ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ยกเว้นเรื่องดอกเบี้ย
จำเลยลักเอาเช็คของโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างไปกรอกข้อความ และปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ร่วมที่ 1 แล้วนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ทำให้พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมที่ 3 หรือผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าลายมือชื่อปลอมดังกล่าวเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง จ่ายเงินตามเช็คและจำเลยได้เงินตามเช็คไป แม้การกระทำต่าง ๆ จะแยกเป็นขั้นตอนตั้งแต่ลักเอาเช็คมาปลอมข้อความและปลอมลายมือชื่อ ตลอดจนนำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมที่ 1 เป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการร้านคาราโอเกะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
โจทก์มี ส. และ ม. เจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ยืนยันว่าร้าน บ. ซึ่งเป็นร้านคาราโอเกะมีการให้บริการร้องคาราโอเกะเป็นห้องส่วนตัว ในห้องดังกล่าวมีอุปกรณ์สำหรับร้องเพลงคาราโอเกะ ได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมซีพียู แป้นพิมพ์ ลำโพง ไมโครโฟน ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่าย โดยในภาพถ่ายยังปรากฎหน้าจอโทรทัศน์ที่มีชื่อเพลง มิวสิควีดิโอคาราโอเกะเพลง และเนื้อเพลง และสอดคล้องกับภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงที่บันทึกในแผ่นดีวีดี ซึ่งมีภาพพนักงานจำเลยกำลังช่วยแกะสายไมโครโฟนให้แก่ ส. และ ม. เพื่อร้องเพลงคาราโอเกะ บนจอโทรทัศน์ก็ปรากฏภาพเคลื่อนไหวเป็นมิวสิควีดิโอคาราโอเกะด้วย โดยไม่ปรากฎว่าพนักงานจำเลยทักท้วงว่ามิวสิควีดิโอคาราโอเกะที่ ส. และ ม. กำลังร้องอยู่นั้นไม่ใช่มิวสิควีดิโอคาราโอเกะของร้านแต่อย่างใด ดังนี้ จึงเชื่อได้ว่า ร้าน บ. ของจำเลยมีการให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะ โดยจัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ ซึ่งเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะคาราโอเกะที่มีภาพประกอบ อันเป็นการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามคำนิยามของคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 จำเลยจึงประกอบกิจการวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 82 ประกอบมาตรา 53