คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 100

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับชำระหนี้จำนำหลังหนี้หลักขาดอายุความ และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ขายลดตั๋วเงิน ค้ำประกัน ตั๋วสัญญาใช้เงินและจำนำ จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จากการขายทอดตลาดหน่วยลงทุนกองทุนรวมสหธนาคารเอกปันผล 3 ทรัพย์จำนำที่นำมาเป็นประกันหนี้ของ ธ. หนี้ตามสัญญาจำนำดังกล่าวจึงเป็นหนี้อุปกรณ์ที่มีขึ้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธานคือ หนี้ตามสัญญาขาย/ขายลดตั๋วเงินที่ ธ. ทำไว้กับเจ้าหนี้เดิม เมื่อปรากฏว่า ธ. นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขาย/ขายลดให้กับเจ้าหนี้เดิมและ ธ. ได้รับเงินค่าขายไปจากเจ้าหนี้เดิมครบถ้วนแล้ว แต่หลังจากนั้น ธ. ไม่ชำระหนี้ตามตั๋วเงิน แม้ลูกหนี้จะนำหน่วยลงทุนกองทุนรวมสหธนาคารเอกปันผล 3 มาจำนำเป็นประกันหนี้ของ ธ. ก็ตาม แต่ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาจำนำดังกล่าวย่อมไม่เกินจำนวนหนี้ประธานที่ ธ. มีต่อเจ้าหนี้เดิม ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นบทบังคับ ไม่ให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้จำนำต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 (2)
เมื่อหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วและสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ขาดอายุความ แต่ในส่วนหนี้จำนำนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้อง ส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้" ดังนั้น แม้หนี้ที่ประกันจะขาดอายุความ เจ้าหนี้ก็ยังคงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 748 จากราคาทรัพย์จำนำของลูกหนี้ตามต้นเงินของหนี้ประธาน แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 193/27, 748 (1)
เมื่อสัญญาขาย/ขายลดตั๋วเงิน ระบุว่า ธ. ลูกหนี้ชั้นต้นยอมเสียดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้เดิมในอัตรา เอ็ม.อาร์.อาร์. บวก 2 ต่อปี ขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16.50 ต่อปี เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้ตามอัตราดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าหนี้ฎีกาขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงกำหนดให้ตามที่เจ้าหนี้ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ย, การหักชำระหนี้, และสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นเงินจำนวน 1,294,931.51 บาท และตามสัญญาเงินกู้ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นเงินจำนวน 750,000 บาท ตามที่ขอรับชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (วันที่ 22 มีนาคม 2549) ถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ (วันที่ 9 สิงหาคม 2549) เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2549 แม้อายุความในเรื่องดอกเบี้ยจะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันในชั้นนี้ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการได้รับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันขายทอดตลาด แม้จะยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์สิน
ผู้ร้องใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านนำทรัพย์หลักประกันออกขายทอดตลาดในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 จึงเป็นกรณีที่ผู้รับจำนองขอเอาบุริมสิทธิในทรัพย์ที่รับจำนองไว้ไม่เกินกว่าหนี้ที่รับจำนองเท่านั้น หากขายทอดตลาดได้เงินเกินกว่าหนี้จำนอง เงินส่วนที่เกินย่อมตกเข้าแก่กองทรัพย์สินของจำเลยผู้ล้มละลาย แต่ถ้าขายไม่ได้ถึงราคาทรัพย์จำนองหนี้ส่วนที่เหลือก็ตกเป็นพับแก่ผู้รับจำนองไป ฉะนั้นต้องคิดดอกเบี้ยให้ผู้ร้องจนถึงวันขายทอดตลาด เมื่อเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกัน มิใช่การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 96 จึงไม่ต้องห้ามคิดดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้เงินเพิ่มภาษีอากรในคดีล้มละลายของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินงาน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่กรณีของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เงินเพิ่มภาษีอากรจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการนั้น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ ประกอบด้วย ซึ่งมาตรา 5 บัญญัติว่า "นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 30 ได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้" เมื่อลูกหนี้เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 30 แม้มูลหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมเงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะมิใช่หนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของลูกหนี้ แต่ก็เป็นหนี้อันเนื่องมาจากลูกหนี้มิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย คือจ่ายเงินได้พึงประเมินโดยมิได้หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.รัษฎากรฯ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 นี้คงมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินเพิ่มจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิในคดีล้มละลายภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 กำหนดให้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้แต่ดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามมูลแห่งหนี้และกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีนี้ได้ความว่าเจ้าหนี้ยื่นความประสงค์ขอรับชำระหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิต่อคณะกรรมการดำเนินการแทนบริษัทลูกหนี้ ต่อมาคณะกรรมการ ปรส. ได้อนุญาตจัดสรรเงินบางส่วนชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้แล้วตามความเห็นของคณะกรรมดำเนินการแทนลูกหนี้ โดยการคำนวณยอดหนี้คงค้างในส่วนของดอกเบี้ยนั้น ปรส. ถือปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 5 ว่า นับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มเติมในคดีล้มละลายซึ่งเป็นกระบวนการขอรับชำระหนี้ต่อเนื่องมาจากการได้รับเงินส่วนเฉลี่ยหนี้คืนจาก ปรส. เพียงเท่าจำนวนหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างชำระก่อนวันที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีผลใช้บังคับเท่านั้น ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อความว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ. ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ. นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 และ 859 สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2538 เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด 10 ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหนี้และการฟ้องคดีภายในอายุความในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และระยะเวลาฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไว้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญา ใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษา ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระในคดีล้มละลาย และอายุความฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100
เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การระบุจำนวนดอกเบี้ยในคำขอรับชำระหนี้มีผลต่อการพิพากษา
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระ ถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฏอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่า จำนวนเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน 104,000 บาท เท่านั้น โดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่ เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100 การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้เกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฎอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่าจำนวนเงิน104,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่5กุมภาพันธ์2534จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน104,000บาทเท่านั้นโดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ
of 3