พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการมีอำนาจฟ้องร้องกรณีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับเป็นบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 32 ถึง อ.หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของโจทก์ให้ไปพบคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมทั้งให้นำสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการขายรถยนต์ ระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. จำกัด ไปประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยส่งหมายเรียกดังกล่าวด้วยวิธีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ มี ว. อายุ 16 ปีบุตรชายของ อ. เป็นผู้รับ ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ข้อ 353กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้ว นับแต่วันเวลาที่นำจ่ายดังนั้น เมื่อ ว.เป็นผู้รับหมายเรียกต้องถือว่าอ.หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วโดยชอบ เมื่อ อ. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2ประกอบกับมาตรา 33.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำพยานหลักฐานตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2), 33 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินในการนำพยานหลักฐานมาแสดง ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2),33 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 33
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2),33 แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี: เหตุผลใหม่ในชั้นศาล, อายุความ, รอบระยะเวลาบัญชี
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้น ก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรโดยอาศัยข้อมูลจากกรมศุลกากรและพิจารณาตามรอบระยะเวลาบัญชีปกติ ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่นำหลักฐานมาแสดง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้นก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา 19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่ รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี: เหตุผลที่ยกขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่จำกัดตามที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ และอำนาจการประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) มิได้บัญญัติไว้ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีใจความสำคัญว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์โดยมิชอบและขอให้ยกเลิกการประเมินดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวอ้างในชั้นศาลถึงการส่งหมายเรียกและการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถูกต้องนั้น ก็เป็นเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าการประเมินภาษีดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง จึงเป็นการกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
ที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการเสียภาษีอากรมาไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 นั้น ใช้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่กรณีที่ไม่ยื่นรายการตามมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาบังคับ ดังนี้ แม้หมายเรียกจะออกมาเกิน 5 ปี และระบุทั้งมาตรา19 และ 23 มาด้วยก็หาทำให้การประเมินขาดอายุความไม่
รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคมถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่อาจตรวจสอบในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์จากแบบที่โจทก์ยื่นเพื่อเสียภาษีในปีก่อน ๆ ได้ และเจ้าพนักงานประเมินย่อมเข้าใจว่ารอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์เป็นไปตามปกติคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งการประเมินดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อนกันหรือต้องทำให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่ประการใด การประเมินภาษีอากรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสาขาบริษัทต่างประเทศ: ผู้จัดการสาขาต้องได้รับมอบอำนาจเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลีย แต่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยมี อ.ผู้รับมอบอำนาจคดีนี้เป็นผู้จัดการสาขาในกรุงเทพมหานคร แสดงว่า อ.ไม่ใช่ผู้จัดการบริษัทโจทก์ในประเทศออสเตรเลีย อ. จึงไม่ใช่ผู้แทนนิติบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดี ดังนี้ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 925/2503)
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.