พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาบาดแผลและพฤติการณ์เพื่อประเมินเจตนาของผู้กระทำผิด
จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายมีบาดแผลหลังศีรษะ 2 แผล เป็นแผลยาว5 เซนติเมตร ลึก 2 เซนติเมตร และแผลยาว 3 เซนติเมตร ลึก0.5 เซนติเมตร แผลที่หน้าอกซ้ายยาว 6 เซนติเมตร ไม่ลึก แผลฉีกขาดที่หน้าผากด้านซ้ายยาว 4 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ใช้เวลารักษาบาดแผลไม่เกิน 14 วัน รอยแผลที่ศีรษะ 2 แผลไม่ใช่แผลฉกรรจ์ส่วนแผลที่อื่นเกิดจากการปล้ำกัน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายหันหลังให้จำเลย ถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยมีโอกาสใช้กำลังแรงเข้าโถมฟันผู้เสียหายได้ บาดแผลน่าจะฉกรรจ์มากกว่านี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ. 2530 ใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยตามที่โจทก์ขอไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดพาตัวผู้เสียหายไปอนาจาร พยานผู้เสียหายให้การยืนยัน และผลกระทบจาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์มีพยานคือผู้เสียหายเพียงปากเดียวที่เบิกความถึงการกระทำของจำเลย แต่ก็มีน้ำหนักน่าเชื่อเพราะเหตุเกิดเวลากลางวัน พยานมีโอกาสได้เห็นคนร้ายได้ชัดเจน และเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยมา ได้ให้ผู้เสียหายดูตัวผู้เสียหายก็ยืนยันในทันทีว่า จำเลยเป็นคนที่ร่วมกับคนร้ายช่วยฉุดพาผู้เสียหายลงเรือ ทั้งไม่มีเหตุที่จะพึงระแวงว่าผู้เสียหายปรักปรำใส่ร้ายจำเลย จึงเชื่อได้ว่าได้เบิกความไปตามที่ได้รู้เห็นจริง
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกประหารชีวิตและการคำนวณลดโทษที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกประเด็นความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยแก้ไข
ปัญหาเรื่องวิธีเพิ่มโทษ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยอีกไม่ได้ ฉะนั้นแม้คดีจะมีส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดศาลจะไม่เพิ่มไม่ลดหาได้ไม่ เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54 ให้เพิ่มโทษก่อนแล้วจึงลดจากผลที่ได้เพิ่มแล้วนั้น แต่กรณีนี้การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ไม่อาจทำได้ ศาลจึงต้องลดโทษให้แก่จำเลยสถานเดียว
โทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อรวมกับโทษจำคุกกระทงอื่นแล้วคงให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้.
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยอีกไม่ได้ ฉะนั้นแม้คดีจะมีส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดศาลจะไม่เพิ่มไม่ลดหาได้ไม่ เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54 ให้เพิ่มโทษก่อนแล้วจึงลดจากผลที่ได้เพิ่มแล้วนั้น แต่กรณีนี้การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ไม่อาจทำได้ ศาลจึงต้องลดโทษให้แก่จำเลยสถานเดียว
โทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อรวมกับโทษจำคุกกระทงอื่นแล้วคงให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีเพิ่มโทษทางอาญา ศาลฎีกาแก้ไขการคำนวณโทษและลดโทษจำเลย
ปัญหาเรื่องวิธีเพิ่มโทษ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยอีกไม่ได้ ฉะนั้นแม้คดีจะมีส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดศาลจะไม่เพิ่มไม่ลดหาได้ไม่ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 ให้เพิ่มโทษก่อนแล้วจึงลดจากผลที่ได้เพิ่มแล้วนั้น แต่กรณีนี้การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ไม่อาจทำได้ ศาลจึงต้องลดโทษให้แก่จำเลยสถานเดียว
โทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อรวมกับโทษจำคุกกระทงอื่นแล้วคงให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยอีกไม่ได้ ฉะนั้นแม้คดีจะมีส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดศาลจะไม่เพิ่มไม่ลดหาได้ไม่ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 ให้เพิ่มโทษก่อนแล้วจึงลดจากผลที่ได้เพิ่มแล้วนั้น แต่กรณีนี้การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ไม่อาจทำได้ ศาลจึงต้องลดโทษให้แก่จำเลยสถานเดียว
โทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อรวมกับโทษจำคุกกระทงอื่นแล้วคงให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ส่งผลต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์ แม้เคยต้องโทษมาก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 ไปแล้ว จึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน และเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษเดิมที่พ้นโทษแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์จำคุกคนละ10ปีเพิ่มโทษจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92หนึ่งในสามเป็นจำคุก13ปี4เดือนเพิ่มโทษจำเลยที่2ตามมาตรา93กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก15ปีจำเลยที่2ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา78คงจำคุกจำเลยที่2มีกำหนด7ปี6เดือนจำเลยที่1อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยที่1ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่6เมษายน2525ไปแล้วจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปีพ.ศ.2526ถือว่าจำเลยที่1ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่2ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษเพิ่มจากประวัติอาชญากรรมเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525ไปแล้วจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปีพ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษในคดีฝิ่นเมื่อพ้นโทษไม่ครบ 3 ปี: ศาลฎีกาตัดสินว่าการรอการลงโทษไม่ถือเป็นการพ้นโทษ
คำว่าพ้นโทษตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 ก็คือพ้นโทษที่ได้รับจริงๆ ในคดีก่อน เมื่อในคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกโดยศาลรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษจำคุกที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้ และการที่ศาลรอการลงโทษจำคุกไว้ก็ไม่ใช่โทษซึ่งเมื่อครบ 1 ปีตามที่รอไว้แล้วจะได้เป็นการพ้นโทษไปได้ในตัว ทั้งมาตรา 58 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายอาญาก็บัญญัติไว้ด้วยว่า ถ้าภายในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรกของ มาตรา 58 นั้น ก็ให้ผู้นั้นพ้นจากการที่จะถูกลงโทษในคดีนั้นซึ่งก็แสดงอยู่ชัดแจ้งว่าผู้นั้นหรือจำเลยไม่เคยถูกลงโทษมาก่อนนั่นเอง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วยังไม่ครบ 3 ปี มากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติฝิ่นนี้อีก จึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาเมื่อพ้นโทษไม่ครบ 3 ปี: การรอการลงโทษไม่ถือเป็นการพ้นโทษ
คำว่าพ้นโทษตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472ก็คือพ้นโทษที่ได้รับจริงๆในคดีก่อนเมื่อในคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกโดยศาลรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1ปีจึงไม่มีวันพ้นโทษจำคุกที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้และการที่ศาลรอการลงโทษจำคุกไว้ ก็ไม่ใช่โทษซึ่งเมื่อครบ 1 ปีตามที่รอไว้แล้วจะได้เป็นการพ้นโทษไปได้ในตัวทั้งมาตรา 58 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายอาญาก็บัญญัติไว้ด้วยว่าถ้าภายในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรกของ มาตรา 58 นั้น ก็ให้ผู้นั้นพ้นจากการที่จะถูกลงโทษในคดีนั้นซึ่งก็แสดงอยู่ชัดแจ้งว่าผู้นั้นหรือจำเลยไม่เคยถูกลงโทษมาก่อนนั่นเองกรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วยังไม่ครบ 3 ปี มากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติฝิ่นนี้อีกจึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่เป็นการแก้บทความผิด ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิ่มโทษจำเลยเป็นไม่เพิ่มโทษนั้น ไม่เป็นการแก้บทความผิด จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ต้องกันให้ลงโทษจำเลยกระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง