พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ทุจริตยักยอกเงินธนาคาร ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานธนาคารโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินที่ผู้จัดการธนาคารสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินฝากจากลูกค้าซึ่งการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่จำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำมามอบให้พนักงานธนาคารโจทก์เพื่อนำเข้าบัญชีของลูกค้าซึ่งต่อมาโจทก์ได้ชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าไปแล้วดังนี้ แม้ขณะจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ยังมิได้ใช้เงินให้แก่ลูกค้าก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ถือเป็นนิติกรรมผูกพันได้ ฟ้องได้อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 2 และในฐานะส่วนตัว ได้ทำบันทึกยินยอมซ่อมรถโจทก์ที่ 1 และยินยอมชดใช้ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ที่ 2 ในการที่นายสมุทรลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดโจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับรับผิดตามบันทึก โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยฐานละเมิด จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร เป็นฟ้องที่แสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
บันทึกไกล่เกลี่ยที่มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ตัวแทนจำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถของโจทก์ที่ 1 และค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 2 โดยจะมอบหมายให้บริษัทประกันภัยมาตกลงกันเองภายหลัง และโจทก์ทั้งสองก็พอใจและไม่ติดใจเอาความ ดังนี้ แม้บันทึกไกล่เกลี่ยจะไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะมิได้เป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไป ยังมีเงื่อนไขให้บริษัทประกันภัยตกลงจำนวนเงินค่าซ่อมและค่ารักษาพยาบาล แต่ก็ถือได้ว่าเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบันทึกไกล่เกลี่ยนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 2 และในฐานะส่วนตัว ได้ทำบันทึกท้ายฟ้องว่าเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาล ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง และการตั้งตัวแทนซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 นั้น ใช้แต่กรณีที่มีการตั้งตัวแทนจริงๆ ไม่รวมถึงการเป็นตัวแทนเชิดตามมาตรา 821 จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาที่จำเลยยอมรับผิดใช้ค่าซ่อมและรักษาพยาบาลแก่โจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดโดยตรง จึงมีอายุความ 10 ปี
บันทึกไกล่เกลี่ยที่มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ตัวแทนจำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถของโจทก์ที่ 1 และค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 2 โดยจะมอบหมายให้บริษัทประกันภัยมาตกลงกันเองภายหลัง และโจทก์ทั้งสองก็พอใจและไม่ติดใจเอาความ ดังนี้ แม้บันทึกไกล่เกลี่ยจะไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะมิได้เป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไป ยังมีเงื่อนไขให้บริษัทประกันภัยตกลงจำนวนเงินค่าซ่อมและค่ารักษาพยาบาล แต่ก็ถือได้ว่าเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบันทึกไกล่เกลี่ยนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 2 และในฐานะส่วนตัว ได้ทำบันทึกท้ายฟ้องว่าเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาล ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง และการตั้งตัวแทนซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 นั้น ใช้แต่กรณีที่มีการตั้งตัวแทนจริงๆ ไม่รวมถึงการเป็นตัวแทนเชิดตามมาตรา 821 จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาที่จำเลยยอมรับผิดใช้ค่าซ่อมและรักษาพยาบาลแก่โจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดโดยตรง จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การวางมัดจำ และผลของการผิดสัญญา
เอกสารมีว่า ".....ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน.....เป็นเงิน 5,000 บาท.....เพื่อทำสัญญาซื้อขาย ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504(ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำคำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดย โจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า "ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้ จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า "ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้ จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะทำหนังสือสัญญา การวางมัดจำผูกพันเฉพาะระยะเวลาที่กำหนด
เอกสารมีว่า".......ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน .....เป็นเงิน 5,000 บาท ..... เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 (ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำ คำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดยโจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า"ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือ จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2 ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า"ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือ จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2 ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือ จ.2 เป็นหลักฐานผูกมัดค่าเช่าใหม่ แม้ยังไม่ได้ทำสัญญาใหม่ตามรูปแบบ
ผู้เช่าทำสัญญา จ.1 เช่าทรัพย์พิพาทจากผู้ให้เช่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาทมีกำหนด 1 ปี และได้ทำหนังสือจ.2 ไว้ต่อกันอีกหนึ่งฉบับ มีความในข้อ 1 ว่า'ฯลฯ ผู้เช่ามีสิทธิที่จะต่อสัญญา (จ.1) ได้อีก 1 ปี โดยต้องบอกกับผู้ให้เช่าก่อนล่วงหน้า 1 เดือนแล้วทำสัญญาขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับ และต้องเพิ่มค่าเช่าเป็นเดือนละ 3,500 บาท' ปรากฏว่า ก่อนจะครบสัญญาเช่า1 เดือน ผู้เช่าได้ให้คนไปติดต่อกับผู้ให้เช่าขอเช่าต่อและผู้ให้เช่าก็ย่อมให้เช่าต่อได้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา จ.1 แล้ว ผู้เช่าก็ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าต่อมา ดังนี้ หนังสือ จ.2 ย่อมเป็นหลักฐานผูกมัดผู้เช่าให้ต้องชำระค่าเช่าสำหรับการเช่าต่อมาในอัตราเดือนละ 3,500 บาทกรณีนี้ แม้ผู้เช่ากับผู้ให้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญากันใหม่อีกฉบับหนึ่งตามความในหนังสือ จ.2 ก็ตาม ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 ไม่มีข้อสงสัยอันจะนับได้ว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามบทบัญญัติมาตรา366 วรรค 2 นั้นอย่างใด ผู้เช่าจะเถียงว่าหนังสือจ.2 ไม่มีผลบังคับ ผู้เช่าจึงมีสิทธิที่จะให้ค่าเช่าเพียงเดือนละ 500 บาทเท่าอัตราค่าเช่าตามสัญญา จ.1เดิมนั้นหาได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เข้ามาตรา 570 อันจะถือได้ว่าผู้ให้เช่ากับผู้เช่าเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพิ่มเติมมีผลผูกพัน แม้ยังไม่ได้ทำสัญญาใหม่เป็นลายลักษณ์อักษร หากตกลงกันแล้ว
ผู้เช่าทำสัญญา จ.1 เช่าทรัพย์พิพาทจากผู้ให้เช่า ค่าเช่าเดือนละ 500 บาท มี กำหนด 1 ปี และได้ทำหนังสือ จ.2 ไว้ต่อกันอีกหนึ่งฉบับ มีความในข้อ 1.ว่า"ฯลฯ ผู้เช่ามีสิทธิที่จะต่อสัญญา(จ.1)ได้อีก 1 ปี โดยต้องบอกกับผู้ให้เช่าก่อนล่วงหน้า 1 เดือน แล้วทำสัญญาขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับ และต้องเพิ่มค่าเช่าเป็นเดือนละ 3,500 บาท" ปรากฎว่า ก่อนจะครบสัญญาเช่า 1 เดือน ผู้เช่าได้ให้คนไปติดต่อกับผู้ให้เช่าขอเช่าต่อ และผู้ให้เช่าก็ยอมให้เช่าต่อได้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา จ.1 แล้ว ผู้เช่าก็ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าต่อมาดังนี้ หนังสือ จ.2 ย่อมเป็นหลักฐานผูกมัดผู้เช่าให้ต้องชำระค่าเช่าสำหรับการเช่าต่อมาในอัตราเดือนละ 3,500 บาท กรณีนี้ แม้ผู้เช่ากับผู้ให้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญากันใหม่อีกฉบับหนึ่งตามความในหนังสือ จ.2 ก็ตาม ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 367 ไม่มีข้อสงสัยอันจะนับได้ว่า่ยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามบทบัญญัติมาตรา 366 วรรค 2 นั้นอย่างใด ผู้เช่าจะเถียงว่าหนังสือ จ.2 ไม่มีผลบังคับ ผู้เช่าจึงมีสิทธิที่จะให้ค่าเช่าเพียงเดือนละ 500 บาทเท่าอัตราค่าเช่าตามสัญญา จ.1 เดิมนั้นหาได้ไม่ ทั้งกรณีไม่เข้ามาตรา 570 อันจะถือได้ว่าผู้ให้เช่ากับผู้เช่าเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีเช่าต้องตรงกับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากโจทก์ยอมรับว่าไม่มีสิทธิในที่ดิน สิทธิในการฟ้องย่อมสิ้นสุด
เมื่อฟ้องของโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของนาพิพาท หาได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่นใดเหนือที่พิพาทขึ้นสนับสนุนอีกไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาทนั้นไม่ใช่ของโจทก์เป็นของกรมชลประทานโดยเจ้าของเดิมแบ่งยกให้กรมชลประทานไปแล้วก่อนโอนขายให้โจทก์ ดังนี้ตามฟ้องและคำรับของโจทก์ย่อมแสดงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆเหนือที่พิพาททั้งสิ้น (รวมทั้งสิทธิให้เช่า) เมื่อตนไม่มีสิทธิใดๆแล้ว จะอ้างว่าสัญญาเช่าปิดปากผู้เช่ามิให้โต้เถียงสิทธิของผู้ให้เช่านั้นก็ไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าต้องอ้างอิงกรรมสิทธิที่แท้จริงของผู้ให้เช่า หากผู้ให้เช่าไม่มีกรรมสิทธิ สัญญาเช่าย่อมเป็นโมฆะ
เมื่อฟ้องของโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของนาพิพาทหาได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่นใดเหนือที่พิพาทขึ้นสนับสนุนอีกไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาทนั้นไม่ใช่ของโจทก์เป็นของกรมชลประทานโดยเจ้าของเดิมแบ่งยกให้กรมชลประทานไปแล้วก่อนโอนขายให้โจทก์ ดังนี้ตามฟ้องและคำรับของโจทก์ย่อมแสดงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่พิพาททั้งสิ้น (รวมทั้งสิทธิให้เช่า) เมื่อตนไม่มีสิทธิใด ๆ แล้ว จะอ้างว่าสัญญาเช่าปิดปากผู้เช่ามิให้โต้เถียงสิทธิของผู้ให้เช่านั้นก็ไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2498)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินและการให้เช่า: โจทก์ยอมรับว่าไม่มีสิทธิในที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจให้เช่า
เมื่อฟ้องของโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของนาพิพาท หาได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่นใดเหนือที่พิพาทขึ้นสนับสนุนอีกไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาทนั้นไม่ใช่ของโจทก์เป็นของกรมชลประทานโดยเจ้าของเดิมแบ่งยกให้กรมชลประทานไปแล้วก่อนโอนขายให้โจทก์ ดังนี้ตามฟ้องและคำรับของโจทก์ย่อมแสดงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆเหนือที่พิพาททั้งสิ้น (รวมทั้งสิทธิให้เช่า) เมื่อตนไม่มีสิทธิใดๆแล้ว จะอ้างว่าสัญญาเช่าปิดปากผู้เช่ามิให้โต้เถียงสิทธิของผู้ให้เช่านั้นก็ไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสลากกินแบ่ง: ผู้ซื้อมีสิทธิรับรางวัลแม้ไม่มีสลากฉบับจริง หากพิสูจน์ได้ว่าถูกรางวัล
เงื่อนไขที่พิมพ์ไว้ในสลากกินแบ่งรัฐบาลว่า " เงินรางวัลจ่ายแก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลมาขอรับ " ก็ดี " ถ้าผู้ถูกรางวัลไม่สามารถนำสลากที่ถูกรางวัลมาขอรับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ไม่ว่าเป็นกรณีใด " ก็เป็นอันไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินที่อ้างว่าถูกรางวัลนั้น" ก็ดี ยังแปลไม่ได้ว่าถึงแม้จะถูกรางวัลแล้ว ถ้าไม่ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลมาแล้ว จะไม่ได้รับรางวัลตามที่มีสิทธิ
และแม้ว่าเงื่อนไข (ข้อกำหนด)ดังกล่าวจะได้แจกจ่ายและโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงแล้วก็ตาม ยังหาผูกมัดผู้ซื้อไม่ เพราะเป็นข้อความที่นอกออกไปจากข้อสัญญาที่จำเลยระบุไว้ในสลาก(ว่าจะจ่ายให้แก่ผู้ถูกรางวัล)จึงไม่เป็นเหตุจะให้ถือได้ว่าผู้ซื้อสลากได้รับเอาข้อสัญญาตามข้อกำหนดดังกล่าวนั้นไปด้วย(ฎีกาที่ 1372/2497)
และแม้ว่าเงื่อนไข (ข้อกำหนด)ดังกล่าวจะได้แจกจ่ายและโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงแล้วก็ตาม ยังหาผูกมัดผู้ซื้อไม่ เพราะเป็นข้อความที่นอกออกไปจากข้อสัญญาที่จำเลยระบุไว้ในสลาก(ว่าจะจ่ายให้แก่ผู้ถูกรางวัล)จึงไม่เป็นเหตุจะให้ถือได้ว่าผู้ซื้อสลากได้รับเอาข้อสัญญาตามข้อกำหนดดังกล่าวนั้นไปด้วย(ฎีกาที่ 1372/2497)