คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 254

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และประเด็นเขตอำนาจศาลในชั้นดังกล่าว
แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(3) เรื่องเขตอำนาจศาลไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวและการยอมรับข้อเท็จจริงโดยปริยายจากคำคัดค้านของจำเลย
ในชั้นที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวขอให้ศาลห้ามจำเลยทั้งสองดำเนินกิจการโรงแรม บ. จำเลยทั้งสองคัดค้านเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ตั้งกิจการโรงแรม จำเลยเข้าไปดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวก็เพื่อรักษาราคาที่ดินของจำเลยทั้งสองมิให้ตกต่ำลงเท่านั้น คำคัดค้านของจำเลยทั้งสองเท่ากับยอมรับในตัวว่ากิจการโรงแรม บ. เป็นของโจทก์ แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(3) และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองแถลงไม่ติดใจสืบพยานชั้นไต่สวน แสดงว่าศาลให้โอกาสนำพยานเข้าสืบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ประสงค์จะนำพยานเข้าสืบเอง หาใช่จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบดังจำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ในชั้นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองพิพาทกันเกี่ยวกับการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีเพราะมิใช่ศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่หรือไม่ ย่อมไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นนี้เพราะตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความคู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้เสมอ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเงินตามหมายอายัดที่ไม่ผูกมัดผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และความเสียหายจากการชำระหนี้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ
การที่คดีก่อนจำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 แล้วขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดตามคำขอนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของเดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. และจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไปคำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัด แต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ แม้มีการอายัดเงินแต่สิทธิเรียกร้องได้โอนไปแล้ว การชำระเงินจึงไม่เป็นการละเมิด
การที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดไว้ก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ส่งเงินค่าจ้างทำของไปยังศาลตามหมายอายัดชั่วคราว และในที่สุดจำเลยที่ 3 ได้รับเงินดังกล่าวไปจากศาลนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของนี้เดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 และต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรและจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัดแต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวมาไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดเป็นการขอให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา แม้คดีเปลี่ยนประเภทจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากทรัพย์พิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ โดยเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นได้สั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองให้การว่า คดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่ก่อนหรือในวันสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับคำร้องและไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างพิจารณาก่อนโจทก์นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลได้ เพราะศาลชั้นต้นได้รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในข้อห้ามอายัดซ้ำ
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษระ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีมาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้น หารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามอายัดซ้ำ
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา254(1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีมาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้น หารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6091/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องดำเนินการตามวิธีปกติ หากมิใช่กรณีเร่งด่วน
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของโจทก์ฉบับลงวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ในวันที่ 13 ธันวาคม2531 และสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทุกคนทราบ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จในวันที่ 14 ธันวาคม 2531 แล้วได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้จำเลยทุกคนร่วมกันจัดการนำส่งสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อศาลเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษาภายใน 15 วันจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้อง ของ โจทก์เป็นการด่วนโดยไม่ชักช้า และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้บังคับได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งให้จำเลยทุกคนทราบดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 267,269 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์อย่างวิธีธรรมดา จะนำป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง มาปรับกับกรณีตามคำร้อง ของ จำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ศาลชอบที่จะงดสืบพยานเมื่อประเด็นชัดเจน และการขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีไม่มีประเด็นแบ่งมรดก
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า สมควรถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรียกร้องแบ่งเอาทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ขอให้ผู้ร้องแสดงบัญชีเงินได้จากการขายที่ดินทรัพย์มรดกและนำเงินดังกล่าวมาวางศาล ทั้งขออายัดการโอนที่ดินทรัพย์มรดกแปลงอื่น ตามคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องรับว่าไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกและได้โอนขายที่ดินทรัพย์มรดกไปจริง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานผู้ร้อง เพราะเป็นการฟุ่มเฟือย ชักช้าไม่ทำให้ประเด็นเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะงดสืบพยานของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าโทรศัพท์สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ค่าเช่าค้าง ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา การขายทอดตลาดสิทธิเช่าหลังบอกเลิกสัญญาไม่ผูกพันผู้ให้เช่า
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดสิทธิการเช่าโทรศัพท์พิพาทของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ของผู้ร้อง การที่จะให้ใครเช่าโทรศัพท์จึงเป็นสิทธิของผู้ร้องสิทธิดังกล่าวของจำเลยจะมีอยู่หรือสิ้นไปย่อมเป็นไปตามสัญญาเช่าและกฎระเบียบของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแต่จำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่า และมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลยแล้ว สิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทที่จำเลยเคยมีสิทธิอยู่จึงหมดไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทภายหลังจากที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ร้องโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ คำสั่งอายัดของศาลไม่มีผลคุ้มครองห้ามผู้ร้องบอกเลิกสัญญาการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลย
of 22