พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาต่างจากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาคืนการครอบครอง
สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลให้มีกำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168(เดิม)นั้นหมายถึงสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลเท่านั้นมิได้หมายถึงการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองซึ่งต้องฟ้องภายใน1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอื่นที่พิพากษาให้โจทก์(จำเลยคดีนี้)ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองที่พิพาทจากจำเลย(โจทก์คดีนี้)เกินกว่า1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองพิพากษายกฟ้องไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์คดีนี้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการถูกแย่งการครอบครอง: สิทธิจากการพิพากษาศาลต่างจากสิทธิเรียกร้องโดยตรง
สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 (เดิม) นั้นหมายถึงสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลเท่านั้น มิได้หมายถึงการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอื่นที่พิพากษาให้โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองที่พิพาทจากจำเลย (โจทก์คดีนี้) เกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง พิพากษายกฟ้อง ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์คดีนี้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 168 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกประเด็นการแย่งการครอบครองที่ไม่สอดคล้องกับคำให้การ และส่งคืนสำนวนเพื่อวินิจฉัยกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อขนำของจำเลยที่ปลูกสร้างลงในที่พิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดาจำเลยซึ่งยกให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินที่จำเลยปลูกขนำอยู่จากโจทก์จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง ศาลจึงไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว คดีอาจต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองและการฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนสิทธิ การฟ้องภายในกำหนดอายุความ
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3ก่อนที่โจทก์จะรับซื้อฝาก จาก ส.เมื่อส. ไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดโจทก์จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองบ้านและที่ดินพิพาท การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่าง ส.กับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้วในคดีดังกล่าวนั้นโจทก์ในฐานะจำเลยได้ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่จำเลย แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้น ซึ่งเป็นผลทำให้ฟ้องแย้งของโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยจะตกไปด้วยผลของกฎหมายก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแย้งด้วยหาได้ไม่ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีก่อน และในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 จึงเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากฟ้องแย้งเดิมซึ่งโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องเพื่อเอาคืน ซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90-97/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่อง และผลของการไม่ฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
หลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่หาใช่หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่พิพาทไม่ ในชั้นชี้สองสถานเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยไม่ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทใน 1 ปีจึงเสียสิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 วรรคสอง และโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าว แม้ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้โจทก์หมดสิทธิเรียกร้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่พนักงานสอบสวนบันทึกให้โจทก์ กับจำเลยลงชื่อไว้ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลย ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ หรือยอมรับว่าจะรื้อบ้านออกไปจาก ที่ดินพิพาท จึงไม่มีผลทำให้การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย สะดุดหยุดลงโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลย เข้าไปครอบครองที่ดิน พิพาท ถือได้ว่าโจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้อง คดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดกผ่านการครอบครองเพื่อตนเองและการเสียภาษีอย่างต่อเนื่อง
ที่ดินพิพาทมี ส.ค.1 เป็นมรดก โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทชั้นหลานของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย มารดาโจทก์ พี่ชายโจทก์และโจทก์ได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทและเก็บเงินค่าเช่าบ้านพักที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทมาบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านดังกล่าว อันเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น แต่เมื่อจำเลยเตือน ขอให้มารดาโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท มารดาโจทก์ไม่ยอมแบ่งให้และว่า ถ้าอยากได้ก็ให้ไปฟ้องเอาเอง และมารดาโจทก์ก็จัดการชำระภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในนามของตนเอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่ามารดาโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้ว หาใช่เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีทายาทคนหนึ่งคนใดดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้แต่อย่างใดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่มารดาโจทก์แล้วเมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทก็เข้าครอบครองต่อและเสียภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนในนามของโจทก์ทั้งโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่ทายาทอื่นให้ออกจากห้องแถวซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทอีกด้วย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ & การครอบครองปรปักษ์: ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยทั้งสองเคยถูกพนักงานอัยการฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงยอมความกันให้จำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินต่อไปจนกว่าจะเก็บพืชผลเสร็จ และผู้ดูแลที่พิพาทของโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ได้ การที่จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินต่อมาจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่พิพาทอีก ศาลพิพากษายกฟ้องว่าโจทก์ฟ้องภายหลัง 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โดยมิได้วินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้โดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ประเด็นที่ศาลยกฟ้องในคดีที่สองกับประเด็นคดีนี้แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากที่พิพาทที่จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ตามที่ศาลฎีกาได้ฟังข้อเท็จจริงไว้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง ไม่อยู่ในบังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุฟ้องขับไล่ได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองก่อนหน้า
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินตาม น.ส.3 ของโจทก์และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในชั้นพนักงานสอบสวนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังเวลา 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงยอมความไว้กับโจทก์แล้วไม่ปฏิบัติตามยอมโดยไม่ยอมออกไปจากที่ดินของโจทก์ขอให้ขับไล่ออกไป ดังนี้ ประเด็นตามฟ้องในคดีหลังจึงมีว่าข้อตกลงยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ จึงเห็นได้ว่าประเด็นที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเป็นเหตุยกฟ้องในคดีก่อนกับที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นประเด็นให้วินิจฉัยในคดีหลังนี้แตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นการขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการขอบังคับผู้อาศัยให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 เข้ามาอาศัยอยู่ ฟ้องของโจทก์ทั้งที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงมิใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง.