พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่เกิดจากการปลอมแปลงเอกสารและไม่มีอำนาจ การฟ้องติดตามทรัพย์คืนไม่ขาดอายุความ
มีผู้อื่นเอาที่ดินไปขายฝากโดยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของที่ดินลงในใบมอบอำนาจว่าเจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้เอาที่ดินไปขายฝากได้แม้ผู้รับซื้อฝากจะซื้อไว้โดยสุจริตเจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เพราะเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้ขายนิติกรรมการขายฝากระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ซื้อจึงไม่มีต่อกัน(อ้างฎีกาที่2049/92,1866/94) และกรณีเช่นนี้ไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,223,1329,1332 ทั้งไม่ใช่เรื่องบอกล้างโมฆียะกรรมตาม มาตรา143 ด้วย
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51 ไม่ได้
อายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่มีผู้เอาไปโอนโดยไม่มีอำนาจ จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้มิใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา ม.2 (4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรงแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารและจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญา ต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำม.51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ม.11 วรรค 2 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังก่อสร้างได้ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่ง ป.พ.พ.ม.169
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำม.51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ม.11 วรรค 2 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังก่อสร้างได้ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่ง ป.พ.พ.ม.169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกรณีการก่อสร้างผิดกฎหมาย และอายุความตามหลักทั่วไป
ผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรง แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร และจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญาต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำมาตรา 51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11 วรรคสอง ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังแบบก่อสร้างได้ ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำมาตรา 51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11 วรรคสอง ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังแบบก่อสร้างได้ ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งสะดุดหยุดเมื่อฟ้องคดีอาญา
กำหนดหนึงปีในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้นเป็นอายุความฉนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีอาญาฐานบุกรุกไว้แล้ว แต่คดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาโจทก์จึงได้ฟ้องคดีแพ่งอีกคดีหนึ่ง เมื่อเกินหนึ่งปีนับจากวันบุกรุก คดีโจทก์หาขาดอายุความไม่ เพราะอายุความได้สดุดหยุดลงตามวิ.อาญา ม. 51 วรรค 2 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งสะดุดหยุดเมื่อฟ้องคดีอาญา
กำหนดหนึ่งปีในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้นเป็นอายุความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีอาญาฐานบุกรุกไว้แล้ว แต่คดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาโจทก์จึงได้ฟ้องคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งเมื่อเกินหนึ่งปีนับจากวันบุกรุกคดีโจทก์หาขาดอายุความไม่เพราะอายุความได้สะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิดทางอาญา และผลของการถอนฟ้องคดีแพ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิดจากผู้อื่น ซึ่งมิได้ร่วมในการกระทำผิดทางอาญาด้วยนั้น ต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 383/2497)
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิดทางอาญา และอายุความจากความผิดอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในฐานะละเมิดจากผู้อื่น ซึ่งมิได้ร่วมในการกระทำผิดทางอาญาด้วยนั้น ต้องนับอายุความตาม ป.พ.พ.ม.448 วรรค 1 ( อ้างฎีกาที่ 383/2497 )
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.168
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากความผิดทางอาญา: ผู้ร่วมกระทำผิด vs. ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาให้นับอายุความทางอาญาที่ยามกว่าตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 448 วรรค 2 นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผุ้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่น ที่มิได้ร่วมในการกระทำผิด ( อ้างฎีกาที่ 383/2497 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิด: นับตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะมิได้หมายถึงผู้อื่น ที่มิได้ร่วมในการกระทำผิด (อ้างฎีกาที่ 383/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากข้อหาเบียดบังทรัพย์สิน: ไม่เชื่อมโยงความผิดทางอาญา
ฟ้องระบุถึงตำแหน่งหน้าที่จำเลยในทางราชการและกล่าวว่า จำเลยได้ยักยอกเงินไปโดยนำเงินส่งคลังไม่ครบจำนวน ขอให้จำเลยใช้เงินจำนวนที่ส่งไม่ครบ ดังนี้ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นฟ้องกันเกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญา เพราะในการที่จำเลยนำเงินส่งไม่ครบ อาจเป็นด้วยความพลั้งเผลอหรือหลงลืม ซึ่งมิใช่เป็นความผิดทางอาญา ฉะนั้นคดีจึงไม่เข้าอยู่ใน ป.ม.วิ. อาญามาตรา 51 และจะยกอายุความตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 78 มาปรับมิได้