คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ผู้ร้องไม่จำเป็นต้องบรรยายสถานะบุคคลภายนอกของผู้คัดค้านในคำร้อง
ในชั้นยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์นั้น ผู้ร้องทั้งสองเพียงแต่บรรยายให้ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามมาตรา 172 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แล้ว ส่วนผู้คัดค้านจะเป็นบุคคลภายนอกและได้ทรัพย์ที่ผู้ร้องทั้งสองร้องขอครอบครองปรปักษ์มาโดยสุจริตหรือไม่ไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่จำต้องบรรยายมาในคำร้องขอ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานผู้ร้องทั้งสองและพยานผู้คัดค้านแล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้บรรยายให้ปรากฏในคำร้องว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุคคลภายนอก และซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่อาจยกเรื่องการครอบครองปรปักษ์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้แล้วพิพากษายกคำร้องขอ จึงเป็นการไม่ชอบ
แม้ตามอุทธรณ์และฎีกาจะขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่างก็ตาม แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีผลเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีหรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนั้น จึงให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองบัตรเครดิต: การให้บริการบัตรเครดิตเป็นการทำสัญญาให้บริการ อายุความ 2 ปี
ในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้บัตรเครดิตของจำเลย ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และรับว่าใบแจ้งหนี้ที่โจทก์อ้างส่งถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงงดสืบพยานโจทก์ แล้วพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความ ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานโจทก์จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบธุรกิจให้บริการประเภทบัตรเครดิตมีลักษณะเป็นการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและการใช้บริการ ส่วนการให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิต เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนก็ดี หรือให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็ดี ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐ ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้บุกรุกที่ดินวัดตามที่มีผู้แจ้งให้ทราบในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มิได้ทำในฐานะส่วนตัวส่วนจำเลยที่ 2 ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชักนำผู้อื่นให้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในทางเดียวกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอาญาและมีความเห็นสั่งฟ้องโจทก์ต่อพนักงานอัยการนั้นก็เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ชอบที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ แต่จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยตรงในคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่ง หากมิได้โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ย่อมหมดไป
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาคดีในวันดังกล่าวโดยนำข้อเท็จจริงจากที่คู่ความแถลงร่วมกันมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี ดังนั้น คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์และธนาคาร ก. ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคาร ก. ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้แก่ธนาคาร ก. เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการวินิจฉัยชี้ขาดในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อน
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ดำเนินกระบวนการซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีที่ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน และจำเลยร่วมกระทำโดยอาศัยสิทธิจำเลยที่ 1
ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้ยกฟ้องจำเลยกับให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานเฉพาะของโจทก์และจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ ในการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องฟ้องซ้อนอันเป็นประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ได้ชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นการขัดต่อคำพิพากษาศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 แต่มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 28 (2) (ข) (ค) ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อนที่โจทก์ยกข้ออ้างว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขุดดินปักเสาไฟฟ้าในที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินอีก 15 แปลง ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ โจทก์ไม่ได้ฟ้องในคดีก่อน แต่ที่ดินเหล่านี้อยู่ในโครงการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าเดิมที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมฯ แทนคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด: การฟ้องกรมฯ เพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัยถือว่าเป็นการฟ้องกรรมการและเลขานุการ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ฯ ได้กำหนดให้กรมจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โดยให้มีสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าเป็นส่วนราชการในกรมจำเลย ดังนี้ จะเห็นได้ว่า การดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการปกป้องและตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุนตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของส่วนราชการในกรมจำเลย ทั้งตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศฯ ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยในส่วนที่ 2 การเริ่มต้นกระบวนพิจารณา และส่วนที่ 3 การไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายไว้ว่า ให้ผู้ยื่นคำขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดยื่นคำขอต่อกรมจำเลยและกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้พิจารณาคำขอในเบื้องต้นว่ามีรายละเอียดหรือหลักฐานครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ จากนั้นให้กรมจำเลยเสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและเมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหายแล้ว ตามกฎหมายยังกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไต่สวนในประเด็นการทุ่มตลาดและความเสียหาย เสร็จแล้วให้กรมจำเลยสรุปผลการไต่สวนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป และแม้คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งมี รมต. ว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการจะมีอำนาจหน้าที่เป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของกรมจำเลย แต่คณะกรรมการดังกล่าวก็มีอธิบดีกรมจำเลยเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งยังมีข้าราชการจากกรมจำเลยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยดังกล่าวข้างต้นแล้ว อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยจึงเป็นกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในเนื้อหางานของคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบกับการฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีกรมจำเลยซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน จึงถือว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนแล้วไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคนและการที่โจทก์ฟ้องเฉพาะกรมจำเลยดังกล่าว กรมจำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีชี้แจงเหตุผลโต้แย้งคำฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ไม่ทำให้คณะกรรมการดังกล่าวเสียเปรียบแต่อย่างใด ทั้งยังมีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในการนำเข้าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 7016.900.001 ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ โดยไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: ศาลวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกวันที่ 29 เมษายน 2545 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีในวันที่ 24 พฤษภาคม 2545 เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
การกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามบทบัญญัติมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 คือ ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลาย เมื่อการโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้กระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2538 จึงเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี, เจตนาทุจริต, ราคาต่ำกว่าประเมิน
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)
of 34