คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 93

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาฐานไม่เข็ดหลาบ: จำเลยให้การรับสารภาพก่อนมีทนาย ไม่กระทบคำรับ หากโจทก์มิได้สืบพยานยืนยัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ให้จำคุก 5 ปี และเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93กึ่งหนึ่ง รวมเป็นโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าไม่เพิ่มโทษตามมาตรา 93 คงจำคุกเพียง 5 ปี เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทและโทษ เป็นการแก้ไขมาก จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้ในคดีอุกฉกรรจ์ที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่ได้หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การรับในข้อเคยต้องโทษก่อนตั้งทนาย คำรับก็ไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์และพยายามฆ่า โดยพิจารณาจากประวัติเคยต้องโทษปล้นทรัพย์และบทบัญญัติมาตรา 92-93
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญา: พิจารณาความผิดเดิมและปัจจุบันเพื่อเลือกโทษที่เหมาะสมตามกฎหมาย
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80 นั้น เป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41(8) แล้วถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักทรัพย์และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 นั้นเป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41(8) แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยหลายกระทง, การเพิ่มโทษซ้ำ, และการนับโทษต่อเมื่อคดีเด็ดขาด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่เหตุการณ์ที่จะลงโทษเรียงกระทงความผิดหรือจะลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้ เมื่อความผิดของจำเลยแต่ละกระทงมีโทษหนักเท่ากัน ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยกระทงหนึ่งกระทงใดแต่กระทงเดียวได้ (อ้างฎีกาที่ 167/2507)
จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ในระหว่างที่ต้องรับโทษอยู่ จำเลยได้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 อีก ดังนี้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นความผิดคนละฐาน คนละข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 กรณีไม่ใช่กระทำผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกัน จะเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามมาตรา 92 ไม่ได้
โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอีกคดีหนึ่ง แต่คดีนั้นศาลยังมิได้พิพากษาลงโทษจำเลย ศาลย่อมไม่นับโทษต่อให้ เพราะยังไม่มีโทษที่จะนับต่อให้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คงอุทธรณ์แต่โจทก์ฝ่ายเดียว เฉพาะในเรื่องขอให้เรียงกระทงลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยบางคนกับนับโทษจำเลยต่อจากคดีอีกคดีหนึ่งเท่านั้น ศาลอุทธรณ์คงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ดังนี้ จำเลยจะรื้อฟื้นฎีกาขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษคดีเดิม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปี ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตามโทษที่ศาลกำหนด สำหรับความผิดครั้งหลังด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้ว ก็ย่อมหักกลบลบกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษจำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปีฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังนี้ด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้วก็ย่อมหักกลบลบกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การรื้อฟื้นคดีในประเด็นเคยต้องโทษขัดต่อกฎหมาย
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การรื้อฟื้นคดีในประเด็นความถูกต้องของใบแดงแจ้งโทษจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยรับว่า จำเลยรับว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษจริงตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องทุกครั้ง เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และลงโทษกักกันจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาในปัญหาที่ว่า ใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องมิใช่ใบแดงแจ้งโทษความผิดของจำเลยหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
of 6