คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากผู้เยาว์และพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้กระทำในคราวเดียวกัน
ความผิดฐานพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แม้จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นความผิดต่อทั้งผู้เยาว์และมารดาของผู้เยาว์ ถือได้ว่ามีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7319/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานขัดแย้งกับเอกสารสัญญา การนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ แต่บริษัท ส. และ พ. ผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเป็นผู้รับเงิน เป็นการนำสืบแตกต่างจากข้อความที่ระบุในสัญญา อันเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารในกรณีที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามโอนขายที่ดินมีผลบังคับใช้ก่อนการโอน การโอนหลังคำสั่งคุ้มครองใช้ยันต่อโจทก์ไม่ได้
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท ปรากฏว่าในวันเดียวกันเจ้าพนักงานที่ดินได้รับหมายคุ้มครองชั่วคราวตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่คุ้มครองชั่วคราวนี้มีผลใช้บังคับในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 วรรคสาม ดังนั้นการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำขึ้นภายหลังที่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่อาจใช้ยันต่อโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีอาญา และการพิจารณาโทษกรรมต่างกัน ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นความชัดเจนคำรับสารภาพและโทษกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และฐานรับของโจรซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การพิจารณาคดีอาญา และการยกฟ้องในบางข้อหา
ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่าข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้ว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลยและตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้ว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหารับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหารับของโจรเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่และการลงโทษจำเลยในความผิดทางหลวง การอ้างบทบัญญัติเดิมผิดพลาด
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61, 73 แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 25 และมาตรา 29 โดยมาตรา 61 ทั้ง พ.ร.บ.ทางหลวงฉบับเดิมและฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ยังบัญญัติเป็นบทความผิดห้ามการใช้ยานพาหนะบนทางหลวง โดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าผู้อำนวยการทางหลวงได้ประกาศกำหนดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 บัญญัติเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 30 เป็นมาตรา 73/2 ดังนั้นการกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่มาตรา 73/2 กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษซึ่งหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 ของกฎหมายเดิม การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์มีเงื่อนไขการชำระหนี้ การโอนกรรมสิทธิ์จึงยังไม่สมบูรณ์ การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ซื้อรถพิพาทไปจากจำเลย ชำระราคาบางส่วนและรับมอบรถพิพาทไปครอบครองใช้ประโยชน์แล้ว มีข้อตกลงให้โจทก์ต้องชำระราคาบางส่วนที่เหลือให้หมดภายในกำหนด 2 ปี จำเลยจึงจะโอนทะเบียนรถพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ ตราบใดที่โจทก์ยังชำระเงินส่วนที่เหลือให้จำเลยไม่ครบภายในกำหนด 2 ปี จำเลยก็จะไม่โอนทะเบียนรถให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นการเอาเงื่อนไขการชำระหนี้เป็นการหน่วงนิติกรรมการซื้อขายไว้มิให้เป็นผลจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้จำเลยครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทจึงยังไม่โอนไปยังโจทก์ทันทีที่ตกลงซื้อขายรถพิพาทกัน ข้อตกลงซื้อขายรถพิพาทไม่ใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจ้างทำของ: พิจารณาจากสัญญาเกิดที่ไหน และเรียกค่าเสียหายหรือค่าจ้าง
แม้จำเลยจะสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยใช้ใบสั่งซื้อ แต่โจทก์ก็ต้องใช้แม่พิมพ์ของจำเลยในการผลิตสินค้า หาใช่โจทก์ผลิตสินค้าเพื่อขายให้จำเลยโดยตรงไม่ จึงเป็นการจ้างทำของไม่ใช่ซื้อขาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกค่าดำเนินการจากผู้รับเหมาช่วงโดยลูกจ้างบริษัท เป็นเหตุเลิกจ้างได้ และจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 เรียกค่าดำเนินการสำหรับการจะเข้ามารับงานก่อสร้างสถานีเครือข่ายโทรคมนาคมของจำเลยที่ 1 จากนาย ณ. พนักงานบริษัท ท. ให้แก่บริษัท ค. ซึ่งจะเข้ามาประมูลงานก่อสร้างจากจำเลยที่ 1 และได้จัดส่งราคากลางแล้วยืนยันแนวโน้มจะได้รับงานจากจำเลยที่ 1 เป็นการอาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แอบอ้างเรียกเอาผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ค. การกระทำดังกล่าวแม้ว่าจะเพื่อให้มีบุคคลภายนอกเข้ามาประมูลงานหรือร่วมงานกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจได้ว่าการจะเข้ามาร่วมงานกับจำเลยที่ 1 จะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทนทำให้จำเลยที่ 1 เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และอาจทำให้บุคคลภายนอกที่เข้าใจว่าจะต้องเสียเงินเป็นค่าดำเนินการและไม่เข้ามาร่วมงานกับจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของบริษัท ค. อันอาจมีผลกระทบเสียหายถึงผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4), 67
สำหรับค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น แม้ว่าโจทก์จะฟ้องเรียกอ้างว่าเป็นค่าเสียหายแต่ก็เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบซึ่งตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 บัญญัติให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล และตามมาตรา 23 บัญญัติให้เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ดำเนินการให้แก่จำเลยที่ 1 คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้จัดการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจึงมีหน้าที่จ่ายเงินให้ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4386/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิในที่ดินเกิดจากการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี แม้บ้านของโจทก์จะอยู่นอกเขตที่ดินพิพาทด้านทิศตะวันออกซึ่งจดแม่น้ำลพบุรีแต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่งอกริมตลิ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
of 91