คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมชัย ตันตยานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227-7228/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: คำสั่งศาลชั้นต้นไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และมีเหตุสมควรขยายระยะเวลาได้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จำเลยที่ 4 ย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7005-7007/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษหลายกรรมต่างกันในคดีความผิดทางเพศต่อผู้เสียหายหลายราย ศาลสามารถนับโทษรวมกันเกิน 50 ปีได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
จำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ฐานข่มขืนกระทำชำเราและฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามต่อผู้เสียหายต่างคนกัน ความผิดฐานดังกล่าวมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้ความผิดบางฐานจำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนในคราวเดียวกันการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ซึ่งคดีที่เกี่ยวพันกันนั้นโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีทั้งสามสำนวนนี้จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนกัน คดีแต่ละสำนวนไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ แม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันและพยานหลักฐานชุดเดียวกันอันเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันอันทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกทุกคดีเกิน 50 ปี ได้ หาอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่ครบถ้วน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา และไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ตรงตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น เมื่อสิทธิเลิกสัญญาเมื่อเกิดขึ้นมีอยู่แล้วย่อมใช้ได้โดยฝ่ายที่มีสิทธิเลิกนั้นแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาจะทำอย่างไร และมีผลขึ้นเมื่อใดต้องไปตามหลักนิติกรรมและการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 149, 150 และมาตรา 168 เมื่อโจทก์เบิกความว่า สิ้นปี 2541 จำเลยก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืน แต่พนักงานของจำเลยอ้างว่าต้องปรึกษาคณะกรรมการก่อนแล้วเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ ซึ่ง ว. เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า หลังครบกำหนดในปี 2541 โจทก์เคยไปขอเงินคืน แต่จำเลยไม่ได้คืนเงินให้โจทก์ แสดงว่าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยได้แสดงเจตนาทวงถามเงินคืนให้จำเลยทราบ จึงถือว่าชอบตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทั้งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จำเลยจะมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว มิพักต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 393 ทั้งไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจถือเอาเงื่อนเวลาการส่งมอบห้องชุดเป็นสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยในคดีขับรถเสพยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ยกคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยซึ่งเป็นการปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 กับให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งปัญหาดังงกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็ยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนยาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าคำรับสารภาพจำเลยเป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีพืชกระท่อมอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 บรรจุกระสอบพลาสติก 3 กระสอบ และกระเป๋าหิ้ว 1 ใบ น้ำหนัก 38.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบรรยายฟ้องในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยกับพวกได้พร้อมยึดพืชกระท่อมและรถยนต์กระบะซึ่งเป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิดบรรทุกขนพืชกระท่อมเป็นของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่ได้โต้เถียงว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้นั้นจำเลยมิได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางมิใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกน้ำหนักเกินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจไม่ริบได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและสั่งริบรถยนต์บรรทุกของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย รถยนต์บรรทุกของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ก็ฟังได้แล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ทั้งการสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าเห็นควรไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลางเท่ากับเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีอาญา การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลม 1 เล่ม และไม้ปลายแหลม 1 อัน เป็นอาวุธแทงผู้เสียหาย 2 ครั้ง ถูกบริเวณหน้าแข้งซ้ายส่วนล่าง บาดแผลกว้าง 3 เซนติเมตร และ 4 เซนติเมตร ลึกตัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นส่วนหน้าขาด เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 297 ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดเจนแล้วว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสอันเป็นความผิดตาม ป.อ. 297 (8) ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายจะเกิดจากไม้ปลายแหลมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และโจทก์ไม่จำต้องระบุอนุมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แม้ฟ้องขอลงโทษตามมาตราอื่น ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่พิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรกด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ศาลก็ปรับบทลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและเป็นการพิพากษาเกินคำขอดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมแปลงเช็คเพื่อเบิกเงิน – ศาลฎีกาวินิจฉัยเจตนาหลักคือการได้เงิน
จำเลยเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายแล้วปลอมเช็คดังกล่าวโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินในเช็คกับปลอมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็ค ได้รับเงินจำนวน 850,000 บาท ไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะได้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้เสียหายเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อบนบัตร ATM แม้ไม่กระทบการเบิกถอนโดยตรง ก็อาจเข้าข่ายความผิดฐานใช้เอกสารปลอมได้
การที่ธนาคารผู้ออกบัตร ATM ทั้งหลายต่างออกแบบให้ด้านหลังของบัตร ATM มีช่องให้เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อไว้นั้น นอกจากจะมีวัตถุประสงค์มีไว้เพื่อระบุตัวเจ้าของบัตรแล้วยังอาจมีวัตถุประสงค์เป็นประการอื่น ๆ ด้วย การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในบัตร ATM ของโจทก์ร่วม แม้ลายมือชื่อปลอมจะมิใช่สาระสำคัญของการใช้บัตร ATM ในการทำรายการเบิกถอนเงินที่ตู้เบิกถอนเงิน ATM ก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ลงลายมือชื่อปลอมที่หลังบัตร ATM ของโจทก์ร่วมก็ถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคารผู้ออกบัตร และได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริง อันเป็นการครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265
of 10