พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถมดินก่อนการโอนกรรมสิทธิ์และการได้รับลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ก็ย่อมจำเป็นต้องถมดินเพื่อปรับระดับพื้นให้สูงพ้นจากน้ำท่วม อันเป็นการกระทำเพื่อครอบครองใช้สอยที่ดินพิพาทของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้ว่าขณะนั้นโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่า จำเลยกำลังร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทกับได้ฟ้องร้องต่อโจทก์ทั้งสอง แต่ก็ยังมิได้มีผลแพ้ชนะกันออกมา ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองถมดินในที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่ดินของตน จึงไม่อาจฟังได้ว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาในราคาเดียวกับราคาที่โจทก์ทั้งสองซื้อมา จำเลยจึงได้ดินถมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถมดิน และได้มูลค่าที่ดินพิพาทเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อเทียบกับราคาที่ดินพิพาทที่ยังไม่ได้ถม ดินถมดังกล่าวและมูลค่าที่ดินพิพาทที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือว่าเป็นการเพิ่มพูนกองทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สิ่งใดที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงต้องชดใช้ราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองถมที่ดินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาทั้งเครื่องหมาย, เสียงเรียกขาน, และประเภทสินค้า เพื่อป้องกันความสับสนแก่ผู้บริโภค
ในการพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าว่าคล้ายกันหรือไม่นี้ จะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมาย มิได้พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังต้องพิจารณาในส่วนของเสียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนด้วยเพราะต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้นๆ เป็นสำคัญว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้าหรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
สำหรับคดีนี้ หากกลุ่มผู้บริโภคไม่ได้พิจารณาเครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำเครื่องหมายการค้านั้นมาพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าในการเลือกสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของเครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว อาจเกิดความสับสนในการเลือกสินค้าหรือแยกแยะเจ้าของสินค้าได้ ถือว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สำหรับคดีนี้ หากกลุ่มผู้บริโภคไม่ได้พิจารณาเครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำเครื่องหมายการค้านั้นมาพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าในการเลือกสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของเครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว อาจเกิดความสับสนในการเลือกสินค้าหรือแยกแยะเจ้าของสินค้าได้ ถือว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณารูปแบบรวมและการสื่อถึงแหล่งที่มา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยรูปลักษณะและมีการใช้จนเป็นที่แพร่หลายทั่วไปแล้ว จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ด้วย แต่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยโดยแยกพิจารณาตัวอักษรโรมันกับรูปทรงกลมทึบออกจากกัน และวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ทั้งไม่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้หรือไม่ เท่ากับว่าโจทก์ได้โต้แย้งแล้วว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นที่สุด และโจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
โดยหลักทั่วไปเครื่องหมายการค้าจะต้องมีหน้าที่สำคัญ เช่น บอกแหล่งที่มาของสินค้า บอกความแตกต่างของสินค้า และประกันคุณภาพสินค้า เป็นต้น หลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การพิจารณาให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บุคคลใดในลักษณะของเครื่องหมายการค้าเช่นนี้จะต้องไม่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางบุคคลอื่นในการใช้อักษร ภาพ หรือสิ่งสามัญใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่สังคมสามารถใช้ประโยชน์เป็นเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน หลักการดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลในการไม่ยอมรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันเป็นข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 และมาตรา 7
โดยหลักทั่วไปเครื่องหมายการค้าจะต้องมีหน้าที่สำคัญ เช่น บอกแหล่งที่มาของสินค้า บอกความแตกต่างของสินค้า และประกันคุณภาพสินค้า เป็นต้น หลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การพิจารณาให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บุคคลใดในลักษณะของเครื่องหมายการค้าเช่นนี้จะต้องไม่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางบุคคลอื่นในการใช้อักษร ภาพ หรือสิ่งสามัญใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่สังคมสามารถใช้ประโยชน์เป็นเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน หลักการดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลในการไม่ยอมรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันเป็นข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 และมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายบริการ "SOUTH AFRICAN AIRWAYS" ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นคำทั่วไปเกี่ยวกับบริการขนส่งทางอากาศ
เครื่องหมายบริการของโจทก์ประกอบด้วยคำ 2 คำ หรือ SOUTH AFRICAN กับ AIRWAYS ซึ่งคำแรกนั้น แม้จะไม่ใช่ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยตรง แต่ก็เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับประเทศแอฟริกาใต้ จึงเป็นคำสามัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศแอฟริกาใต้ ส่วนคำว่า AIRWAYS นั้น ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง เส้นทางการบิน แต่ความหมายอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอีกประการหนึ่งนั้น หมายถึง สายการบิน คำว่า AIRWAYS ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรง ดังนี้ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ นอกจากนี้คำว่า AIRWAYS ย่อมสื่อให้เห็นถึงการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศรวมถึงการให้บริการติดตั้ง ดูแลและซ่อมบำรุงอากาศยานด้วย และยังรวมถึงบริการอื่นๆ ในรายการบริการจำพวกที่ 37 และ 39 ซึ่งเป็นบริการปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องกับบริการหลักของโจทก์ แม้จะแยกพิจารณาเป็นรายรายการ เครื่องหมายบริการของโจทก์ก็ยังคงเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรงเช่นเดิม
แม้เครื่องหมายบริการของโจทก์จะมีความหมายเกี่ยวข้องโดยตรงกับเจ้าของเครื่องหมายที่เป็น "สายการบินแห่งประเทศแอฟริกาใต้" แต่เครื่องหมายบริการของโจทก์ก็มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศอันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติการบริการของโจทก์โดยตรง อีกทั้ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการด้วยเหตุผลว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นการใช้ชื่อที่เป็นธรรมเนียมปกติทางการค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นรัฐ ถือหุ้นโดยรัฐหรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐนั้นๆ ให้ใช้ชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด ในทางกลับกันกฎหมายไม่ประสงค์ที่จะให้นำคำหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับรัฐต่างประเทศเช่นนั้นไปใช้ในการจดทะเบียน อนึ่งการที่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหลายประเทศรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้นๆ ในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายต่าง ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แต่อย่างใด กรณีจึงเป็นอันรับฟังได้ว่า เครื่องหมายบริการคำว่า "SOUTH AFRICAN AIRWAYS" ของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
แม้เครื่องหมายบริการของโจทก์จะมีความหมายเกี่ยวข้องโดยตรงกับเจ้าของเครื่องหมายที่เป็น "สายการบินแห่งประเทศแอฟริกาใต้" แต่เครื่องหมายบริการของโจทก์ก็มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศอันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติการบริการของโจทก์โดยตรง อีกทั้ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการด้วยเหตุผลว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นการใช้ชื่อที่เป็นธรรมเนียมปกติทางการค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นรัฐ ถือหุ้นโดยรัฐหรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐนั้นๆ ให้ใช้ชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด ในทางกลับกันกฎหมายไม่ประสงค์ที่จะให้นำคำหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับรัฐต่างประเทศเช่นนั้นไปใช้ในการจดทะเบียน อนึ่งการที่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหลายประเทศรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้นๆ ในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายต่าง ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แต่อย่างใด กรณีจึงเป็นอันรับฟังได้ว่า เครื่องหมายบริการคำว่า "SOUTH AFRICAN AIRWAYS" ของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการกู้ยืม: สัญญาขายฝากที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ และมีลักษณะของการกู้ยืมเงิน
ค. กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน 3,500,000 บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าจำนวน 300,000 บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์ หากไม่กีดขวางทางเข้าออก
บันทึกข้อตกลงทางภาระจำยอมเรื่องทางเดินและทางรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้ปักเสาไฟฟ้าลงบนที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอม แต่ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงและเจริญมากขึ้น การใช้ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการย่อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชาชนทั่วไป การที่จำเลยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมเพื่อนำไปใช้ในที่ดินของจำเลยโดยปักเสาไฟฟ้าอยู่ตามแนวยาวของทางภาระจำยอมด้านข้างไม่เป็นการกีดขวางทางเข้าออกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์ทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้หลังถูกฟ้องร้อง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่เมื่อร้องทุกข์แล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท มาด้วย ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้ จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวและมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท ด้วย เท่ากับว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างบริหารจัดการ: การขยายสัญญาต้องมีเจตนาตรงกันของทั้งสองฝ่าย มิใช่สิทธิโดยอัตโนมัติ
จำเลยทำสัญญาการจัดการว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการและบริหารกิจการโรงแรมของจำเลย สัญญาการจัดการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2538 ครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548 โจทก์มีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะขยายระยะเวลาการบริหารโรงแรมไปอีก 10 ปี จำเลยปฏิเสธการขยายระยะเวลาโดยอ้างว่าผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่ได้ตกลงไว้ ข้อสัญญาดังกล่าวทั้งหมดหาได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องยินยอมให้โจทก์ต่ออายุสัญญาการจัดการทันทีไม่ เพราะไม่มีข้อความใดที่ชัดเจนพอที่จะแสดงได้ว่าการขยายอายุสัญญาหรือไม่ขึ้นอยู่กับการแสดงเจตนาหรือความประสงค์ของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เป็นการยากที่คู่สัญญาจะเขียนสัญญาให้ชัดเจนเช่นนั้น หรืออาจจะเขียนไปในสัญญาเสียเลยก็ได้ว่าให้สัญญานี้มีอายุ 20 ปี แต่ให้สิทธิโจทก์บอกกล่าวให้สัญญาสิ้นสุดลงได้เมื่อสัญญาครบ 10 ปี ดังนั้น การแปลความว่าจำเลยจำต้องยอมให้โจทก์ต่ออายุสัญญาออกไปตามที่โจทก์แจ้งความประสงค์ต่อจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิใช้ดุลพินิจพิจารณาความน่าพึงพอใจของโจทก์ในการบริหารงานหรือพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันในระยะเวลาที่ผ่านมาเสียก่อน จึงน่าจะไม่สอดคล้องกับลักษณะของสัญญาจ้างบริหารจัดการที่ต้องอาศัยความพึงพอใจและการไว้วางใจต่อกันเป็นส่วนสำคัญในการตกลงทำสัญญาด้วย อีกทั้งเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่ข้อสัญญาดังกล่าวตอนต้นมีข้อความว่า "Subject to mutual agreement" ซึ่งหมายความว่า ข้อสัญญาข้อนี้อยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ก็ย่อมแสดงความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าหากมีการต่ออายุสัญญาออกไป คู่สัญญายึดถือเจตนาที่ต้องตรงกันของทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญมากกว่าลำพังเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนข้อบังคับของบริษัทจำเลยและสัญญาผู้ถือหุ้นก็เป็นข้อกำหนดในการบริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลย โดยกำหนดประเภทและจำนวนกรรมการที่จะมีอำนาจดำเนินการให้มีผลผูกพันบริษัทจำเลยในกิจการแต่ละเรื่อง มิได้มีข้อความหรือความหมายเป็นข้อผูกพันจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าจำเลยจะต้องว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้บริหารจัดการโรงแรมของจำเลยต่อไปอีก ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้สัญญาการจัดการขยายออกอีก 10 ปี ตามที่โจทก์แจ้งความประสงค์ฝ่ายเดียว การขยายอายุสัญญาการจัดการจึงไม่เกิดขึ้น
การที่โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนตามสัญญาการจัดการและได้แนบสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาท้ายฟ้อง รวมทั้งอ้างเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หมายเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ในส่วนของคำแปลโจทก์จัดให้มีการรับรองว่าแปลถูกต้องกับสัญญาการจัดการ สัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลจึงเป็นพยานหลักฐานที่เข้าสู่สำนวนความโดยชอบ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับได้ ส่วนบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46 หรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 23 ไม่ได้มีความหมายว่า หากในคดีนั้นคู่ความอ้างเอกสารภาษาต่างประเทศมาพร้อมกับคำแปลแล้ว ศาลต้องรับฟังแต่คำแปลเท่านั้น
การที่โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนตามสัญญาการจัดการและได้แนบสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาท้ายฟ้อง รวมทั้งอ้างเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หมายเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ในส่วนของคำแปลโจทก์จัดให้มีการรับรองว่าแปลถูกต้องกับสัญญาการจัดการ สัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลจึงเป็นพยานหลักฐานที่เข้าสู่สำนวนความโดยชอบ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับได้ ส่วนบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46 หรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 23 ไม่ได้มีความหมายว่า หากในคดีนั้นคู่ความอ้างเอกสารภาษาต่างประเทศมาพร้อมกับคำแปลแล้ว ศาลต้องรับฟังแต่คำแปลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาการจัดการและข้อกำหนดการขยายสัญญา รวมถึงข้อผูกพันตามข้อบังคับบริษัทและสัญญาผู้ถือหุ้น
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนตามสัญญาและได้แนบสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาท้ายฟ้อง ทั้งตามบัญชีระบุพยานของโจทก์ก็อ้างเอกสารดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับไว้ และเมื่อโจทก์นำสืบก็อ้างเอกสารดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หมายเอกสารไว้แล้วในส่วนของคำแปลโจทก์จัดให้มีการรับรองว่าแปลถูกต้องตรงกับสัญญา ดังนั้นสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลจึงเป็นพยานหลักฐานที่เข้าสู่สำนวนความโดยชอบ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับได้ บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46 หรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 23 ไม่ได้มีความหมายว่า หากในคดีนั้นคู่ความอ้างเอกสารภาษาต่างประเทศมาพร้อมกับคำแปลแล้ว ศาลต้องรับฟังแต่คำแปลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของลูกหนี้ร่วมทางละเมิดและการรับประกันภัยรถยนต์ โดยจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์
แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันและไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวเช่นกัน