พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาเช่า, การคิดค่าเสียหาย, และการหักเงินชำระหลังฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายตามสัญญาเช่ารถ
สัญญาเช่ารถยนต์บรรทุก 10 ล้อ ข้อ 11.3 และรายละเอียดการเช่าทรัพย์สินกำหนดค่าปรับในกรณีผิดนัดชำระค่าเช่า 123 บาทต่อวัน การที่โจทก์บรรยายฟ้องขอค่าปรับส่วนนี้ตั้งแต่วันผิดนัดชำระค่าเช่าแต่ละงวดถึงวันฟ้องนั้น คำขอของโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะโจทก์สามารถเรียกค่าปรับได้ถึงวันเลิกสัญญาเท่านั้น เนื่องจากเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วไม่มีค่าเช่าที่จะชำระให้แก่โจทก์อีก มีแต่ค่าเสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า: การแบ่งทรัพย์สินตามข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ามีผลเหนือกรรมสิทธิ์รวมที่ปรากฏในโฉนด
แม้ที่พิพาทมีชื่อของจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทให้เป็นของผู้ร้องตามข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2513 ผู้ร้องได้ครอบครองตลอดมา โดยจำเลยที่ 2 ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่พิพาทเลย การที่จำเลยที่ 2 นำที่พิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินซึ่งได้มาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 ยอมแบ่งที่พิพาทให้เป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียวแล้ว เห็นได้ชัดว่า การขอออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทของจำเลยที่ 2 มิได้กระทำไปในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอยู่ด้วยแล้ว พยานหลักฐานของผู้ร้องมีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานที่ว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นยันแก่โจทก์เจ้าหนี้สามัญตามคำพิพากษาผู้นำยึดได้ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาท ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้ปล่อยที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครอง vs. สิทธิที่ได้จากการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การคุ้มครองบุคคลภายนอก
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะอ้างสิทธิที่จะเกิดจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีหลังคดีถึงที่สุด กรณีจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุด เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มายื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีนี้ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด – ผลกระทบต่อการยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) ย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 147 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด - การนับระยะเวลาคดีถึงที่สุดเมื่อจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีจึงย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นจุดเริ่มต้น และเหตุสุดวิสัยอาจขยายเวลาได้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2539 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 153,234.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนี้จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แต่คู่ความยังมีสิทธิฎีกาในข้อกฎหมาย หรือขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสี่ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคำพิพากษาจึงถึงที่สุดในวันที่ 18 ตุลาคม 2539 ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ซึ่งจะครบกำหนดสิบปีในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ผู้ร้องยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ยังอยู่ภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอของผู้ร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและการร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสินระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2539 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 153,234.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนี้จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แต่คู่ความยังมีสิทธิฎีกาในข้อกฎหมาย หรือขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสี่ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคำพิพากษาจึงถึงที่สุดในวันที่ 18 ตุลาคม 2539 ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ซึ่งจะครบกำหนดสิบปีในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ผู้ร้องยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ยังอยู่ภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอของผู้ร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและการร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสินระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อที่ถูกบังคับคดี: การปล่อยละเลยสิทธิทำให้สิทธิขาดเสีย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก่อนเอารถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปเช่นนี้ สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังกล่าวย่อมหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อหลังถูกยึดบังคับคดี - การสูญเสียสิทธิจากการไม่ใช้สิทธิยื่นคำร้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องผู้ให้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าซื้อเลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ก่อนเอารถยนต์ออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องได้ปล่อยให้ขายทอดตลาดไป สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ย่อมเป็นอันหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ใช่ทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภาคใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อถูกบังคับคดี: การปล่อยให้ยึดทรัพย์ทำให้สิทธิเหนือเงินจากการขายทอดตลาดหมดไป
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินของตนตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เอารถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องได้ปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปเช่นนี้ สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังกล่าวย่อมเป็นอันหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้