คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 318

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารและพรากผู้เยาว์ โดยพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการปรับบทความผิด
การร้องทุกข์มิใช่เป็นการทำนิติกรรม โจทก์ร่วมที่ 1 จึงกระทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม การปรับวรรคความผิดเป็นหน้าที่ของศาล โจทก์จึงไม่จำต้องระบุวรรคความผิดไว้ท้ายคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 318 วรรคสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเรา, พรากผู้เยาว์, และการล่วงละเมิดอำนาจปกครองเด็ก การใช้ขนมล่อลวงเป็นกลอุบาย
จำเลยเรียกผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุ 14 ปีเศษ ให้เข้าไปเอาขนมในบ้าน จึงเป็นการกระทำโดยใช้ขนมมาล่อผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้าน ถือเป็นกลอุบายส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายมากระทำชำเรา และเมื่อผู้เสียหายเข้าไปแล้วจำเลยก็ได้ปิดประตู จึงนับได้ว่าเป็นการพาไปโดยแยกอำนาจปกครองจากบิดามารดา และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ป่าละเมาะข้างทุ่งนา และพาผู้เสียหายจากบริเวณแท็งก์น้ำเข้าไปกระทำอนาจารในซอกแท็งก์น้ำ ล้วนเป็นการพาผู้เสียหายจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสิ้น เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหลายกรรมต่างวาระ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 บิดาและ ศ. มารดาในฐานะผู้ดูแลและผู้มีอำนาจปกครอง จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์มีอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา 5 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากัน แม้จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 รายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลามิได้กระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: องค์ประกอบความผิด พรากผู้เยาว์, พาไปอนาจาร, ข่มขู่, และการบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรพราก น. ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจาก ว. ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย กับจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยพูดข่มขู่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายที่ 2 สวมใส่ชุดนักเรียนแต่หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติ ว่าหากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมไปกับจำเลย จำเลยจะนำเรื่องที่ผู้เสียหายที่ 2 หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติดังกล่าวไปแจ้งให้ทางโรงเรียนที่ผู้เสียหายที่ 2 ศึกษาอยู่และผู้ปกครองผู้เสียหายที่ 2 ทราบ เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 ถูกลงโทษหรือว่ากล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 เกิดความกลัวตามคำข่มขู่ของจำเลยดังกล่าว และยอมไปกับจำเลย อันเป็นการขู่เข็ญหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม และจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการจับแขนและดึงตัวผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปสวมกอดเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 2 ขัดขืน แล้วจำเลยได้หอมที่บริเวณหน้าผากของผู้เสียหายที่ 2 โดยจำเลยมีเจตนาล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 หรือพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารอย่างไร และไม่ได้บรรยายถ้อยคำตาม ป.อ. มาตรา 284 ว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็พอเข้าใจได้แล้วว่า จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย พาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมและพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดแล้ว ทั้งการบรรยายฟ้องก็หาจำต้องเคร่งครัดถึงกับต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ, 284, 318 แล้ว นอกจากนี้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ และมาตรา 284 ในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเพียงกรรมเดียว โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดนั้นว่าเป็นหลายกรรมต่างกัน ทั้ง ป.อ. มาตรา 90 มิใช่กฎหมายซึ่งอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวในคำขอท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผู้อื่นพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้ถูกใช้ไม่รู้เจตนา ผู้ใช้เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม
การกระทำที่จำเลยกับพวกใช้ให้ ภ. ขับรถจักรยานยนต์ไปรับผู้เสียหายที่ 1 มาที่วัดสะแก พาไปที่บ้านเกิดเหตุ แล้วจำเลยกับพวกร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ 1 นั้น เมื่อตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภ. สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยและพวกหรือรู้มาก่อนว่าจำเลยกับพวกใช้ให้พาผู้เสียหายที่ 1 มาเพื่อการอนาจาร พฤติการณ์แห่งคดีฟังไม่ได้ว่า ภ. มีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร หรือมีเจตนาร่วมกับจำเลยและพวกกระทำความผิดดังกล่าว การที่จำเลยกับพวกใช้ให้ ภ. ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านเกิดเหตุเพื่อการอนาจารจึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ ภ. ซึ่งเป็นผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยกับพวกใช้ ภ. เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: ฟ้องชอบแม้ไม่ได้ระบุเจตนาผู้เยาว์
การพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ไม่ได้บรรยายว่าผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์ยินยอม ศาลลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ได้ตามกฎหมาย
จำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปจาก น. มารดาเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ซึ่งโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง แต่การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ไม่ว่าผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 318 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 319 วรรคแรก ซึ่งมีโทษเบากว่า มิใช่เรื่องเป็นข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปจากมารดาเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13041/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์ต้องพิสูจน์การอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา หากผู้เยาว์เต็มใจออกจากบ้านและขาดการติดต่อ การกระทำจึงไม่เป็นความผิด
ขณะที่จำเลยชักชวนนางสาว ว. ไปพักอาศัยที่บ้านพักครูประจำโรงเรียน ผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาไม่ยินยอม แต่นางสาว ว. ไม่เชื่อฟังเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าและจำเลยมารับไป หลังจากนั้นหลายเดือน นางสาว ว. ไม่ได้กลับมาบ้านและไม่ได้ส่งข่าวมาที่บ้านเลย ผู้เสียหายจึงไม่ทราบว่านางสาว ว. อยู่ที่ใด แสดงว่านางสาว ว. เต็มใจออกจากบ้านผู้เสียหายไปพักอาศัยอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนวันเกิดเหตุตามฟ้อง และบิดามารดามิได้ใส่ใจติดตาม นางสาว ว. จึงไม่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาแล้ว การที่จำเลยหลอกพานางสาว ว. ไปกระทำชำเราในเวลาต่อมา จึงไม่เป็นการพรากนางสาว ว. ไปเสียจากบิดามารดา ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 318

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืน กระทำชำเรา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์จากผู้ปกครอง และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
ตาม ป.อ. มาตรา 318 คำว่า ผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวพันกับผู้เยาว์ เช่น บิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุม ระวังรักษาผู้เยาว์โดยข้อเท็จจริง เช่น ครูอาจารย์ นายจ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นนายจ้างประกอบกับผู้เสียหายทั้งสองเบิกความได้ความว่า บิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มอบให้ผู้เสียหายที่ 1 ปกครองดูแลผู้เสียหายที่ 2 ด้วย โดยผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ที่ร้านอาหารดังกล่าว ดังนี้ผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 ในฐานะนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปจากความดูแลของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76
of 11