พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน กรณีตัวการ ตัวแทน และการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว
โจทก์เป็นคนสัญชาติเบลเยี่ยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รู้จักกับ ธ. พี่สาวของจำเลยและได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก น. เงินที่ซื้อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ธ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและจำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เป็นการทำแทนโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์เป็นตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางและการคืนของกลางแก่เจ้าของ เมื่อคดีถึงที่สุดและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
โจทก์มีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยยกคำขอของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องการริบของกลางย่อมยุติต้องคืนของกลางแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ 225 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีคำสั่งแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องชิงทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนสั้นชิงทรัพย์สร้อยคอทองคำราคา 7,000 บาท พระเครื่องเลี่ยมทองคำราคา 1,800 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 4,000 บาท กระเป๋าสตางค์ราคา 1,300 บาท ภายในบรรจุบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ บัตรเอทีเอ็ม ธนบัตร 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 18,100 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อาวุธปืนยิงให้ตายหากขัดขืน เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และให้พ้นจากการจับกุม อันเป็นการกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวอยู่ที่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ซึ่งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของไปโดยทุจริต เช่นนี้ฟ้องของโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว โดยไม่จำต้องระบุชื่อผู้เสียหาย มิฉะนั้นหากไม่ทราบชื่อของผู้เสียหายก็จะทำให้ไม่มีทางที่จะฟ้องคดีในความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ได้ซึ่งไม่ใช่เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ ต้องครอบครองสงบเปิดเผย ต่อเนื่อง 10 ปี นับจากโฉนดออก
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่ ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทปี 2529 ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านอย่างใด ต่อมาปี 2533 ผู้ร้องเข้าไปตักดินในที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านห้ามแล้วไม่หยุด ผู้คัดค้านจึงนำโฉนดที่ดินไปแจ้งความที่สถานีตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและแสดงออกว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2533 เมื่อนับระยะเวลาจนถึงผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13118/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ตกลงโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องได้ชำระมูลค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน และมีการชำระบัญชีหนี้สินระหว่างกันเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งยังกำหนดให้โจทก์ดำเนินคดีและบังคับคดีกับลูกหนี้เช่าซื้อต่อไปในนามของผู้ร้อง และเมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้ร้องทั้งหมด แสดงว่าผู้ร้องแต่ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้และรับชำระหนี้เช่าซื้อ ดังนั้น บันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และโจทก์สามารถโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องได้ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 27 โจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 การโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ให้แก่ผู้ร้องตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิเข้าสวมสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองแทนโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10392/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงานตามคำสั่ง แม้หลังเลิกงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกไม้ยางให้แก่จำเลยที่ 2 หลังเลิกงานจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ลูกจ้างนำรถไปเก็บไว้เอง เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษารถและนำรถกลับมาบรรทุกไม้ยางให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องไปส่งลูกจ้าง การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปในเวลากลางคืนในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลาหลังเลิกงานด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และเพื่อนำไปเก็บไว้ยังที่พักของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เพื่อประโยชน์ของนายจ้างเองที่จะนำรถกลับมาใช้งานให้จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายและบุตรระหว่างขับรถกลับบ้าน ถือว่าเป็นการขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดและความผูกพันตามสัญญา: โจทก์ต้องรับผิดต่อการบอกเลิกสัญญาโดยตัวแทน
ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ โดย ส. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์อยู่ด้วย ทั้งยังมีหน้าที่ขับรถยนต์คันหนึ่งและเป็นผู้ประสานงานตามสัญญาว่าจ้างเหมารถรับส่งพนักงานระหว่างโจทก์กับจำเลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ซึ่งบัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น การที่ ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งเลิกสัญญากับจำเลยย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเพราะโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่ได้ความว่าตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญา ก็ไม่ถือเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกคำให้การ
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเพราะโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่ได้ความว่าตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญา ก็ไม่ถือเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การผูกพันตัวการจากลายมือชื่อในหนังสือบอกเลิกสัญญา
ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ ส. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดอยู่ด้วย ทั้ง ส. ยังมีหน้าที่ขับรถยนต์คันหนึ่งและเป็นผู้ประสานงานตามสัญญาจ้างเหมารถรับส่งพนักงานของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ดังนั้น การที่ ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งเลิกสัญญาต่อจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่คดีได้ความว่า ตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญาก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกประเด็นนอกคำให้การ เพราะเป็นการนำสืบให้ทราบถึงความจริงว่าเป็นอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ การบรรยายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นทั้งฉบับซึ่งหนังสือขอความอนุเคราะห์จัดซื้อหนังสือ "ศิลป์แผ่นดิน" 1 ฉบับ และใบเสร็จรับเงิน 1 ฉบับ อันเป็นเอกสารและเอกสารสิทธิของมูลนิธิ ส. ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือขอความอนุเคราะห์จัดซื้อหนังสือ "ศิลป์แผ่นดิน" 1 ฉบับ ไปถึง อ. กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ป. เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้จัดซื้อไว้เป็นที่ระลึกเพื่อหารายได้เป็นทุนให้มูลนิธิ ส. โดยพิมพ์ตราสัญลักษณ์ปลอมของมูลนิธิ ส. และลงลายมือชื่อปลอมของ จ. เหรัญญิกมูลนิธิ ส. ลงในหนังสือขอความอนุเคราะห์จัดซื้อหนังสือ และพิมพ์ตราสัญลักษณ์ปลอมของมูลนิธิ ส. ลงในแบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดข้อความต่างๆ คล้ายคลึงกับใบเสร็จรับเงินของมูลนิธิ ส. ที่แท้จริง ซึ่งความจริงมูลนิธิ ส. มิได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ถึง อ. และมิได้ออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้ อ. หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่พบเห็นหลงเชื่อว่าหนังสือขอความอนุเคราะห์จัดซื้อหนังสือและใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารและเอกสารสิทธิที่แท้จริงของมูลนิธิ ส. เป็นผู้จัดทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่มูลนิธิ ส. กับ จ. และประชาชนทั่วไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายแล้วว่ามีการปลอมเอกสารและเอกสารสิทธิอย่างไร และใครเป็นผู้ปลอม เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารเปลี่ยนเช็คขีดคร่อมเป็นตั๋วแลกเงิน ละเมิดต่อผู้รับเช็ค เจ้าของเช็คมีส่วนผิด
เช็คขีดคร่อมและห้ามแปลี่ยนมือที่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก จะเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นได้ก็แต่เฉพาะเข้าบัญชีบัญชีของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตา 994 การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 ผู้รับเช็คต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์นำเช็คดังกล่าวมาขอเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากพนักงานของจำเลยที่ 1 โดยแจ้งว่า การนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าเนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการเรียกเก็บเงินตามเช็คประมาณ 2 สัปดาห์ และพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามที่จำเลยที่ 2 ขอ โดยเปลี่ยนเช็คดังกล่าวเป็นตั๋วแลกเงินจึงเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายและเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 สามารถนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปหมุนเวียนชำระค่าสินค้าของลูกค้ารายอื่นของโจทก์ แม้มีการนำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์แล้ว แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของงวดเดือนใด ทั้งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าสินค้าในงวดที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. ชำระค่าสินค้าได้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์เป็นผู้นำเสียเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ไปแลกเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากจำเลยที่ 1 และแจ้งต่อพนักงานจำเลยที่ 1 ว่าตนเป็นพนักงานของโจทก์ และแจ้งว่าการนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าจนทำให้พนักงานของจำเลยที่ 1 เชื่อตามที่จำเลยที่ 2 แจ้ง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนที่ทำให้เกิดความเสียหายด้วยเนื่องจากไม่ดูแล ตรวจสอบและควบคุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ให้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินหรือรับชำระด้วยเช็คจากลูกค้า กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ผู้ต้องเสีหายประกอบด้วยตามป.พ.พ. มาตรา 442
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์เป็นผู้นำเสียเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ไปแลกเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากจำเลยที่ 1 และแจ้งต่อพนักงานจำเลยที่ 1 ว่าตนเป็นพนักงานของโจทก์ และแจ้งว่าการนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าจนทำให้พนักงานของจำเลยที่ 1 เชื่อตามที่จำเลยที่ 2 แจ้ง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนที่ทำให้เกิดความเสียหายด้วยเนื่องจากไม่ดูแล ตรวจสอบและควบคุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ให้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินหรือรับชำระด้วยเช็คจากลูกค้า กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ผู้ต้องเสีหายประกอบด้วยตามป.พ.พ. มาตรา 442