พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8489/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างพยานเอกสารในชั้นอุทธรณ์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นตามกฎหมาย
คำเบิกความของพยานในคดีอื่นเป็นพยานเอกสาร หากคู่ความประสงค์จะอ้างเป็นพยานหลักฐานแห่งตนจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามชิงทรัพย์-มีอาวุธปืน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานพยายามชิงทรัพย์ ลดโทษจากสำเร็จเป็นพยายาม และพิจารณาประโยชน์โทษจำเลย
ขณะที่จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองของผู้เสียหายสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองที่อยู่ในมือนั้น จำเลยก็เพียงมุ่งหมายที่จะให้สร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองหลุดจากคอผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นเพียงแย่งการครอบครองเท่านั้น แต่หลังจากสร้อยคอทองคำและกระดูกเลี่ยมทองขาดตกลงที่พื้นแล้ว จำเลยก็ไม่ได้เข้ายึดถือเอาสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองอันจะเห็นได้ว่ามีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปสำเร็จ จึงเป็นพยายามชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินกรณีเดินสายส่งไฟฟ้า พิจารณาจากราคาประเมินและสภาพที่ดิน ณ วันประกาศเขตสำรวจ
วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าคือ วันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งจำเลยได้ประกาศ เรื่อง กำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้า ขนาด 230 กิโลโวลต์ จากโรงไฟฟ้าราชบุรีไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยสมุทรสาคร 2 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 ดังนั้น วันที่จะพิจารณาถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในแนวเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าสายนี้คือ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดิน
การพิจารณาว่าบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาในขณะที่ปลูกโรงเรือน หากขณะปลูกสร้างโรงเรือนไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของบุคคลอื่นก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต แม้ภายหลังจึงทราบว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นก็หาทำให้การกระทำที่สุจริตแต่แรกกลับกลายเป็นไม่สุจริตไปแต่อย่างใด เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 แล้ว จะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทำให้ที่ดินของโจทก์มีค่าเพิ่มขึ้นเพียงใด โจทก์ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ ซึ่งมิได้มีประเด็นในคดีนี้คู่ความจึงมิได้สืบพยานไว้จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโดยให้โจทก์กับจำเลยไปว่ากล่าวกันใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้เป็นสินสมรส การร้องขอเงินจากการขายทอดตลาดไม่กระทบต่อกรรมสิทธิ์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยจะยกเหตุว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. สามีจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่ถูกยึดที่ดินและบ้านพิพาทขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเพื่อร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดมาเป็นข้อต่อสู้เพื่ออยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท โดยเรียกค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท ส่วนจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยมีส่วนกึ่งหนึ่ง ซึ่งจำเลยได้ร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เช่นนี้เท่ากับจำเลยมิได้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท โดยเรียกค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท ส่วนจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยมีส่วนกึ่งหนึ่ง ซึ่งจำเลยได้ร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เช่นนี้เท่ากับจำเลยมิได้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8148/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการจับกุม: การแจ้งสิทธิผู้ถูกจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง และผลกระทบต่อการรับฟังคำรับสารภาพ
เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลยมิใช่ราษฎรเป็นผู้จับจึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง เมื่อบันทึกการจับกุมมีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ และเมื่อบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติเลย ทั้งพยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้แต่อย่างใด แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติ ฉะนั้นถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์สั่งยกเลิกผลการประกวดราคา เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบอ้างว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์โดยสั่งยกเลิกผลการประกวดราคาดังกล่าว เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่แล้วแต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวจึงเท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8042/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ทายาทตกลงกันก่อนเสียชีวิต
เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทายาทของ ส. ตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. ว่าบุคคลใดได้รับยกให้ที่ดินแปลงใดก่อน ส. ถึงแก่ความตายและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นก็ให้ตกเป็นของบุคคลนั้น จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ ส. ถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว กรณีจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยทายาทก่อนเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วอีกไม่ได้ แม้ภายหลังจำเลยไปยื่นขอจัดการมรดกของ ส.ก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทกลับกลายเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท เพราะจำเลยประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลที่มีลักษณะดูหมิ่นผู้พิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ยอมรับสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกที่มีลายมือเขียนของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับพินัยกรรมเป็นการสั่งไปตามอำนาจหน้าที่ การที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้าน ระบุว่าศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งหรือการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแผนขั้นตอนหรือวิธีการโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนรังเกียจโจทก์ไม่พอใจโจทก์ ดังนี้เป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) แม้ต่อมาโจทก์จะยื่นคำแถลงขอถอนคำแถลงคัดค้าน ก็ไม่ทำให้คำแถลงคัดค้านหมดไป