พบผลลัพธ์ทั้งหมด 758 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยมีเจตนาทำร้าย, การกระทำโดยบันดาลโทสะไม่สำเร็จ, การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดร่วม
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปตามถนนทางสาธารณะกับเพื่อนและได้พบกับจำเลยทั้งสามโดยบังเอิญ จำเลยทั้งสามขับรถจักรยานยนต์ไล่ติดตามรถโจทก์ร่วมไปเป็นระยะทางไกลและนานพอสมควร อ้างว่าเพื่อสอบถามโจทก์ร่วมว่าด่าว่าอะไรจำเลยที่ 1 เมื่อถึงที่เกิดเหตุรถไล่ตามกันทัน จำเลยที่ 1 ใช้มีดดาบฟันถูกโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส พฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันไล่ติดตามไปเพื่อทำร้ายโจทก์ร่วมมิใช่เพื่อสอบถาม ส่วนเหตุการณ์ที่โจทก์ร่วมกับพวกร่วมกันทำร้ายจำเลยที่ 1 ก็เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุคดีนี้เป็นเวลานานถึง 1 ปีมาแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าใช้มีดดาบฟันโจทก์ร่วมเพราะเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ไม่ได้ เพราะมิใช่การกระทำความผิดต่อโจทก์ร่วมผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามจะได้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้ายอยู่ตรงกลาง และมีจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายสุดในขณะที่ไล่ติดตามรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นผู้ใช้อาวุธมีดดาบฟันโจทก์ร่วมด้วยตนเองแต่อย่างใด ประกอบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อายุยังน้อย และไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อเห็นแก่อนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 1 จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย และแม้คดีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยุติไปโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์และฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามจะได้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้ายอยู่ตรงกลาง และมีจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายสุดในขณะที่ไล่ติดตามรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นผู้ใช้อาวุธมีดดาบฟันโจทก์ร่วมด้วยตนเองแต่อย่างใด ประกอบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อายุยังน้อย และไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อเห็นแก่อนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 1 จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย และแม้คดีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยุติไปโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์และฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การปรับบทลงโทษ และการรอการลงโทษตามดุลพินิจของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยถือได้ว่าความผิดตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่ความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างทั้งสองย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษและลงโทษสถานเบา แม้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสมได้
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษและลงโทษสถานเบา แม้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้รับประกันภัย: ค่าสินไหมทดแทนสินค้าเสียหาย vs. ค่าตรวจสอบความเสียหาย
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียดนามกับเป็นผู้ว่าจ้างและชำระค่าตรวจสอบความเสียหายให้แก่บริษัทผู้ตรวจสอบความเสียหายโดยตรง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่ที่โจทก์จ่ายแทนผู้เอาประกันภัยไปนั้นเป็นเพราะผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะที่รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโดยตรงเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องในค่าตรวจสอบความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องที่กฎหมายห้าม
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมาย และแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศต่อความเสียหายของสินค้า แม้เกิดในคลังสินค้าของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของตน มิฉะนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายนั้นต่อผู้รับตราส่ง การที่จำเลยที่ 1 ต้องฝากสินค้าที่ขนส่งไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะถูกบังคับโดยกฎหมายศุลกากรเพื่อเสียภาษีศุลกากรและตามกฎหมายการบินระหว่างประเทศ (IATA) เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติเพื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับตราส่งต่อไป สินค้าที่ขนส่งยังไม่พ้นไปจากความดูแลหรือความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ก็ถือได้ว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้น
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การไม่ปฏิบัติตามสัญญา, การยึดหน่วงค่าจ้าง, และการหักค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์มิได้ก่อสร้างห้องใต้ดินและถังน้ำใต้ดินตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามชอบที่จะไม่ชำระสินจ้างในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ได้ แต่ในส่วนอื่นๆ ที่โจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้แล้ว แต่ไม่แล้วเสร็จนั้น ถือว่างานก่อสร้างของโจทก์มีความชำรุดบกพร่องหลายรายการ จำเลยทั้งสามชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ไว้จนกว่าโจทก์จะซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องแล้วเสร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 หากโจทก์ไม่จัดทำจนจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญา จำเลยทั้งสามชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้เท่านั้น หากมีสินจ้างเหลือก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ไป ไม่ชอบที่จำเลยทั้งสามจะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของจำเลยร่วม และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารและข้อตกลงในสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 แถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ ไม่ติดใจต่อสู้ตามคำให้การและทางนำสืบของตน เท่ากับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ทุกประเภทที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์แล้ว ฉะนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 6 อีกต่อไป การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไปวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ถูกต้อง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนวนที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ และตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาแต่อย่างใด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนวนที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ และตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาแต่อย่างใด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662-3663/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมด้วยยาลบหมึกก่อนลงลายมือชื่อและประทับตรา ไม่ถือเป็นการแก้ไขที่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ก่อนที่ ล. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชันจะลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (4) บัญญัติ ล. ได้ดำเนินการให้แก้ไขพินัยกรรมที่พิมพ์ผิดพลาดโดยใช้ยาลบหมึกกลบถ้อยคำแล้วพิมพ์ใหม่เป็นต้นฉบับหรือคู่ฉบับ แก้ไขชื่อจาก "นายสัมพันธ์" เป็น "นายสมพันธ์" เพื่อให้ถูกต้องตามความจริง โดยผู้ทำพินัยกรรม (นายสัมพันธ์) และพยานรู้เห็น จากนั้น ล. จึงลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม จึงไม่จำต้องให้ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และ ล. ลงลายมือชื่อกำกับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นเผยแพร่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป จึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป จึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ต่อสาธารณชนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่การเผยแพร่
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้