คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 90/5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อความผิดของนิติบุคคล: พยานหลักฐานต้องแสดงการสั่งการหรือกระทำความผิดโดยตรง
พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอฟังว่า ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมการผู้จัดการในความผิดของบริษัท และการพิพากษาเกินคำขอ/ขาดส่วนร่วม
ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น" คดีนี้ แม้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 90/5 มาด้วย จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 จึงเป็นการเกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิสูจน์ว่ารู้เห็นการกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับโทษตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 นั้น หากโจทก์สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลรู้เห็นด้วยในการกระทำความผิดของนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับโทษในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว คดีนี้โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9701/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกใบกำกับภาษีเท็จและบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้กระทำผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวด 4 เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น แม้คดีนี้จำเลยที่ 3 จะมีอาชีพค้าขายก๋วยเตี๋ยวมิได้ประกอบกิจการค้าอื่น แต่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้ น. พี่ชายนำสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปจดทะเบียนเป็นห้างจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าว และยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้บ้านพักของตนเป็นสถานประกอบการโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการประกอบกิจการตามที่ได้มีการจดทะเบียนไว้แต่อย่างใด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ถือได้ว่าได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในการออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิจะออกโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/5 ประกอบด้วย มาตรา 90/4 (3) และ (6)
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ร่วมกันออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของหลายบริษัทโดยไม่มีสิทธิออกเนื่องจากไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริง โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ต่างวาระกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเครดิตภาษี: กรรมการมีส่วนร่วมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดอันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีไม่จำต้องอาศัยความในมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลต้องรับโทษฐานนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกภาษี: กรรมการร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคล ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/4 (7), 86/13, 77/1 ป.อ. มาตรา 83 เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน และเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 อันจะต้องรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีจึงไม่ต้องอาศัยความในบทบัญญัติมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล ต้องรับโทษฐานนั้นด้วย