คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: ลักษณะสำคัญคือการจ่ายค่าจ้างรายวัน ไม่ผูกพันผลสำเร็จของงาน
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้นมิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้นแม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างจากลักษณะงานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303-2311/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะราชการส่วนกลางของโรงงานกระดาษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ได้รับการยกเว้นบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงาน จึงอาจต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย
แม้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นราชการส่วนกลางตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515ข้อ 3 และข้อ 5(4) แต่ไม่ปรากฏว่าโรงงานกระดาษเป็นส่วนราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย โรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงมิใช่ราชการส่วนกลางไม่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 บังคับกรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อย่างเดียวกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 อยู่แล้วว่ามูลหนี้ละเมิดระงับหรือไม่ แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
บันทึกที่สถานีตำรวจมีข้อตกลงว่า ฝ่ายจำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้องทั้งสิ้นเป็นเงิน35,268.60 บาท คู่กรณีไม่ติดใจที่จะฟ้องร้องกันในทางแพ่ง อาญา ถ้าหากผิดสัญญาคู่กรณีจะฟ้องกันเองในทางแพ่ง ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองตามมูลหนี้ละเมิดอีกไม่ได้ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคหะแห่งชาติมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 28 กำหนดว่า "ในการดำเนินกิจการของการเคหะแห่งชาติให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน" เป็นหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของรัฐควรต้องคำนึงอยู่แล้ว หาใช่เป็นข้อแสดงวัตถุประสงค์ว่าไม่ประสงค์เพื่อแสวงกำไรอย่างเด็ดขาดไม่ กิจการของการเคหะแห่งชาติจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและการจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยจ้างโจทก์ตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๑๒ เดือน จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ระหว่างนั้น โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ โจทก์เมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยจ้างโจทก์ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12เดือน จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ระหว่างนั้นโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการสาธารณูปโภคย่อมมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร แม้เป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานยังคงเป็นลูกจ้าง
การดำเนินกิจการสาธารณูปโภคนั้น มิใช่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการที่มิได้มุ่งหวังกำไรโดยเด็ดขาดหรือเป็นกิจการที่ให้เปล่า กิจการของการประปานครหลวงอาจมีได้ทั้งกำไรและขาดทุน นอกจากนี้ในด้านรายได้กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ค่าสัมภาระเงินสงเคราะห์ ประโยชน์ตอบแทน โบนัส เงินสำรอง และเงินลงทุนแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น เงินที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐก็คือกำไรจากกิจการของจำเลยนั่นเอง กิจการของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะราชการส่วนกลาง, เกษียณอายุ, การเลิกจ้าง และสิทธิค่าชดเชยของลูกจ้าง
องค์การฟอกหนังของกระทรวงกลาโหม ไม่เป็นราชการส่วนกลางอันไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การที่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นการกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของพนักงานไว้เป็นการทั่วไป ไม่เป็นการผูกพันว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใด จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เมื่อนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างประจำพ้นจากตำแหน่งไปฐานะที่เป็นลูกจ้างประจำก็สิ้นสุดลง แม้นายจ้างจะมีคำสั่งจ้างใหม่อีกในทันทีไว้ในฐานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนก็ไม่ใช่ลูกจ้างประจำอีกต่อไปแล้ว จึงเป็นการเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย
of 59