คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 276

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16001/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นบุคคลที่มีสภาพจิตไม่สมบูรณ์ ผู้เสียหายมีสภาพจิตเหมือนบุคคลทั่วไป และโดยวิสัยของผู้หญิงทั่วไปย่อมต้องรักนวลสงวนตัวไม่ยินยอมให้บุคคลใดร่วมประเวณีได้ง่าย ๆ ผู้เสียหายเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยจึงไม่มีเหตุผลใดที่ผู้เสียหายจะยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบิดาร่วมประเวณีอย่างแน่นอน ขณะเกิดเหตุเมื่อผู้เสียหายรู้สึกตัวว่ามีคนมาทับตัวแล้วเอาวัตถุใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของตน ผู้เสียหายพยายามที่จะผลักออกไป รู้สึกว่าเป็นผู้ชายแต่ไม่กล้าลืมตาขึ้นไปมอง แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้ยินยอม ได้ขัดขืนโดยพยายามผลักออกแล้ว แต่ไม่สามารถขัดขืนได้ ก่อนเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ชายคนเดียวที่นอนในมุ้ง ขณะที่ผู้เสียหายพยายามที่จะผลักออกผู้เสียหายอาจจะรู้ว่าเป็นจำเลยจึงไม่กล้าขัดขืนต่อไปและไม่กล้าบอกบุคคลอื่นทราบก็เป็นได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยมีพฤติการณ์ขึ้นนอนทับตัวผู้เสียหายแล้วเอาอวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายพยายามขัดขืนพยายามที่จะผลักออก แต่จำเลยยังนอนทับและทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นเวลานานประมาณ 20 นาที ถือได้ว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การกระทำของจำเลยจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้เสียหายสำคัญต่อการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชู้
ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้เสียหายสำคัญต่อความผิดฐานข่มขืน/กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ การยินยอมมีผลต่อความผิด
มาตรา 16 ป.พ.พ. บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุตั้งแต่วันเกิด คือนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่าเหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้และแม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 276 เช่นกัน ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือเอง ก็มีผิด
จำเลยที่ 2 เอามือขยำหน้าอกผู้เสียหายในระหว่างที่พวกของจำเลยที่ 2 คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแล้ว มิใช่จำเลยที่ 2 ต้องลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีข่มขืน, ภาวะเสียเปรียบ, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่ปรากฏ
การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546 เป็นการร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ผู้เสียหายทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของจำเลยและถูกจำเลยข่มขู่ว่าหากไม่ยิมยอมให้จำเลยกระทำชำเราจะส่งตัวผู้เสียหายให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ผู้เสียหายอยู่ในภาวะเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้ขัดขืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของตนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืนใจ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลแก้ไขโทษปรับและรอการลงโทษ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม นั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง กับความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้ถูกข่มขืนใจหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น และข่มขืนกระทำชำเรานั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท นอกจากนี้ ศาลล่างทั้งสองมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลัง และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลพิจารณาความผิดและแก้ไขโทษฐานชิงทรัพย์
หลังจากจำเลยปลดสร้อยคอทองคำของโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยลากโจทก์ร่วมไปกลางกระต๊อบเพื่อไม่ให้คนเห็น แล้วจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายโดยชกปากชกท้องโจทก์ร่วมและข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม ความผิดฐานชิงทรัพย์จึงสำเร็จตั้งแต่จำเลยปลดเอาสร้อยคำทองคำของโจทก์ร่วมไปแล้ว เจตนาข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นภายหลังการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว บาดแผลที่ริมฝีปากของโจทก์ร่วมตามผลการชันสูตรบาดแผลเกิดจากการข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้ายไม่ได้เกิดจากการชิงทรัพย์ส่วนที่ข้อมือทั้งสองข้างของโจทก์ร่วมมีรอยแดง ๆ เชื่อว่าเกิดจากจำเลยใช้สายกางเกงของโจทก์ร่วมมัดข้อมือทั้งสองข้างของโจทก์ร่วมไว้ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการลักเอาสร้อยคอทองคำของโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แต่อาการบาดเจ็บเพียงรอยแดง ๆ ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราศิษย์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ 'ศิษย์' และผลกระทบต่อการลงโทษ
ความหมายของคำว่า "ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์ในการสอนกวดวิชา ซึ่งผู้สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ อีกทั้งไม่ได้ความว่าสถาบันกวดวิชาของจำเลยมีระเบียบหรือข้อเคร่งครัดอย่างใด แสดงว่าจำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่การกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 หากแต่เป็นความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวแต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาแล้ว พออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความสัมพันธ์ในฐานะครู-ศิษย์ และการถอนฟ้อง
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย
จำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์สอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ แสดงว่า จำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาโจทก์ร่วมที่ 2 ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 285 หากเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นพออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 จึงหลอกโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าจะพาไปสมัครแข่งขันวาดภาพโดยให้โจทก์ร่วมที่ 2 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับไป แต่จำเลยกลับขับรถจักรยานยนต์พาโจทก์ร่วมที่ 2 เข้าโรงแรมม่านรูดแล้วข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 การกระทำของจำเลยเป็นการพรากโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเนื่อง ข่มขืนฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการพิพากษาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรามิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
of 24