พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งโจทก์และจำเลย การไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ถือเป็นข้อผิดพลาดทางกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่ลดโทษให้จำเลย ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษา ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลดโทษให้จำเลยหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์คงวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ศาลฎีกามีอำนาจให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝาก vs. การกู้ยืมเงิน: สัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีหลักฐานชัดเจน
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก และโจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากซึ่งโจทก์ยังมี ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง แต่จำเลยมีแต่อ้างตนเองเบิกความลอยๆ ว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเพื่อเป็นอำพรางการกู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้ แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน หากไม่สามารถพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์ของเอกสารได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก โจทก์เป็นผู้รับซื้อฝาก โดยนาง ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดหุ้นส่วน เลิกหุ้นส่วน ชำระบัญชี การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์ก่อนชำระบัญชีไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์แบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1012 อันมีลักษณะเป็นหุ้นส่วน เมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่าผลกำไรที่ได้รับจากจำเลยทั้งสองน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทำให้โจทก์ทั้งสองขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดิน โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะต้องจัดการขอให้มีการเลิกหุ้นส่วนเพื่อชำระบัญชีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055 ถึง 1063 ก่อน เมื่อการชำระบัญชีไม่ถูกต้องอย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยยังไม่มีการชำระบัญชีไม่อาจกระทำได้ และโจทก์ทั้งสองยังไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองไม่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เช่นกัน ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่ม เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา โจทก์ทั้งสองชอบที่จะคัดค้านต่อศาลฎีกาได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้อธิบายถึงเหตุขัดข้องไม่อาจแบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่ม เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา โจทก์ทั้งสองชอบที่จะคัดค้านต่อศาลฎีกาได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้อธิบายถึงเหตุขัดข้องไม่อาจแบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน การกระทำที่เข้าข่ายต่อสู้หรือไม่
สิบตำรวจเอก ป. แจ้งข้อหาจำเลยว่า เล่นการพนันจับยี่กีโดยเป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จำเลยปฏิเสธ สิบตำรวจเอก ป. กับพวกรวม 5 คน จะเข้าจับกุม จำเลยไม่ยินยอมโดยสิบตำรวจเอก ป. มีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลยมาก การที่จำเลยเดินหนีออกนอกร้านก๋วยเตี๋ยวจนสิบตำรวจเอก ป. กับพวกต้องใช้กำลังล็อกแขน กดหน้าจำเลยกับพื้นระเบียงเพื่อใส่กุญแจมือจำเลยในลักษณะไขว้หลัง ขณะจำเลยดิ้นรนขัดขืนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัวเพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้กระทำผิด ซึ่งแม้ในการดิ้นรนของจำเลยจะเป็นเหตุให้มือของจำเลยไปโดนหน้าอกของสิบตำรวจ ป. เกิดเป็นรอยถลอกขนาดเล็กก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำสิทธิ/ค้ำประกัน: สัญญาจำนำสิทธิที่มีข้อความระบุความรับผิดทั้งฐานจำนำและฐานค้ำประกัน ทำให้ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบหนี้
แม้สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินจะระบุชื่อว่าเป็นเรื่องจำนำและเรียกคู่สัญญาว่าผู้รับจำนำและผู้จำนำ แต่สาระสำคัญของสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีสาระสำคัญระบุความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระหนี้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี กรณีแรกระบุว่าจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินมาจำนำไว้โดยยอมให้ธนาคาร ม. หักหนี้ของจำเลยที่ 1 จากสมุดคู่ฝากเงินของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ กรณีที่สองระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้ธนาคาร ม. อยู่อีกเท่าใด จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดชำระแก่ธนาคาร ม. จนครบถ้วน และตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันและตกลงรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ได้เป็นหนี้ธนาคาร ม. และยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงมีความชัดเจนโดยธนาคาร ม. มีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดทั้งสองกรณี และจำเลยที่ 2 มีความผูกพันตามสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินเพื่อประกันการชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ม. ทั้งสองกรณีเช่นกัน กล่าวคือ สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำสมุดคู่ฝากเงินของตนและเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หามีข้อสงสัยที่จะตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องกองทุนฟื้นฟูฯ กรณีไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนฯ
จำเลยที่ 3 เป็นกองทุนและมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ และมีอำนาจให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามควรแก่กรณี การที่จำเลยที่ 3 ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 ในการที่จะให้ความช่วยเหลือ มิใช่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในหนี้สิ้นของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดทุกกรณี การที่จำเลยที่ 3 ปฏิเสธไม่ยอมให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วเพราะไม่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครองตามประกาศของจำเลยที่ 3 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และการไม่อุทธรณ์เนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์
จำเลยฎีกาว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยพยายามหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่สามารถจะหาเงินดังกล่าวได้ซึ่งหากศาลไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จะทำให้จำเลยเสียสิทธิในการดำเนินคดี เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่เมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกกรณีตายพร้อมกันจากเหตุภยันตราย บุคคลไม่สมควรรับมรดก สิทธิผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกตลอดจนบุคคลในครอบครัวถูกสามีของเจ้ามรดกใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในเวลาต่อเนื่องกัน ถือเป็นการตายในเหตุภยันตรายร่วมกันและเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง จึงถือว่าทุกคนถึงแก่ความตายพร้อมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 17 ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจึงไม่ตกไปยังบุตรของเจ้ามรดกซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายพร้อมกัน แต่จะตกได้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นน้าของเจ้ามรดก และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่า สามีของเจ้ามรดกเป็นผู้กระทำโดยเจตนาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจดำเนินคดีแก่สามีของเจ้ามรดกได้เนื่องจากสามีเจ้ามรดกฆ่าตัวตายไปก่อน จึงถือได้ว่าสามีของเจ้ามรดกเป็นบุคคลที่ต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับสามีของเจ้ามรดกจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก และเมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: หนังสือมอบอำนาจสิ้นผล ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์
ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ไปจดทะเบียนขายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังมิได้ไปจดทะเบียนขายที่ดิน การขายก็ยังไม่มีขึ้นโดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย หนังสือมอบอำนาจย่อมสิ้นผล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 826 วรรคสอง การที่ ป. นำหนังสือมอบอำนาจที่สิ้นผลแล้วไปดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่มีผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองมรดกของ ส. เพื่อประโยชน์ของทายาทต่อไป