คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทัศนีย์ ธรรมเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9957/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ฎีกาของผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างปัญหาเรื่องการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษของผู้คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้อย่างไรเท่านั้น ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ชอบอย่างไร พร้อมทั้งเหตุซึ่งเป็นข้ออ้างที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าว ฎีกาของผู้คัดค้านจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนกับคดีหลังตามกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นอ่านให้จำเลยฟังตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อ. พ.ศ.2522 มาตรา 13 แล้ว จำเลยไม่คัดค้าน เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานนั้นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ภายในระยะเวลา 2 ปี ในข้อหาความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราจึงเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมความประพฤติดังกล่าว เมื่อภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก ก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ก็ตาม กรณีนี้มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยเสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8272/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติด: การแจ้งข้อหาโดยรวมครอบคลุมความผิดต่อผู้รับหลายรายถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ จ.ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 แต่เมื่อพิจารณาตามคำให้การและคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับและจำหน่ายให้แก่ จ.ไปในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน ดังนี้เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ระบุว่าจำหน่ายให้แก่ผู้ใดให้จำเลยทราบแล้ว ต้องถือว่าก่อนสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่นาย จ. รวมมาด้วย การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยล้มละลายไม่มีอำนาจอุทธรณ์หรือฎีกาคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพราะอำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยย่อมไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยอำนาจดังกล่าวตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในทันทีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ ทั้งจำเลยก็ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาต่อมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือ: ผู้ซื้อทราบถึงหนี้สินของผู้ขายก่อนการจดทะเบียน
การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการรับจดทะเบียนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องที่โจทก์แจ้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคขอให้ระงับการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือก่อนจดทะเบียน ต้องถือว่าขณะทำนิติกรรมจำเลยที่ 2 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงใช้สิทธิขอเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองได้
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของเรือ ตามเดิมโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อีก ศาลจึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาให้บังคับตามคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7357/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการสั่งคืนค่าขึ้นศาล ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แม้มีข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาตามยอมแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่งว่า ค่าขึ้นศาลมีเพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 75,000 บาท ความผิดพลาดจึงเกิดเพราะความผิดหลงในข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งความผิดพลาดในเรื่องการคืนค่าขึ้นศาลให้แก่จำเลยนี้เป็นคนละส่วนกับข้อตกลงในสัญญาประนีประยอมความของคู่ความซึ่งไม่มีข้อผิดพลาดอะไร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็เป็นข้อตกลงระหว่างคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นว่านั้นให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7357/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลที่วางไว้เกินจากที่ศาลสั่งคืนได้ แม้มีข้อตกลงค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ศาลฎีกาสั่งแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาตามยอม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่งว่า ค่าขึ้นศาลมีเพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยวางเงินค่าขึ้นอุทธรณ์เป็นเงิน 75,000 บาท ความผิดพลาดจึงเกิดเพราะความผิดหลงในข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งความผิดพลาดในเรื่องการคืนค่าขึ้นศาลให้แก่จำเลยนี้เป็นคนละส่วนกับข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็เป็นข้อตกลงระหว่างคู่ความในเรื่องความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างกันเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาล เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นเรื่องตามป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นว่านั้นให้ถูกต้องตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 65,000 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเสพยาเสพติดหลายชนิด แม้เสพในวันเดียวกัน หากมีเจตนาแยกต่างหาก ถือเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องแยกความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไว้ต่างหากจากกัน ฟ้องโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อ และความผิดดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคนละมาตรา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่า จำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แม้ความผิดดังกล่าวจะมีบทลงโทษในมาตราเดียวกันและจำเลยเสพฝิ่นและเสพเมทแอมเฟตามีนในวันเวลาเดียวกัน ก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6854/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สัญญากู้: การผ่อนชำระและผลกระทบต่อการเริ่มนับอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินบริษัท ก. โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 144 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 เมษายน 2538 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยอมให้บริษัท ก. เรียกหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้ โดยจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 13 มิถุนายน 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครอง และอำนาจฟ้องเกินกำหนด
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือขายที่ดินท้ายฟ้องนั้นเป็นเท็จ ส. ไม่เคยสละการครอบครองที่ดินพิพาท ไม่เคยขออาศัยหรือเช่าจากโจทก์ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายในปี 2541 จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ดังนี้ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตั้งแต่แรก หากแต่ต่อสู้อ้างสิทธิของ ส. ผู้เป็นมารดาและสิทธิของตนเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์และโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี จึงขัดแย้งกับข้อความตอนแรก เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและโจทก์ฟ้องเอาคืนเกินกำหนดหรือไม่
of 7