พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินเลยคำฟ้องและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาเหตุรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยสารประจำทางมาถึงบริเวณสี่แยกถนนมิตรภาพตัดกับถนนแจ้งสนิท จำเลยควรใช้ความระมัดระวังโดยลดความเร็วของรถลงเพื่อความปลอดภัยและหยุดรถเพื่อให้รถในช่องทางที่ได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวแล่นผ่านไป แต่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วสูงและฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ ถ. ขับผ่านสี่แยกดังกล่าวขณะได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียว แม้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง แต่จำเลยขับรถโดยสารแล่นเข้าไปในสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วโดยมิได้ลดความเร็วลง เป็นการขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อันเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำโดยประมาทตามที่กล่าวไว้ในคำฟ้องแล้ว ศาลชั้นต้นจึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 และ ป.อ. มาตรา 300 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันสัญญาซื้อขาย การต่อเติมอาคารขัดเงื่อนไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาเบื้องต้น การทำสัญญาซื้อขายต่อมาภายหลังก็เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ในสัญญาจะซื้อจะขายให้มีผลสมบูรณ์ เว้นแต่สัญญาซื้อขายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย มีผลผูกพันคู่สัญญาดังเช่นสัญญาซื้อขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์อีกต่อไป
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีคำสั่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยและลงโทษไม่เกิน 5 ปี ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่ให้คืนโทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินสด 440 บาท ของกลางแก่เจ้าของ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โดยในการพิจารณาว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น จะต้องแยกพิจารณาโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดในแต่ละกระทงโดยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้มาประกอบการพิจารณาด้วย ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และขอให้รอการลงโทษในความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่บวกโทษของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษและการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษในคดีอาญา
การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุก 2 เดือนแต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา จึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 และย่อมไม่ได้รับผลแห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ศาลจึงชอบที่จะบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้
จำเลยร่วมกับพวกขับรถจักรยานยนต์ใช้มีดไล่ฟันผู้เสียหายทั้งสองบนท้องถนนต่อหน้าผู้คนที่สัญจรไปมาจำนวนมาก แสดงถึงนิสัยอันธพาลและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของจำเลยและทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลักษณะการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยเคยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นและศาลให้โอกาสจำเลยด้วยการรอการลงโทษมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่จำเลยไม่เข็ดหลาบมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ตลอดจนสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวหลังเกิดเหตุโดยมีความประพฤติไม่เสียหายหรือมีเหตุอื่นก็ไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้จำเลยได้
จำเลยร่วมกับพวกขับรถจักรยานยนต์ใช้มีดไล่ฟันผู้เสียหายทั้งสองบนท้องถนนต่อหน้าผู้คนที่สัญจรไปมาจำนวนมาก แสดงถึงนิสัยอันธพาลและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของจำเลยและทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลักษณะการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยเคยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นและศาลให้โอกาสจำเลยด้วยการรอการลงโทษมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่จำเลยไม่เข็ดหลาบมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ตลอดจนสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวหลังเกิดเหตุโดยมีความประพฤติไม่เสียหายหรือมีเหตุอื่นก็ไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคู่สัญญาก่อสร้างที่จ้างเหมาช่วง โดยอาศัยหลักตัวการตัวแทน แม้จะผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างจากกรมทางหลวง ตามสัญญาจำเลยจะนำไปทำสัญญาจ้างเหมาช่วงไม่ได้ จำเลยผิดสัญญานำไปให้บริษัท บ. รับเหมาช่วง ความรับผิดขั้นสุดท้ายต่อกรมทางหลวงยังอยู่ที่จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรง สัญญาข้อ 9 จำเลยรับว่า ผู้รับจ้างช่วงเป็นตัวแทนของจำเลย บริษัท บ. จึงเป็นตัวแทนจำเลยในการทำงานโดยมีจำเลยเป็นตัวการ เมื่อบริษัท บ. ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการปล้นทรัพย์: การให้ยืมรถจักรยานยนต์และมีดโดยรู้ว่าจะนำไปใช้กระทำผิด
จำเลยที่ 4 และ ธ. เป็นผู้ขอยืมรถจักรยานยนต์และมีดจากจำเลยที่ 3 ที่บ้านจำเลยที่ 3 โดยก่อนขอยืมบุคคลทั้งสองชวนจำเลยที่ 3 ไปปล้นทรัพย์ด้วย จำเลยที่ 3 ปฏิเสธไม่ไป แต่จำเลยที่ 3 ให้บุคคลทั้งสองยืมรถจักรยานยนต์ไปแทน เป็นการให้ยืมโดยรู้ว่าบุคคลทั้งสองจะนำไปใช้ปล้นทรัพย์รายนี้จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนการปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท - แจ้งเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน - ศาลฎีกาแก้โทษ
การกระทำความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามป.อ. มาตรา 137 กับความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนตามพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14(1) และฐานร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามป.อ. มาตรา 267 ที่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จ-ทำบัตรประชาชนปลอม
จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ พ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานว่า อ. ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติลาว สัญชาติลาว คือ ศ ซึ่งเป็นภริยาของจำเลย หลังจากนั้นในวันเดียวกันจำเลยกับพวกร่วมกันแสดงตนต่อ พ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนว่า อ. คือ ศ และบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ทำให้ พ. สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจดข้อความลงในบันทึกการรับแจ้งเอกสารเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนสูญหายหรือถูกทำลายอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานแสดงสถานะของบุคคลหรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลประกอบการพิจารณาอนุญาตทำบัตรประจำตัวประชาชนของพวกของจำเลย แล้วร่วมกันนำบันทึกดังกล่าวเสนอต่อ พ. เพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้พวกของจำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90