พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8494/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิสูจน์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า "เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง" เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง แต่พยานโจทก์คงมี ภ. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าพยานเป็นผู้ตรวจอาคารที่เกิดเหตุ พบว่ามีการก่อสร้างผิดแบบ โดยพยานไม่ได้เบิกความว่าพบเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างด้วยตนเอง และมี ก. เจ้าของอาคารที่ติดอยู่กับบ้านเกิดเหตุเบิกความแต่เพียงว่าเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 69 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11153/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน: ประเด็นฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, อายุความ, และการปรับรายวัน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติความหมายคำว่า อาคาร ว่าให้หมายความรวมถึงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และคำว่า ดัดแปลง ว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการดัดแปลงอาคารตึกแถวจากเดิมซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ดัดแปลงเป็นอาคาร 5 ชั้น โดยทำการก่อสร้างเสาเหล็กขึ้นตามชั้นต่าง ๆ และทำการก่อสร้างพื้น ค.ส.ล. ในชั้นที่ 5 ด้วย อันเป็นการเพิ่มขยายขอบเขต รูปทรง น้ำหนัก ทำให้รูปแบบโครงสร้างของอาคารที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและไม่ได้รับยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมายให้กระทำได้ พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: โครงสร้างชั่วคราวที่บุคคลใช้สอยได้ถือเป็นอาคาร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหารซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาคารไม้ชั่วคราวเข้าข่ายเป็น 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีโครงสร้างถาวร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ดังนั้น การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหาร ฮ. ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็ตาม อาคารไม้ชั่วคราวดังกล่าวก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคารรื้อถอน: จำแนกฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้ว โจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และอำนาจฟ้องของโจทก์
อาคารพาณิชย์ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น สภาพแข็งแรงรวม 9 ห้อง แต่ละห้องปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดแยกออกแต่ละแปลง เนื้อที่แปลงละ 15 5/10 ตารางวา ส่วนอาคารพิพาทเป็นอาคารชั้นเดียว ปลูกอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 130322 เนื้อที่ 15 5/10 ตารางวา เนื้อที่เท่ากับที่ดินปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ สภาพอาคารพิพาทมีเพียงโครงหลังคาเหล็กที่ติดกับผนังอาคารพาณิชย์เท่านั้น ส่วนที่เป็นอาคารพิพาทไม่ได้ก่อประโยชน์แก่อาคารพาณิชย์ ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม หรือลดโครงสร้างอาคารพาณิชย์หรือส่วนอื่น ๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม สภาพอาคารพิพาทเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นแยกต่างหากจากอาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์ของอาคารพิพาทเอง ถือว่าเป็นการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด หาใช่การดัดแปลงอาคารไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัตให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อ พาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง จำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันกรณีดัดแปลงอาคารและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองและมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเองจำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 นอกจากนี้การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย ดังนั้น โทษที่จำเลยกระทำจึงมีระวางโทษปรับรายวันวันละไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และไม่เกิน 120,000 บาท สำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน