พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แม้โจทก์มิได้ขอ และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติของจำเลยที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษจำคุกนั้นถูกล้างไปด้วย
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีเดิมเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีเดิมเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษรวมคดีความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91: ศาลมีอำนาจจำกัดโทษรวมได้หรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 2 วางแผนหรือรู้เห็นในการฉ้อโกงผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายขายผ้าทอมือให้จำเลยทั้งสองเกิดจากการเชื่อถือของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ต้องรับโทษทางอาญาเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยยกเหตุข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเคยถูกตัดสินแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ศาลชั้นต้นฟังพยานโจทก์ว่า จำเลยร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงจริง และพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า ผู้เสียหายมีส่วนร่วมในความผิดที่เกิดขึ้นจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย กับขอให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแต่ประการใด ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่สามารถยืนยันได้ว่าจำเลยร่วมกันกระทำความผิด ผู้เสียหายปรักปรำจำเลย ทำให้มีเหตุสงสัย จึงเชื่อได้ไม่สนิทใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปในศาลชั้นต้นขึ้นมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน จำเลยไม่มีสิทธิริบ
ใบรับเงินมีข้อความว่า "จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน" เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ" ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปรากศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน - เจตนาทำสัญญาเพิ่มเติม
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำ จึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการปล้นทรัพย์: การแบ่งหน้าที่และช่วงเวลาที่สำคัญต่อการลงโทษตามมาตรา 340 วรรคสาม
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสามนั้น กฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลงโทษการกระทำของคนร้ายที่ปล้นทรัพย์ด้วยกันว่าถ้าการปล้นทรัพย์นั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำความผิดทุกคนต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำร้ายหรือรู้ตัวผู้ร้ายหรือไม่ และไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในขณะที่มีการทำร้ายหรือไม่ เช่น มีการแบ่งหน้าที่กันทำโดยมีคนร้ายเฝ้าดูต้นทางแต่พวกที่เข้าไปปล้นทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์ก็มีความผิดร่วมกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการกระทำที่ไม่ขาดตอนกันจึงจะเป็นเหตุลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจำเลยที่ 1 และพวกรวมทั้งหมด 6 คน วางแผนปล้นทรัพย์บ้านหลังนี้มาแต่ต้น วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปจับตัวคนรับใช้ในบ้านผู้เสียหายมัดไว้และได้รื้อค้นเอาทรัพย์สินภายในบ้านแล้วกลับไปก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือรออยู่เพื่อเอาทรัพย์สินจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายกับพวกกลับมาบ้านก็ถูกจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือทำร้ายเพื่อปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อยู่ร่วมเพื่อปล้นทรัพย์ด้วยไม่ปรากฏว่าได้รออยู่นอกบ้านเพื่อดูต้นทางหรือย้อนกลับมาอีก หรือรอฟังผลยังสถานที่นัดหมายกัน ทั้งไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับบ้านที่เกิดเหตุ ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็กลับมาหลังจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับไปแล้วเป็นเวลานานถึง 2-3 ชั่วโมง ไม่ต่อเนื่องกับการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์มาแต่ต้น การจะคาดหมายว่าหากผู้เสียหายกับพวกกลับมาและขัดขืนย่อมมีการใช้กำลังประทุษร้ายย่อมเป็นการคาดหมายที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขปี ชำระหนี้เกินอายุความ ศาลยืนตามเดิม
โจทก์ยอมรับว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อปี 2542 แต่ปรากฏว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขตัวเลขปี พ.ศ.2541 เป็น 2544 โดยแก้ไขเลขสุดท้ายของปีจากเลข 1 เป็นเลข 4 ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดแก้ไข ทั้งผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อาจให้ความเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขและไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทแก้ไขตั้งแต่เมื่อใด การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ เช็คนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยหรือโจทก์ได้ยินยอมให้มีการแก้ไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ประจักษ์ เมื่อเช็คพิพาทตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 1007 วรรคสอง ซึ่งผู้ทรงจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นเสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับใช้เงินตามเช็คนั้นก็ได้เมื่อฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 โจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: การแก้ไขวันที่เช็คและการถือเอาประโยชน์จากเช็คเดิม
จำเลยเป็นผู้ออกเช็ค ปรากฏว่ามีการแก้ไขวันที่ออกเช็คของปีพ.ศ.2544 เป็น พ.ศ.2541 แต่ไม่ได้ความว่าถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อใด อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังจากออกเช็ค คือ ในระหว่างที่เช็คอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ได้ ทั้งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์และเช็คตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคสอง จึงฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโจทก์นำเช็คมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา: พยานบอกเล่า, วิดีโอคำให้การ, เหตุจำเป็นในการรับฟัง
ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย ให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล แต่ทางพิจารณาของโจทก์ได้ความว่า ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 มิถุนายน 2547 โจทก์ได้ขอหมายเรียกพยานปากเด็กหญิง ป. เป็นพยานเบิกความต่อศาลด้วย แต่ไม่ได้ตัวมาศาล โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเพราะเหตุใด ทั้งในรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ได้ระบุรายละเอียดถึงเหตุผลที่พยานปากดังกล่าวไม่มาเบิกความต่อศาลเช่นกัน แม้จะปรากฏในฎีกาของโจทก์ถึงสาเหตุการไม่ได้ตัวมาเบิกความเพราะเกิดความกลัว โดยยืนยันว่าโจทก์ได้แถลงถึงสาเหตุดังกล่าวให้ศาลทราบแล้ว ซึ่งถ้าหากเป็นจริงดังฎีกาของโจทก์แล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ศาลชั้นต้นจะไม่จดรายละเอียดคำแถลงของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ข้ออ้างของโจทก์ดังระบุในฎีกาไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น กรณีที่ไม่ได้ตัวเด็กหญิง ป. มาเบิกความ ไม่ได้เป็นเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาลได้
ส่วนพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ซึ่งมี จ. ที่ทราบเหตุการณ์จากเด็กหญิง ป. และร้อยตำรวจเอก ท. พนักงานสอบสวนผู้สอบปากคำซึ่งต่างเบิกความยืนยันเหตุการณ์ที่ทราบจากเด็กหญิง ป. ประกอบคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กหญิง ป. ตามบันทึกคำให้การ ล้วนเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคหนึ่ง และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังแต่อย่างใด
ส่วนพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ซึ่งมี จ. ที่ทราบเหตุการณ์จากเด็กหญิง ป. และร้อยตำรวจเอก ท. พนักงานสอบสวนผู้สอบปากคำซึ่งต่างเบิกความยืนยันเหตุการณ์ที่ทราบจากเด็กหญิง ป. ประกอบคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กหญิง ป. ตามบันทึกคำให้การ ล้วนเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคหนึ่ง และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะรับฟังแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การทางวิดีโอต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง และพยานบอกเล่าไม่อาจใช้แทนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ได้
ในการรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนตามมาตรา 133 ทวิ เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย นั้น ต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล กรณีที่โจทก์เพิ่งอ้างในฎีกาถึงสาเหตุที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความ เพราะเกิดความกลัว โดยไม่ปรากฏในชั้นพิจารณาถึงสาเหตุดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ศาลจะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาของศาลได้