พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการกันส่วนทรัพย์สินจากการบังคับคดี: สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่ได้จดทะเบียน
ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย" มีความหมายถึงการที่เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้เท่านั้น โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 ดังกล่าว บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 มาตรา 286 และมาตรา 287 เท่านั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 อ. และ น. คู่สัญญามีความประสงค์ที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ดังนั้น ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เสร็จเรียบร้อย การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง นิติกรรมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ดังกล่าวคงมีฐานะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้รับมอบอำนาจจะมอบที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องครอบครอง ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 2 สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของจำเลยที่ 2 อ. และ น. อยู่ ทั้งกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 เพราะยังชำระราคากันไม่ครบ ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงก่อนขายทอดตลาดได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า พิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องกันส่วนประกอบพยานหลักฐานเอกสารท้ายคำร้อง เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องไต่สวน ให้งดการไต่สวนนั้น ย่อมมีผลเป็นการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องพิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า พิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องกันส่วนประกอบพยานหลักฐานเอกสารท้ายคำร้อง เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องไต่สวน ให้งดการไต่สวนนั้น ย่อมมีผลเป็นการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องพิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับ สิทธิจำนอง: เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิเหนือกว่า
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย" ก็คงมีความหมายถึงการที่เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้เท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 ดังกล่าว บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 มาตรา 286 และมาตรา 287 เท่านั้น ผู้ร้องเป็นเพียงผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ซึ่งเป็นสิทธิอื่นๆ และเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ เมื่อโจทก์บังคับคดีโดยชอบและไม่กระทบถึงสิทธิอื่นๆ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาไม่โอนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลยเช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ3ระบุว่าโจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญาถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้นเป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาหาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จและโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน6เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้วดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันและเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญาเช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เรียกเก็บจากโจทก์แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตามแต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไปเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่23พฤษภาคม2534ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28สิงหาคม2534บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่28สิงหาคม2534โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่28สิงหาคม2534เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายสินค้าชำรุด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและคืนราคาสินค้า
จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจนำไปขายต่อได้ เป็นการผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,287, 391 และ 472
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสองส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสองส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดต่อสินค้าชำรุด การบอกเลิกสัญญา และค่าเสียหายพิเศษ
จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจนำไปขายต่อให้เป็นการผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215, 287, 391 และ 472
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2 ส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2 ส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิบุริมสิทธิที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้จำนอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกันเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษและตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิจำนองมีลำดับก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใด ๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกัน เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้