พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ ... 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรมกอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น" และข้อ 575 กำหนดว่า"สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ ส.จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ ส.ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อ ส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่า ส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องใหม่เมื่อโจทก์อ้างไม่ทราบวันนัดเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลก่อนตัดสิน
การที่โจทก์และทนายโจทก์ระบุว่าสำนักงานบริษัท ร.เป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในคำฟ้องและภูมิลำเนาของทนายโจทก์ในใบแต่งทนายความแม้ต่อมาโจทก์และทนายโจทก์ลาออกจากบริษัทดังกล่าว โดยไม่แจ้งการย้ายภูมิลำเนาให้ศาลทราบ นับได้ว่าโจทก์และทนายโจทก์มีส่วนบกพร่องอยู่บ้างก็ตามแต่เมื่อปรากฏตามคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่ 25/7 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ได้มีคำสั่งให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีพร้อมกับนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีหนังสือถึงศาลอื่นส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยแทน โดยคำร้องดังกล่าวทนายโจทก์ระบุภูมิลำเนาว่าอยู่ที่บ้านเลขที่ 28/19 ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของตนตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องและใบแต่งทนายความ ฉะนั้น เมื่อคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของโจทก์ได้อ้างว่าโจทก์ไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากย้ายภูมิลำเนา จึงไม่ได้มาศาล เช่นนี้ จึงสมควรที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนว่าเหตุที่โจทก์ยกขึ้นอ้างฟังได้หรือไม่เพียงใด ศาลชั้นต้นจะอาศัยเพียงโจทก์และทนายโจทก์ย้ายภูมิลำเนาไม่แจ้งให้ศาลทราบขึ้นมาเป็นเหตุยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งย้ายภูมิลำเนา และการไต่สวนเหตุจำเป็นเมื่อไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาคดี
โจทก์และทนายโจทก์ระบุสำนักงานบริษัท ร.เป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในคำฟ้องและภูมิลำเนาของทนายโจทก์ ในใบแต่งทนายความ แต่ตามคำเบิกความของโจทก์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและคำร้อง ของ ทนายโจทก์มิได้ระบุ ภูมิลำเนาของตนตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องและใบแต่งทนายความ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจาก ย้ายภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นจึงควรทำการไต่สวนว่าเหตุที่ โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นฟังได้หรือไม่ เพียงใด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง และมาตรา 181 จะอาศัยเพียงโจทก์และทนายโจทก์ย้ายภูมิลำเนา ไม่แจ้งให้ศาลทราบมาเป็นเหตุยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน หาสมควรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องใหม่เมื่อโจทก์อ้างไม่ทราบวันนัดเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลก่อนตัดสิน
การที่โจทก์และทนายโจทก์ระบุว่าสำนักงานบริษัทร.เป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในคำฟ้องและภูมิลำเนา ของทนายโจทก์ในใบแต่งทนายความแม้ต่อมาโจทก์ และทนายโจทก์ลาออกจากบริษัทดังกล่าว โดยไม่แจ้ง การย้ายภูมิลำเนาให้ศาลทราบ นับได้ว่าโจทก์และทนายโจทก์ มีส่วนบกพร่องอยู่บ้างก็ตามแต่เมื่อปรากฏตามคำเบิกความ ของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มี ภูมิลำเนาอยู่ที่ 25/7 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ได้มีคำสั่งให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีพร้อมกับ นัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้มีหนังสือถึงศาลอื่นส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยแทน โดยคำร้องดังกล่าวทนายโจทก์ระบุภูมิลำเนาว่าอยู่ที่บ้านเลขที่ 28/19 ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของตน ตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องและใบแต่งทนายความ ฉะนั้น เมื่อคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของโจทก์ได้อ้างว่า โจทก์ไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากย้าย ภูมิลำเนา จึงไม่ได้มาศาล เช่นนี้ จึงสมควรที่ ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนว่าเหตุที่โจทก์ยกขึ้น อ้างฟังได้หรือไม่เพียงใด ศาลชั้นต้นจะอาศัยเพียงโจทก์และทนายโจทก์ย้ายภูมิลำเนาไม่แจ้งให้ศาลทราบ ขึ้นมาเป็นเหตุยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน, การพิสูจน์ความผิดอาญา, และหลักการสงสัยต้องเป็นประโยชน์แก่จำเลย
ตามปกติวิสัยของคนร้ายย่อมจะต้องปกปิดมิให้บุคคลอื่น รู้เห็นการกระทำความผิดของตน การที่ จ. รู้จักกับจำเลยมาก่อนเพราะเป็นญาติกัน หากจำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตาย จริงแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าขณะรถจักรยานยนต์ที่จำเลย นั่งซ้อนท้ายแล่นสวนทางกับรถจักรยานยนต์ที่ น.ขับจำเลยจะพยัก หน้าทักทายกับ จ. ทั้งไม่มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยจะยิงผู้ตายในขณะที่รถจักรยานยนต์ที่ น. ขับและ จ.นั่งซ้อนท้ายเพิ่งจะแล่นสวนทางกับรถจักรยานยนต์ที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายไปเพียงครึ่งนาที ซึ่งรถจักรยานยนต์ที่ น. ขับและ จ.นั่งซ้อนท้ายแล่นไปได้เพียง 40 วาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ความจากคำเบิกความของ พันตำรวจโท ย.พนักงานสอบสวนว่า หลังเกิดเหตุประมาณ1 ถึง 2 วัน จึงทราบว่าจำเลยเป็นคนร้าย โดยทราบจากการ สอบสวน ซึ่งหาก จ.รู้เห็นเหตุการณ์จริง จ.ย่อมจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบในคืนเกิดเหตุทันทีเพราะผู้ตาย เป็นน้องของตน แต่ จ.หาได้กระทำไม่แม้ ร.ภริยาผู้ตายจะเบิกความว่า ในคืนเกิดเหตุ หลังจากพยานดูศพผู้ตายแล้ว จ. และ น. ไปบอกพยานที่บ้านว่าเห็นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้นก็คงมี ร.เบิกความกล่าวอ้างลอย ๆจ. และ น.หาได้เบิกความถึงข้อนี้ไม่ ซึ่งหากเป็นความจริงแล้ว ร.คงจะไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนในคืนเกิดเหตุเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธตั้งแต่ชั้นจับกุมตลอดมา พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิด โดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: ศาลพิจารณาจากราคาที่ดินพิพาท หากไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
นายอำเภอเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจาก ที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยยกให้เป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ยกที่พิพาทให้ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเด็นที่โต้เถียงกันจึงมีว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลย หากที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ย่อมมีอำนาจ หน้าที่ครอบครองปกปักรักษาตามกฎหมาย ถ้าจำเลยชนะคดีย่อมมี ผลให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ประโยชน์ที่โจทก์หรือ จำเลยจะได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่ง ที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทมีราคา 6,800 บาทราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินและข้อจำกัดการอุทธรณ์
นายอำเภอเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยยกให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ยกที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเด็นที่โต้เถียงกันจึงมีว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลย หากที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองปกปักรักษาตามกฎหมาย ถ้าจำเลยชนะคดีย่อมมีผลให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ประโยชน์ที่โจทก์หรือจำเลยจะได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทมีราคา 6,800 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด จำเลยที่ 1 มีบทบาทแค่ขับรถส่ง ไม่มีส่วนรู้เห็นการขาย
นายดาบตำรวจ จ. เบิกความว่า พยานปลอมตัวไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ตามที่สายลับนัดหมายไว้ เมื่อถึงเวลานัดจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์มากับจำเลยที่ 2 จากนั้นจำเลยที่ 2 ลงจากรถเข้ามานั่งเจรจา ซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับพยานในรถยนต์ของพยาน หลังจากที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนและรับเงิน จากพยานแล้วได้กลับไปขึ้นรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จอดรออยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 2 ออกไป ซึ่งหลังจากที่จับกุมจำเลยทั้งสองได้แล้วได้ตรวจค้น พบธนบัตรที่ใช้ในการล่อซื้อซ่อนอยู่ในเสื้อชั้นในของ จำเลยที่ 2 อีกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธตลอดมาว่า มาส่งจำเลยที่ 2 เท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์ มีเพียงเท่านี้ ยังไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด & หน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แม้บริการไม่ครบถ้วน
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลให้นิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ เมื่อบริษัท ย. เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ โดยมี บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัท ย.บ. จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง แก่เจ้าของร่วมแทนโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ได้ พระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด และมาตรา 17ระบุให้การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็น ไปตามกฎหมายดังกล่าวและตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้น จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนเมื่อไม่ปรากฏข้อยกเว้นการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางไว้เป็นพิเศษ จำเลยจึงต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จะอ้างว่าโจทก์ไม่เปิดไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศส่วนกลางในชั้นที่จำเลยอาศัยอยู่มาเป็นข้ออ้างไม่ชำระค่าใช้จ่ายไม่ได้ หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างใด จำเลยต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญในการพิจารณาความผิดตามมาตรา 9, 108 และ 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อน วันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้า กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป แล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติ ทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและ กลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจ ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้