พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6,044 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่มีการจัดทำใบหุ้น การโอนหุ้นให้บุตรก็ต้องแจ้งผู้ถือหุ้นเดิม
ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และข้อบังคับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ระบุว่า หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ ส่วนข้อ 3 ระบุด้วยว่า การโอนหุ้นนั้น ผู้จะโอนจะต้องบอกกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน และหลังจากนั้นแล้ว 30 วัน หากไม่มีผู้ใดประสงค์จะรับโอน จึงจะโอนให้แก่บุคคลภายนอกได้ และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการด้วย แม้จำเลยที่ 1 ไม่มีการจัดทำใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้นแต่ละราย แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ด้วย แม้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการ แต่เมื่อข้อบังคับบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนไว้และผูกพันเป็นสัญญาในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทกำหนดให้การโอนหุ้นต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ย่อมเป็นหน้าที่ของบริษัทต้องดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริษัทเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ การไม่มีคณะกรรมการบริษัทมิใช่เหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธการปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการโอนหุ้นดังกล่าว ทั้งข้อบังคับจำเลยที่ 1 มิได้มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นการโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายในครอบครัวหรือการโอนหุ้นให้แก่บุตรแล้วมิต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 3 การที่ จ. โอนหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 3 บุตรของ จ. ซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมแต่เป็นบุคคลภายนอก โดยมิได้บอกกล่าวให้แก่โจทก์และผู้ถือหุ้นเดิมคนอื่น ๆ ทราบเพื่อให้โจทก์และผู้ถือหุ้นเดิมมีโอกาสรับโอนหุ้นจาก จ. ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยที่ 1 เสียก่อนจึงไม่เป็นไปตามข้อบังคับและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นที่ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีจัดการมรดกโดยไม่มีข้อพิพาท และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการโต้แย้งพินัยกรรม
คำร้องของผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้ามิได้อ้างว่าการที่ศาลมิได้สั่งให้ผู้ร้องทั้งสองส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างพินัยกรรมและมติของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม ตามคำร้องขอดังกล่าวมิได้ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือส่วนได้เสียของบุคคลที่สาม แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองจำเป็นจะใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งผู้ร้องทั้งสองได้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 โดยเริ่มคดีด้วยการยื่นคำร้องขอ ซึ่งในการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ป.วิ.พ. ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด ผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้าชอบที่จะร้องว่าผู้ร้องทั้งสองนำพินัยกรรมที่เป็นโมฆะมาร้องขอจัดการมรดกและมีเหตุที่ผู้ร้องทั้งสองไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก มิใช่ดำเนินคดีด้วยการขอเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ท. สามีชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จดทะเบียนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ท. จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและมีคำขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในการจัดการสินสมรสของสามีภริยา ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง และหากสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 บัญญัติให้อำนาจแก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในกรณีนี้เป็นเพียงการขอให้เพิกถอนการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจัดการไปโดยปราศจากอำนาจเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาเป็นสินสมรสตามเดิม ทั้งยังเป็นการดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนรักษาสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ซึ่งบัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ฟ้องทายาทโดยธรรมหรือผู้จัดการมรดกของ ท. สามีโจทก์ที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยด้วย ก็หาทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความของคดีเรียกร้องสิทธิ
บันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. และโจทก์ระบุเรื่องทรัพย์สินชัดเจนว่า ข้อ 3.2 แมนชั่น เลขที่ 246/18 ฝ่ายหญิงยินยอมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย แต่มีเงื่อนไขข้อ 3.2.1. ว่าฝ่ายชายจะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงทุกวันที่ 5 ของเดือน ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง และข้อ 3.2.2. ถ้าฝ่ายชายขายแมนชั่นต้องแบ่งเงินให้แก่ฝ่ายหญิงครึ่งหนึ่ง ข้อ 3.3 ฝ่ายชายจะแบ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 819 ปีละ 40,000 บาท โดยชำระ 2 งวด งวดละ 20,000 บาท ข้อ 3.4 ถ้าฝ่ายชายขายที่ดินได้จะแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิงร้อยละ 10 ของรายได้สุทธิที่ได้จากการขายที่ดิน ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เห็นว่าหาก ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้จากทรัพย์สินจนกว่า ก. จะถึงแก่ความตาย ย่อมสามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่า ตลอดชีวิตของฝ่ายชาย การที่ ก. ระบุว่า จะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง แสดงให้เห็นว่า ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และหากมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิง บันทึกเรื่องทรัพย์สินเป็นข้อตกลงที่ผูกพันทรัพย์สิน เมื่อจำเลยที่ 1 บุตร ก. เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทั้งสองรายการจาก ก. จึงต้องผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่, ค่าเสียหาย, และผลกระทบจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ บริษัท อ. เป็นบริษัทร้างซึ่งนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนตามความในมาตรา 1273/3 แห่ง ป.พ.พ. บริษัท อ. ย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนโดยผลแห่งกฎหมาย และเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 6 ว่าด้วยการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง มิใช่การเลิกบริษัทที่จะต้องมีการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วนที่ 8 ซึ่งจะต้องดำเนินการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ. แต่เมื่อกรณีบริษัทร้างมิใช่การเลิกบริษัทที่จะต้องมีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้อง นอกจากโจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะส่วนตัวให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในผลแห่งการทำละเมิดด้วยการครอบครองและนำที่ดินพิพาทของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย ซึ่งหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะส่วนตัวต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในผลแห่งการทำละเมิดดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดด้วยการครอบครองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ครอบครอง แต่อ้างว่าการครอบครองอาศัยสิทธิของบริษัท อ. ส่วนการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่ากระทำในฐานะตัวแทนบริษัท อ. จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อศาลวินิจฉัยว่า บริษัท อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่อาจอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิบริษัท อ. อีกต่อไปได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นส่วนตัว
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับขับไล่ รื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่วนที่มีคำขอบังคับขับไล่และรื้อถอนเป็นหนี้กระทำการมิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 22 (3) แต่ส่วนที่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อันเป็นวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย โจทก์จะต้องนำหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 27 และมาตรา 91 และโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงใดย่อมเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เข้าว่าคดีในส่วนนี้ การพิจารณาคดีส่วนนี้ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเฉพาะส่วนนี้ออกจากสารบบความ สำหรับค่าเสียหายนับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นหนี้เงินที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดส่วนนี้ได้ แต่โจทก์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มาภายหลังพ้นจากการล้มละลายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดด้วยการครอบครองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ครอบครอง แต่อ้างว่าการครอบครองอาศัยสิทธิของบริษัท อ. ส่วนการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่ากระทำในฐานะตัวแทนบริษัท อ. จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อศาลวินิจฉัยว่า บริษัท อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่อาจอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิบริษัท อ. อีกต่อไปได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นส่วนตัว
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับขับไล่ รื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่วนที่มีคำขอบังคับขับไล่และรื้อถอนเป็นหนี้กระทำการมิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 22 (3) แต่ส่วนที่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อันเป็นวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย โจทก์จะต้องนำหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 27 และมาตรา 91 และโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงใดย่อมเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เข้าว่าคดีในส่วนนี้ การพิจารณาคดีส่วนนี้ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเฉพาะส่วนนี้ออกจากสารบบความ สำหรับค่าเสียหายนับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นหนี้เงินที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดส่วนนี้ได้ แต่โจทก์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มาภายหลังพ้นจากการล้มละลายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การรังวัดที่ดินเป็นการโต้แย้งสิทธิ แม้จะหยุดดำเนินการไปก่อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า โดยโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2510 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดในที่ดินพิพาท เป็นการบุกรุกและรบกวนการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ส่วนการที่จำเลยของดการรังวัดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเนื่องจากไม่สามารถนำชี้แนวเขตที่ดินพิพาทได้ชัดเจนนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยได้กระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จึงหามีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
ผู้ร้องสอดทั้งสองอ้างมาในคำร้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งสอง ขอให้ยกฟ้อง กับขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้คำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
ผู้ร้องสอดทั้งสองอ้างมาในคำร้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งสอง ขอให้ยกฟ้อง กับขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้คำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพ: พิจารณาความเหมาะสมตามสถานะพระภิกษุและศรัทธาของประชาชน
โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระครู อ. ซึ่งถึงแก่มรณภาพขณะบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าอาวาส และมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เมื่อพระครู อ. ถึงแก่มรณภาพ โจทก์ติดต่อขอรับสังขารของพระครู อ. เพื่อนำไปฌาปนกิจตามประเพณี แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม จำเลยทั้งสองให้การว่า ก่อนถึงแก่มรณภาพ พระครู อ. สั่งเสียลูกศิษย์ให้เก็บสังขารไว้ให้บรรพชนรุ่นหลังกราบสักการะ เนื้อหาแห่งคดีเป็นเรื่องสิทธิในการจัดการศพของผู้ตาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองมีหน้าที่จัดการศพผู้ตาย แม้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แต่การที่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิจัดการศพผู้ตายหรือไม่ และในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลต้องพิจารณาฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานทั้งมวลที่ปรากฏในสำนวนว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นบุคคลต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้มีหน้าที่จัดการศพผู้ตายหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ก่อนถึงแก่มรณภาพพระครู อ. มีทรัพย์สินรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นมรดกตกทอดแก่วัดจำเลยที่ 1 เนื่องจากมิได้ร้องขอแก้ไขภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลเพียงว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ปรากฏขึ้นจากการกล่าวอ้างในคำให้การของจำเลยทั้งสองเท่านั้น หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงส่วนนี้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ถูกต้องแท้จริงก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟังจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ใดได้รับมรดกของผู้ตายมากที่สุดซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองมีหน้าที่จัดการศพผู้ตาย จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการชี้ขาดคดี
พระครู อ. มีทายาทเหลืออยู่เพียงคนเดียวคือโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้หนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่จัดการศพของพระครู อ. ได้ แต่เมื่อตามสถานะของผู้ตายซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุตั้งแต่อายุ 25 ปี และมรณภาพอายุ 75 ปี รวมเวลาที่อยู่ในสมณเพศนานถึง 50 พรรษา หลังจากพระครู อ. ถึงแก่มรณภาพแล้ว ญาติพี่น้องรวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันจัดงานสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 15 วัน โดยวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วบรรจุเก็บสังขารของพระครู อ. ไว้บำเพ็ญกุศลทุกวันพระเป็นเวลา 100 วันพระ และได้ความตามรายงานการประชุมเกี่ยวกับการจัดการศพพระครู อ. ว่า มีประชาชนศรัทธามาสักการะสังขารของพระครู อ. เป็นจำนวนมาก แสดงว่าพระครู อ. เป็นพระที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา ยิ่งไปกว่านั้น การที่พระครู อ. บวชเป็นพระภิกษุตลอดมา แสดงว่าพระครู อ. มีศรัทธาอุทิศตนเพื่ออยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งมีวัดเป็นสถานรวมกิจกรรมของสงฆ์และการประกอบพิธีทางศาสนาของประชาชน การที่โจทก์เป็นผู้จัดการศพของพระครู อ. น่าจะไม่สอดคล้องกับความศรัทธาของประชาชนผู้เลื่อมใสเคารพนับถือแก่พระครู อ. จึงเป็นการสมควรที่วัดจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับสรีระสังขารของพระครู อ. ต่อไป โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับมรดกของผู้ตายมากที่สุด
พระครู อ. มีทายาทเหลืออยู่เพียงคนเดียวคือโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้หนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่จัดการศพของพระครู อ. ได้ แต่เมื่อตามสถานะของผู้ตายซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุตั้งแต่อายุ 25 ปี และมรณภาพอายุ 75 ปี รวมเวลาที่อยู่ในสมณเพศนานถึง 50 พรรษา หลังจากพระครู อ. ถึงแก่มรณภาพแล้ว ญาติพี่น้องรวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันจัดงานสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 15 วัน โดยวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วบรรจุเก็บสังขารของพระครู อ. ไว้บำเพ็ญกุศลทุกวันพระเป็นเวลา 100 วันพระ และได้ความตามรายงานการประชุมเกี่ยวกับการจัดการศพพระครู อ. ว่า มีประชาชนศรัทธามาสักการะสังขารของพระครู อ. เป็นจำนวนมาก แสดงว่าพระครู อ. เป็นพระที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา ยิ่งไปกว่านั้น การที่พระครู อ. บวชเป็นพระภิกษุตลอดมา แสดงว่าพระครู อ. มีศรัทธาอุทิศตนเพื่ออยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งมีวัดเป็นสถานรวมกิจกรรมของสงฆ์และการประกอบพิธีทางศาสนาของประชาชน การที่โจทก์เป็นผู้จัดการศพของพระครู อ. น่าจะไม่สอดคล้องกับความศรัทธาของประชาชนผู้เลื่อมใสเคารพนับถือแก่พระครู อ. จึงเป็นการสมควรที่วัดจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับสรีระสังขารของพระครู อ. ต่อไป โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับมรดกของผู้ตายมากที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวง และการไม่มีอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์และจำเลยไม่มีเจตนาซื้อขายที่ดินกันจริง แต่เป็นการทำสัญญาขึ้นเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์และจำเลยสมรู้กันทำสัญญาขึ้นโดยไม่มีเจตนาผูกพันกันและทำเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของทายาทในการรวบรวมทรัพย์มรดกจากผู้ปิดบังครอบครอง แม้ไม่มีหน้าที่ผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะส่วนตัวโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลย และ บ. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายตามคำสั่งศาล ทรัพย์มรดกส่วนใหญ่จะใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทน จำเลยมีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกทั้งหมดมาแบ่งปันให้แก่ทายาท แต่จำเลยแสดงทรัพย์มรดกเพียงบางส่วน โดยปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่จำเลยจะได้รับจากกองมรดก จึงไม่สามารถจัดการแบ่งมรดกได้ ขอให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมกันแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่พึงได้หนึ่งในสี่ส่วน หรือให้ชำระเงินแทนพร้อมดอกเบี้ย กับขอให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดก ดังนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปิดบังไม่นำทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแบ่งปันให้แก่ทายาท อันเป็นการกระทำส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมแบ่งมรดก ก็มิใช่เป็นการฟ้องคดีจัดการมรดก ซึ่งกรณีมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหลายคนต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ที่บัญญัติให้การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องผู้จัดการมรดกร่วมที่ไม่ได้ปิดบังหรือมีส่วนร่วมในการปิดบังทรัพย์มรดกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยความยินยอมของผู้ให้จำนอง แม้จะฟ้องเพิกถอนสัญญาจำนองไม่ได้ ผู้ฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินพิพาทเพื่อไปกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงถือสิทธิครอบครองที่ดินแทนโจทก์ กับทำหนังสือมอบอำนาจให้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายคืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดิน และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินตามที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะซื้อขายที่ดินกันจริง แต่เพื่อนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 จะนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแก่จำเลยที่ 2 และโจทก์เบิกความตอบทนายความจำเลยที่ 1 ถามค้านรับว่า เงินที่ได้จากการจำนอง 4,500,000 บาท โจทก์นำไปซื้อแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายธนาคาร ก. จำนวน 3,000,000 บาท ชำระค่าที่ดินที่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ซื้อจาก พ. โดยมีชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ในใบคำขอซื้อเช็ค ตรงกับบันทึกท้ายหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 เขียนด้วยลายมือตนเองให้โจทก์ มีข้อความว่า "นำเงินที่ได้จากการจำนองที่ดิน 3,000,000 บาท ไปชำระค่าซื้อที่ดิน เนื้อที่ 58 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ที่ลงทุนร่วมกัน" และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงเขียนด้วยลายมือตนเองให้โจทก์มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก พ. และ ด. โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเงินให้แก่ผู้จะขาย 2,750,000 บาท และชำระด้วยแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร ก. จำนวนเงิน 3,000,000 บาท สนับสนุนให้เห็นว่าการจำนองที่ดินพิพาทนั้นเป็นความประสงค์ของโจทก์ที่ต้องการเงินไปชำระค่าที่ดินที่ซื้อร่วมกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองธนาคาร ส. สาขาแหลมฉบัง จำนวนเงิน 4,500,000 บาท ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเพื่อให้โจทก์นำเช็คไปชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์ย่อมทราบดีว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำนอง โจทก์อาจนำหนังสือมอบอำนาจและเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ได้เอง ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ยอมรับว่าประสงค์จะชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ด้วย พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวบ่งชี้ชัดแจ้งว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันโจทก์เสมือนหนึ่งว่าโจทก์เป็นผู้จำนองเอง การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 นั้น ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2