พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากฟ้องเกินกว่าที่อุทธรณ์ไว้ไม่มีสิทธิ
บทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นการกำหนดขั้นตอนในการตรวจสอบการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้ประชาชนที่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเป็นธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันราคาลดลงและค่าเช่าอาคารที่ลดลง ซึ่งเกินไปจากวงเงินที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาก่อนแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมอาคารส่วนที่เหลืออันราคาลดลง
โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันราคาลดลงและค่าเช่าอาคารที่ลดลง ซึ่งเกินไปจากวงเงินที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาก่อนแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมอาคารส่วนที่เหลืออันราคาลดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่ล่าช้า และการพิจารณาปัจจัยในการประเมินราคาที่ดิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้วให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ก. ... (4) สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และ (5) เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" ซึ่งการดำเนินการเพื่อการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหง ตอนสะพานข้ามคลองลาดบังขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ฯ มิได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติในเรื่องเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำหลักตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณาถึงที่ตั้งของที่ดิน สภาพถนน และซอยด้านหน้าของที่ดิน ลักษณะกายภาพของที่ดินสาธารณูปโภค การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามปกติในท้องตลาดในช่วงปี 2539 ดังนั้น การที่บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 58,500 บาท และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เห็นด้วยจึงเป็นอัตราที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
การเวนคืนที่ดิน ที่ดินทุกแปลงที่อยู่ติดถนนย่อมได้รับประโยชน์จากผลของการเวนคืนแต่มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เดิมและจำนวนเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือ หรือบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์เลยหากถูกเวนคืนจนเหลือเนื้อที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนมีอัตราเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกแปลงแม้จะอยู่บริเวณเดียวกันก็ตาม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงอื่นซึ่งอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ที่ดินแต่ละแปลงมีราคาที่แตกต่างกันประกอบด้วยตามที่กล่าวข้างต้น
การเวนคืนเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกันได้ตามความในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนส่วนที่รังวัดขาดไปจำนวน 2,603,250 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนด 120 วัน ตามมาตรา 10 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้แก่โจทก์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่จ่ายล่าช้าดังกล่าว นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนตามมาตรา 10 กรณีนี้มิใช่กรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลกำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงิน 2,603,250 บาท ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การเวนคืนที่ดิน ที่ดินทุกแปลงที่อยู่ติดถนนย่อมได้รับประโยชน์จากผลของการเวนคืนแต่มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เดิมและจำนวนเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือ หรือบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์เลยหากถูกเวนคืนจนเหลือเนื้อที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนมีอัตราเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกแปลงแม้จะอยู่บริเวณเดียวกันก็ตาม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงอื่นซึ่งอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ที่ดินแต่ละแปลงมีราคาที่แตกต่างกันประกอบด้วยตามที่กล่าวข้างต้น
การเวนคืนเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกันได้ตามความในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนส่วนที่รังวัดขาดไปจำนวน 2,603,250 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนด 120 วัน ตามมาตรา 10 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้แก่โจทก์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่จ่ายล่าช้าดังกล่าว นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนตามมาตรา 10 กรณีนี้มิใช่กรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลกำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงิน 2,603,250 บาท ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยแยกค่าทดแทนเจ้าของและผู้เช่า
ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ จ. ได้ให้ผู้อื่นเช่าที่ดินและอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยจดทะเบียนการเช่าไว้มีกำหนด 30 ปี ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและอาคารสิ่งปลูกสร้างในสภาพที่มีภาระการเช่าให้แก่ จ. และกำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่ผู้เช่าอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากกัน แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนอาคารสิ่งปลูกสร้างให้แก่ จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวน 19,668,979.98 บาท เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 18 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของตามมาตรา 18 (2) และผู้เช่าเฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริง โดยเหตุที่ต้องออกจากอาคารและที่ดินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับตามมาตรา 18 (3) แยกต่างหากจากกัน เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย แม้โจทก์จำเลยจะได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนกันแล้วตามมาตรา 10 ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลมาจากการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวได้ และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 อย่างไรก็ตามการที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เพื่อให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมายไม่อยู่ในวิสัยจะดำเนินการได้ เพราะอายุการใช้พระราชกฤษฎีกาได้สิ้นสุดลงแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงควรให้ศาลชั้นต้นได้กำหนดให้คู่ความนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนของอาคารพิพาทตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ถูกต้องและสิทธิในการอุทธรณ์เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนในครั้งนี้โดยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะในส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตารางวาละ 40,000 บาท อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่า ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่านั้นยังไม่ชอบเพราะการเวนคืนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามมาตรา 21 วรรคสาม กรณีนี้มิใช่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นกรณีที่ไม่กำหนดเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอันทำให้โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งโจทก์สามารถที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เพื่อขอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงตามขั้นตอนที่มาตรา 25 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ก่อนใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่มีสิทธิ, ผู้ครอบครองต้องมีการอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์แล้ว
เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นการชดเชยความเสียหายอันเนื่องมาจากการบังคับเอาที่ดินมาจากเจ้าของที่ดินและเป็นการชดเชยความเสียหาย อันเนื่องมากจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลงตามลำดับผู้ที่ถูกบังคับเอาที่ดินไป และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงคือเจ้าของที่ดิน โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้ชำระเงินที่จะซื้อจะขายที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปก่อนบางส่วน และได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกเวนคืนแล้วนั้นยังไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเจ้าของร่วมในที่ดินที่ถูกเวนคืน และไม่ได้โต้แย้งสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินในที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นและเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พรบว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย นั้น ต้องเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ขณะที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับที่ดินที่ถูกเวนคืนยังเป็นที่ดินว่างเปล่า โจทก์ที่ 2 ยังมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินทั้งสี่แปลงที่ถูกเวนคืนที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคท้าย
ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พรบว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย นั้น ต้องเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ขณะที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับที่ดินที่ถูกเวนคืนยังเป็นที่ดินว่างเปล่า โจทก์ที่ 2 ยังมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินทั้งสี่แปลงที่ถูกเวนคืนที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน: รั้วลวดหนามรื้อถอนและติดตั้งใหม่ได้ง่าย ไม่ถือเป็นการสร้างใหม่ จึงคิดเฉพาะค่ารื้อถอน ขนย้าย
รั้วลวดหนามของโจทก์ต้องรื้อถอนเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเวนคืนเป็นความยาว160 เมตร โจทก์เพียงแต่จ้างคนงานมารื้อถอน ขนย้ายเสาไปปักตามแนวเขตใหม่แล้วขนย้ายลวดหนามที่ม้วนเก็บได้นำไปยึดติดกับเสาเหล่านั้นเท่านั้น วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเดิมขนย้ายไปใกล้ ๆ และคนงานก็คงไม่ต้องใช้มาก เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างรั้วลวดหนามจำนวน 22,253.78 บาท ที่กำหนดให้มากเพียงพอแล้ว จะคิดราคาเป็นตารางเมตรเหมือนกับสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(5) บัญญัติไว้ว่า "พึงกำหนดให้เฉพาะค่ารื้อถอนค่าขนย้าย และค่าปลูกสร้างใหม่เท่านั้น"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระราคาซื้อขายทอดตลาดเกินกำหนด: สิทธิในทรัพย์สินและการได้รับเงินค่าทดแทน
คดีนี้แม้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือเกินเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้ในหมาย แต่เมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมบังคับคดีประกอบกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เห็นได้ว่ามิได้มีการบังคับตายตัวว่าถ้าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาภายในกำหนดเวลาแล้วให้ถือว่าสัญญาซื้อขายที่ดินต้องเลิกกันทันทีหรือผู้ซื้อทรัพย์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและจะต้องริบเงินมัดจำเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมบังคับคดี เมื่อรองอธิบดีกรมบังคับคดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีในขณะนั้นมีคำสั่งเห็นชอบกับบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นควรให้รับเงินส่วนที่เหลือจากผู้ซื้อทรัพย์ และผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 515 แล้ว ย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 เมื่อที่ดินแปลงที่ซื้อถูกเวนคืนทั้งหมด และกรมทางหลวงได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์/ฟ้องคดีค่าทดแทนเวนคืน: สงวนสำหรับผู้มีสิทธิรับเงินเท่านั้น การฎีกาเพื่อโต้แย้งมติของตนเองไม่มีสิทธิ
สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง และสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลว่าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25ไม่ถูกต้อง เป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18 เท่านั้น เมื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้มีมติว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้เอาราคาที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของฝ่ายตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกประเภทเป็นไปตามกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นต้องปฏิบัติตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (1) และกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (2) แยกประเภทกัน ดังนั้น การคิดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนแยกจากกันจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง