พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดถือเป็นการผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะทำการก่อสร้างอาคารชุดจนแล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538 แต่การจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์ก็ดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จได้ทั้งการที่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาในขณะนั้น เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังในวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญามิได้ถือเอาระยะเวลามาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายห้องชุด การแยกสัญญาซื้อขาย และผลของการผิดนัดโอน
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนรวมกัน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ แยกออกเป็น 2 ฉบับ จึงเป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยที่จะกระทำได้ ทั้งโจทก์ยินยอมทำสัญญากับจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ย่อมมีผลสมบูรณ์ หาใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ไม่
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตร ก็ตามแต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่ 50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2 โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวการบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตร ก็ตามแต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่ 50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2 โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวการบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุดและเฟอร์นิเจอร์ไม่เป็นโมฆะ แม้แยกสัญญาและมีเนื้อที่ต่างจากที่ระบุ การบอกเลิกสัญญาชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนรวมกัน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ แยกออกเป็น 2 ฉบับจึงเป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยที่จะกระทำได้ ทั้งโจทก์ยินยอมทำสัญญากับจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ย่อมมีผลสมบูรณ์ หาใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ไม่
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตรก็ตาม แต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตรก็ตาม แต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน-อาคาร: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่ก่อสร้างตามกำหนด แม้มีเหตุขยายเวลาต้องไม่ใช่ความผิดจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระบุว่า จำเลยจะก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับจากวันทำสัญญา แต่เมื่อระยะเวลาสิ้นสุดลงจำเลยยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอาคาร ทั้งที่โจทก์ชำระค่างวดแก่จำเลยตลอดมาทั้ง 24 งวด ย่อมฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว
ส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา 24 เดือนดังกล่าวสามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้า?อันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาตหรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการ? รวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขายตามข้อสัญญานั้น หมายความว่า เหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้น และต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
ส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา 24 เดือนดังกล่าวสามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้า?อันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาตหรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการ? รวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขายตามข้อสัญญานั้น หมายความว่า เหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้น และต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนดหลังบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมากของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อนำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนด: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้ นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมาก ของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อ นำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่ โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์ จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาโดยปริยายจากพฤติการณ์ของคู่สัญญาและการขาดการติดต่อ
ตามหนังสือข้อตกลงดังกล่าวข้อ 17 ระบุถึงการเลิกข้อตกลงว่า ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดภายในกำหนด 90 วัน ถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลง โดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป หลังจากจำเลยไม่ยอมโอนบ้านตัวอย่างพร้อมที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาโครงการเคหะสงเคราะห์ดังกล่าวประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ ผู้อื่นเข้าดำเนินโครงการ ส่วนจำเลยได้นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อหมู่บ้านเดชาดำเนินการต่อมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2535 โจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเลย รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด แม้ติดตั้งของขวัญผิดพลาดและก่อสร้างล่าช้า โจทก์ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
จำเลยโฆษณาในเอกสารว่าจะติดตั้งเครื่องเรียกความช่วยเหลือ เอสโอเอสเป็นของขวัญให้แก่ลูกค้า ปรากฏว่าบริษัทที่จำหน่ายเครื่องดังกล่าวเลิกกิจการไป จำเลยจึงเสนอติดเครื่องเรียกความช่วยเหลือของบริษัทอื่นซึ่งคุณภาพดีกว่าและราคาสูงกว่าแทนแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ตรงตามคำโฆษณาจึงมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยและแม้โจทก์จะไม่ตกลงด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญา ส่วนที่จำเลยก่อสร้างล่าช้า ปรากฏว่าโจทก์ไปตรวจงานก่อสร้างก็มิได้ทักท้วงเรื่องก่อสร้างล่าช้า ทั้งหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างถึงความล่าช้า ถือว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอาเรื่องระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญโจทก์ไม่อาจอ้างเหตุการก่อสร้างล่าช้าบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดจากการหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากจำเลยตามสัญญาฉบับพิพาท ในราคา 4,615,394 บาท และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันทำสัญญาเป็นเงินค่าจอง 50,000 บาท และค่างวดอีก 5 งวด คืองวดเดือนมกราคม 2538ถึงเดือนพฤษภาคม 2538 เป็นเงิน 340,000 บาท หลังจากนั้นโจทก์ผ่อนชำระให้แก่จำเลยในงวดเดือนมิถุนายน 2538 ถึงเดือนมกราคม 2539 อีก 8 งวด เป็นเงิน365,056 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยทั้งสิ้น 755,056 บาท และโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวต่อจำเลยแล้ว ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่า ผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างอาคารชุดตามเวลาที่กำหนดไว้ และผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งแสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยหยุดก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนกันยายน 2539 เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ โดยจำเลยไม่เคยมีหนังสือแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารในระหว่างเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระราคา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ