พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน โจทก์มีสิทธิได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความถูกต้อง และจำเลยมีภาระพิสูจน์ความไม่บริบูรณ์
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินมีข้อความว่า ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วยและผู้จำนองได้รับเงินเป็นการเสร็จแล้ว แม้การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองที่ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง แต่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินเพื่อสนับสนุนคำให้การของตน ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์ของฝ่ายโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 การที่โจทก์ไม่นำสืบหลักฐานการจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลย จึงหาเป็นเหตุผลเพียงพอถึงกับจะทำให้ฟังว่าการกู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ไม่
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนอกฟ้องนอกประเด็น: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเหตุเพลิงไหม้ต่างจากที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณลานจอดรถชั้นใต้ดินอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการหรือจัดให้มีการดับเพลิงอย่างทันท่วงทีจนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไปไหม้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายทั้งคัน คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดและให้จำเลยที่ 1 รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาได้บรรยายฟ้องหรือตั้งประเด็นว่า เหตุละเมิดเกิดจากกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายลัดวงจร การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเหตุเกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และโจทก์ได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดจึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน: อำนาจฟ้องและการพิสูจน์การชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การทำนองเดียวกันว่าหนี้เงินกู้เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพื่อใช้เป็นเงินทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ปัจจุบันมีการชำระหนี้แล้ว และชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ในการบริหารงานของจำเลยที่ 1 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ป. จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อตามที่ ป. สั่ง จึงมิได้กระทำการในนามตนเองและมิได้รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เงินที่กู้ยืมนำไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จริงยิ่งกว่านั้นการที่ ป. ลงลายมือชื่อทั้งในช่องผู้กู้และช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.6 ลงลายมือชื่อช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้เงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.7 และลงลายมือชื่ออนุมัติกรณีจำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงิน 25,500,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการโอนที่ดิน อีกทั้ง ป. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ จากบัญชีโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 แล้วมีการเบิกถอนเงินตามเช็คไปแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์จริง กรณีนี้ไม่จำต้องอาศัยหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากหนี้เดิมหลายประเภท (เงินกู้, ทองคำ, ค่าแชร์) และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
หนี้ตามสัญญากู้เงินพิพาทเกิดจากการนำหนี้เงินกู้ 100,000 บาท หนี้ยืมทองคำ และหนี้ค่าแชร์มารวมกัน แม้หนี้เงินกู้เดิมไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมแต่จำเลยยังมีหน้าที่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์เพียงแต่โจทก์ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้ อย่างไรก็ตาม คู่กรณีสามารถตกลงกันทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ ทั้งการส่งมอบเงินกู้ไม่จำเป็นต้องส่งมอบเงินในวันทำสัญญา สามารถส่งมอบก่อนหรือหลังทำสัญญาก็ได้ และจำเลยรับว่าเป็นหนี้เงินกู้ 100,000 บาท ดังกล่าวจริง หนี้ส่วนนี้จึงสมบูรณ์ ส่วนหนี้ยืมทองคำ แม้มีการไถ่ถอนทองคำคืนโจทก์ แต่ก็เป็นการกระทำภายหลังที่มีการทำสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยมีการตรวจสอบยอดหนี้ในส่วนนี้ว่ายังมีหนี้ค้างชำระกันอีก หนี้ในส่วนนี้จึงสมบูรณ์เช่นกัน สำหรับหนี้ค่าแชร์เมื่อนำมารวมกับหนี้เงินกู้และหนี้ยืมทองคำแล้วจัดทำเป็นหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท จำเลยยอมรับว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินพิพาทจริง ส่วนจะเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 หรือไม่ นั้น จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาเดียวกันโจทก์มีการจัดให้เล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวง หรือมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน และมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าหนี้ค่าแชร์ที่นำมารวมเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เมื่อจำเลยไม่นำสืบจึงฟังไม่ได้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์เป็นนายวงเป็นโมฆะ และเมื่อมีการนำหนี้ทั้งสามประเภทมารวมกันเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงก่อหนี้ขึ้นมาใหม่โดยมีเจตนาให้หนี้เดิมระงับอันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การชำระค่าจ้าง, การตรวจรับงาน, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานย่อมต้องระบุรายการของงานและข้อที่อ้างว่าเป็นความบกพร่องเพื่อที่คู่สัญญาจะได้นําไปพิจารณาแก้ไข และที่สัญญากำหนดให้การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานให้กระทำโดยจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก็ด้วยเจตนาให้เป็นหลักฐานชัดเจนเพื่อป้องกันการโต้แย้งกันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง การทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงโจทก์ตามสัญญาจึงย่อมหมายถึงการส่งคำสั่งเป็นหนังสือให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่สัญญา ส่วนการส่งข้อความสนทนากันทางแอปพลิเคชันไลน์ หากจะให้ถือเป็นการออกคำสั่งในการแก้ไขงาน ก็ต้องปรากฏทางปฏิบัติที่ชัดแจ้งว่า คู่สัญญาประสงค์ให้ใช้คำสั่งเช่นนั้นได้
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: ที่ดินที่ซื้อด้วยเงินสินสมรส แม้มีการโอนชื่อให้บุคคลอื่น ก็ยังเป็นสินสมรส
จําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์และจําเลยมีสินสมรสร่วมกันหลายรายการ สินสมรสบางรายการมีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ ขอให้บังคับโจทก์แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้จําเลยกึ่งหนึ่ง จําเลยขอให้ศาลหมายเรียก ธ. บุตรของโจทก์และจําเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) เพื่อให้การจัดการสินสมรสเสร็จไปในคราวเดียวไม่ต้องไปฟ้องร้องกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมิได้แบ่งสัดส่วนการถือกรรมสิทธิ์ ต้องถือว่าโจทก์และโจทก์ร่วมมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินในสัดส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ประกอบกับมาตรา 1359 บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ การที่จําเลยให้การและฟ้องแย้งและหมายเรียกขอให้บังคับโจทก์และโจทก์ร่วมโอนที่ดินคืนแก่จําเลย จึงถือว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่เป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันมิได้ การที่โจทก์ยื่นคําฟ้อง คำให้การแก้ฟ้องแย้ง บัญชีระบุพยาน ถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาทำการแทนซึ่งกันและกันกับโจทก์ร่วมด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อโจทก์ร่วมยอมรับเอาข้อเท็จจริงตามคําฟ้อง คำให้การแก้ฟ้องแย้ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ในชั้นพิจารณาของโจทก์ทุกประการ จึงเป็นคําคู่ความและการดำเนินการของโจทก์ร่วมด้วย โดยโจทก์ร่วมไม่จำต้องทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจําเลย รวมทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบในชั้นพิจารณาหักล้างข้อต่อสู้ของจําเลย ย่อมถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษนำพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมาวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ระหว่างสมรสจําเลยโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์โดยเสน่หาโดยมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่บังคับเฉพาะกรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีสามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย ส่วนที่ดินที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารทางราชการที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในทะเบียนที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติว่า เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนําสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อจําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เหตุที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน เนื่องจากโจทก์ออกอุบายให้จําเลยยกที่ดินเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บุคคลภายนอกฟ้องบังคับชําระหนี้เอาจากจําเลย เท่ากับจําเลยให้การและฟ้องแย้งต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์และโจทก์ร่วม แต่เป็นสินสมรสของจําเลยและโจทก์ร่วม จําเลยจึงมีหน้าที่นําสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 และมาตรา 127
ระหว่างสมรสจําเลยโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์โดยเสน่หาโดยมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่บังคับเฉพาะกรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีสามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย ส่วนที่ดินที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารทางราชการที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในทะเบียนที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติว่า เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนําสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อจําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เหตุที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน เนื่องจากโจทก์ออกอุบายให้จําเลยยกที่ดินเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บุคคลภายนอกฟ้องบังคับชําระหนี้เอาจากจําเลย เท่ากับจําเลยให้การและฟ้องแย้งต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์และโจทก์ร่วม แต่เป็นสินสมรสของจําเลยและโจทก์ร่วม จําเลยจึงมีหน้าที่นําสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 และมาตรา 127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ & อายุความเรียกร้องคืนเงิน
สัญญาซื้อขายที่ดินที่คู่สัญญาไม่มีเจตนาไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ขายจะต้องคืนเงินค่าที่ดินแก่ ส. ผู้ซื้อในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งมีอายุความหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนตั้งแต่เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย ส. ได้ทวงถามเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่า ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่ทวงถามแล้ว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่ ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนตั้งแต่เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย ส. ได้ทวงถามเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่า ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่ทวงถามแล้ว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่ ส. รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักล้างข้อสันนิษฐานความรับผิดจากเหตุไฟไหม้รถยนต์ในความครอบครอง จำเลยไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากรถยนต์เอง
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รถยนต์พิพาทของโจทก์ไฟไหม้คอนโซลหน้ารถได้รับความเสียหายขณะอยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 จำเลยจึงต้องรับผิดชอบเพราะถือว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติของเหตุการณ์เป็นคุณต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยนำสืบประกอบรายงานการตรวจหาร่องรอยหลักฐานในคดีเพลิงไหม้ ภาพจากกล้องวงจรปิด และภาพถ่าย ได้ว่าแม้ขณะเกิดเหตุไฟไหม้ รถยนต์พิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลย แต่เหตุที่ไฟไหม้คอนโซลเกิดจากตัวรถยนต์พิพาทเอง เหตุไฟไหม้ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย พยานหลักฐานของจำเลยจึงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้รถยนต์พิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4158/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ามิได้มีเจตนาทุจริต แต่ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานและพิพากษา
คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 เป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า จำเลยที่ 1 กระทำการตามฟ้องโดยมิได้มีเจตนาแสวงประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพราะจำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวทั้งหมดไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เท่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำความผิด คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อกล่าวอ้างตามคำแถลงของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวรับฟังไม่ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ และเนื่องจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 อ้างเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวปรากฏในสำนวนคดีนี้ครบถ้วนแล้ว เพื่อให้คดีแล้วเสร็จไปโดยเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นโมฆะ แม้มีสัญญาซื้อขายและทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า สัญญาจะซื้อจะขายในส่วนของที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นโมฆะเนื่องจากที่ดินสาธารณประโยชน์ไม่อาจซื้อขายกันได้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ได้ตกเป็นโมฆะตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขและวินิจฉัยไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นที่ชายตลิ่งที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การมีหรือการได้สิทธิครอบครองในที่ดินจึงต้องอาศัยการยึดถือครอบครองตามความเป็นจริง หาอาจโอนกันได้ดังเช่นสิทธิครอบครองที่รัฐให้การรับรองสิทธิแล้วไม่ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนดังกล่าวได้ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าวได้เช่นกัน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงฐานลาภมิควรได้นั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องลาภมิควรได้และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ได้
สำหรับที่โจทก์ขออ้างส่งสำเนาคำฟ้อง แผนที่วิวาท สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 556/2560 ของศาลชั้นต้นเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นพยานเพิ่มเติมนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ขอให้ใช้ประกอบดุลพินิจของศาลฎีกาในข้อที่โจทก์ฎีกาว่า สิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณประโยชน์สามารถโอนให้แก่กันได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ต้องขออนุญาตระบุเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกา
ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงเป็นที่ชายตลิ่งที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การมีหรือการได้สิทธิครอบครองในที่ดินจึงต้องอาศัยการยึดถือครอบครองตามความเป็นจริง หาอาจโอนกันได้ดังเช่นสิทธิครอบครองที่รัฐให้การรับรองสิทธิแล้วไม่ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายในส่วนดังกล่าวได้ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงดังกล่าวได้เช่นกัน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิทั้งสองแปลงฐานลาภมิควรได้นั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องลาภมิควรได้และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ได้
สำหรับที่โจทก์ขออ้างส่งสำเนาคำฟ้อง แผนที่วิวาท สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 556/2560 ของศาลชั้นต้นเอกสารแนบท้ายฎีกาเป็นพยานเพิ่มเติมนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ขอให้ใช้ประกอบดุลพินิจของศาลฎีกาในข้อที่โจทก์ฎีกาว่า สิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณประโยชน์สามารถโอนให้แก่กันได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ต้องขออนุญาตระบุเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกา