พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4482/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์หลังมีคำพิพากษา ทำให้สัญญากู้ยืมใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
การที่โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินครบถ้วนแล้ว และ ป.รัษฎากร มาตรา 117 ให้ถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ แต่การปิดแสตมป์นั้นโจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะนำสัญญากู้ยืมเงินมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด เมื่อโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปปิดอากรแสตมป์หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว สัญญากู้ยืมเงินย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมต้องชัดเจน การลงลายมือชื่อเฉพาะรายการผูกพันเฉพาะผู้ลงลายมือชื่อ การเปลี่ยนแปลงฐานฟ้องต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามฟ้อง รายการแรกที่เขียนว่า "ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670" ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าเป็นการกู้ยืม ส่วนที่เขียนว่า "ยืม" ก็เขียนอยู่คนละบรรทัดและเขียนในลักษณะเป็นช่องสำหรับลงรายการทุกรายการที่จะมีต่อไป ไม่ใช่ระบุเฉพาะรายการ 390,670 เท่านั้น และในรายการที่ลงต่อ ๆ มา โจทก์ก็เขียนข้อความประกอบในแต่ละรายการว่าเป็นค่าอะไรบ้าง จึงไม่อาจแปลความคำว่า "ยืม" ตอนบนมาขยายความในช่องรายการแรกได้ ซึ่งข้อความ ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670 นั้น เป็นการแสดงว่าตัวเลข 390,670 นี้ นำมาจากสมุดเล่มเก่า ซึ่งรายการในสมุดเล่มเก่าจะมีกี่รายการ แต่ละรายการเป็นเงินอะไรบ้าง โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ เมื่อจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ จึงถือไม่ได้ว่าเอกสารดังกล่าวในรายการช่องแรกเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามรายการกู้ยืมที่จำเลยแต่ละคนลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จะให้จำเลยคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายการร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่ากรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นแต่เรื่องกู้ยืม หาได้กล่าวถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมสำหรับสามีภริยาไว้ด้วยไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามรายการกู้ยืมที่จำเลยแต่ละคนลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จะให้จำเลยคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายการร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่ากรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นแต่เรื่องกู้ยืม หาได้กล่าวถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมสำหรับสามีภริยาไว้ด้วยไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-การใช้คำเบิกความเป็นหลักฐาน: ศาลฎีกาพิพากษากลับ คดีกู้ยืมเงินที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องซ้ำ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาได้รับรองแล้ว แต่ตามฎีกาของโจทก์ทุกข้อเป็นข้อกฎหมาย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาจึงไม่จำต้องเพิกถอน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีผลบังคับใช้ได้ แม้การกู้ยืมส่วนหนึ่งไม่เกิดขึ้นจริง หากมีการกู้ยืมเงินจริงก่อนหน้านั้น
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 500,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ติดต่อขอกู้เงินโจทก์อีก 4,000,000 บาท แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยระบุรวมเอาจำนวนเงิน 500,000 บาท ที่จำเลยกู้จากโจทก์ไปก่อนหน้านั้นเข้าไว้ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท แม้การกู้เงินกันจำนวน 4,000,000 บาท ในภายหลังจะไม่เกิดขึ้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวก็ยังมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ในหนี้จำนวน 500,000 บาท ที่มีการกู้ยืมกันจริง และถือว่าโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีในหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท แล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบันทึกข้อความเอกสารที่พิพาทมีข้อความว่า วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เรื่อง ขอยืมเงิน และมีข้อความต่อไปว่า ข้าพเจ้านายสวาท ภิรมย์เอี่ยม (จำเลย) ขอยืมเงินป้าเกศินีฯ (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และจำเลยได้ลงลายมือในบันทึกดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย เมื่อฟังประกอบข้อเท็จจริงที่เป็นยุติว่า โจทก์ได้ถอนเงินจากธนาคารและมอบเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมอบบันทึกข้อความดังกล่าวแก่โจทก์ที่ธนาคาร ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จำนวน 20,000 บาท จำเลยผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อความดังกล่าวไว้เป็นสำคัญ บันทึกข้อความย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: หลักฐานการกู้ยืมต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ลงชื่อได้ และการกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมในสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับว่าต้องระบุชื่อผู้ให้กู้และผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย จำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้กับได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้ว แต่สัญญากู้เงินได้เว้นช่องผู้ให้กู้และกำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้กู้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะลงชื่อเพื่อเป็นหลักฐานในการนำคดีมาฟ้องร้องได้ ส่วนการที่โจทก์กรอกข้อความกำหนดชำระเงินคืนนั้น ข้อความดังกล่าวจะระบุไว้หรือไม่ก็ตาม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้วและบังคับแก่จำเลยได้เสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการพิสูจน์หลักฐานสัญญา การรับเช็คไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 600,000 บาท โดยโจทก์ออกเช็คให้จำเลยไปเบิกเงินจากธนาคารครบถ้วนแล้ว ในการนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ต้นขั้วเช็คให้โจทก์ ประกอบข้อความว่าได้รับเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ระบุว่าได้รับอะไร ข้อความดังกล่าวเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็ค ซึ่งด้านหน้าระบุชื่อจำเลย และจำนวนเงิน600,000 บาท ข้อความ 2 ด้าน อาจพอฟังประกอบกันได้ว่า ได้รับเช็คเงิน 600,000บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินเกินกว่า50 บาท ขึ้นไปถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ การกู้ยืมมีหลักฐานเป็นข้อความเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็คเพียงว่า ได้รับเรียบร้อยแล้วและลงลายมือชื่อจำเลย ส่วนด้านหน้าระบุชื่อจำเลยที่ 1 และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความ 2 ด้านฟังประกอบกันได้ว่าได้รับเช็คเงิน 600,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ถือว่าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ข้อจำกัดในการฟ้องร้องบังคับคดี
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 600,000 บาท โดยโจทก์ออกเช็คให้จำเลยไปเบิกเงินจากธนาคารครบถ้วนแล้ว ในการนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ต้นขั้วเช็คให้โจทก์ ประกอบข้อความว่าได้รับเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ระบุว่าได้รับอะไร ข้อความดังกล่าวเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็ค ซึ่งด้านหน้าระบุชื่อจำเลย และจำนวนเงิน 600,000 บาท ข้อความ 2 ด้านอาจพอฟังประกอบกันได้ว่า ได้รับเช็คเงิน 600,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จึงใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ หากไม่มีหลักฐานการปิดแสตมป์ที่น่าพอใจ ศาลไม่รับฟัง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เป็นที่พอใจว่าต้นฉบับเอกสารสัญญากู้ยืมเงินได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วศาลจึงรับฟังคู่ฉบับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้และเมื่อโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา653วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์