พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาอนุญาโตตุลาการ: การเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา, งานส่วนเพิ่มสนามกอล์ฟ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ... (2) มีกรณีปรากฏต่อศาลว่า (ก) คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย และมาตรา 11 บัญญัติให้สัญญาอนุญาโตตุลาการต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ทั้งนี้ สัญญาอนุญาโตตุลาการอาจเป็นสัญญาหนึ่งในสัญญาหลัก หรือเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการแยกต่างหากก็ได้ จึงเห็นได้ว่า การระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการเกิดจากข้อตกลงตามสัญญาระหว่างคู่พิพาท ซึ่งในส่วนนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่างานเพิ่มฝั่งสนามกอล์ฟ ผู้เรียกร้องได้เสนอค่างานส่วนนี้ ผู้คัดค้านได้ตรวจสอบค่างานดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีมูลค่าสูงเกินไปมาก คู่สัญญาจึงไม่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรจะให้ทำงานเพิ่มในส่วนใด เนื้องานแต่ละส่วนมีราคาค่าว่าจ้างเท่าใด อันเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามสัญญารับจ้างเหมาฯ ข้อ 14.5 ที่กำหนดว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาให้ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ทำสัญญาหรือบันทึกคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีจึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงให้มีการระงับข้อพิพาทในส่วนนี้ด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการและต้องถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการส่วนนี้เป็นคำชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ก) การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านยังไม่มีการตกลงว่าจ้างผู้ร้องในงานส่วนเพิ่มสนามกอล์ฟ และมีผลว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างหรือผลงานของงานที่ได้ทำไปแล้วในส่วนนี้เลย จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยดังกล่าว มีความหมายว่าคณะอนุญาโตตุลาการไม่รับวินิจฉัยข้อพิพาทในส่วนนี้ ซึ่งไม่ตรงกับที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยดังกล่าว แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้ด้วย แม้อาจจะแปลตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นได้ว่าผู้ร้องต้องไปเรียกร้องจากผู้คัดค้านเป็นอีกกรณีหนึ่งนอกเหนือจากการเรียกร้องตามสัญญาอนุญาโตตุลาการก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องมีผลเป็นการยอมรับว่าที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยมาชอบแล้ว ซึ่งทำให้ผู้ร้องไม่อาจเรียกร้องค่าทำการงานในงานส่วนเพิ่มสนามกอล์ฟนี้ตามคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่ว่าไม่มีการตกลงว่าจ้างผู้ร้องให้ทำงานเพิ่มในส่วนนี้ ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อนี้ จึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 และเห็นสมควรที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจอนุญาโตตุลาการ & การบังคับตามคำชี้ขาด: ความรับผิดของผู้ไม่เกี่ยวข้องในสัญญา
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ว่า สัญญาร่วมลงทุนและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นไม่ใช่สัญญาร่วมลงทุน แต่เป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินและการคิดดอกเบี้ย จึงเป็นนิติกรรมอำพราง ตกอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ที่ให้ศาลมีอำนาจในการวินิจฉัยเท่านั้น คณะอนุญาโตตุลาการจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปรับลดอัตราค่าตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี เป็นอัตราค่าตอบแทนร้อยละ 6 ต่อปี นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อต่อสู้ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสี่รับฟังไม่ได้ตามที่ต่อสู้ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งสี่จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาร่วมทุนและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ข้อ 12 เป็นเรื่องคำรับรองของผู้ถือหุ้นหลัก อันได้แก่ ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 และข้อตกลงซื้อหุ้นคืนเป็นข้อตกลงระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 กับผู้ร้องโดยตรง ผู้คัดค้านที่ 1 หาได้เกี่ยวข้องหรือรับที่จะซื้อหุ้นคืนจากผู้ร้องไม่ การที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมรับผิดกับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย จึงเป็นคำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาท ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ แต่ศาลชั้นต้นกลับไม่ทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (4) ย่อมเป็นการไม่ชอบ
บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาร่วมทุนและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ข้อ 12 เป็นเรื่องคำรับรองของผู้ถือหุ้นหลัก อันได้แก่ ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 และข้อตกลงซื้อหุ้นคืนเป็นข้อตกลงระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 กับผู้ร้องโดยตรง ผู้คัดค้านที่ 1 หาได้เกี่ยวข้องหรือรับที่จะซื้อหุ้นคืนจากผู้ร้องไม่ การที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมรับผิดกับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย จึงเป็นคำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาท ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ แต่ศาลชั้นต้นกลับไม่ทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (4) ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาพิพาท (Funding Agreement) ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน และศาลยืนตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปี 2538 ผู้ร้องกับบริษัท ท. ร่วมกันจัดตั้งบริษัทกิจการร่วมค้า ตามคำคัดค้านชั้นอนุญาโตตุลาการ ปี 2544 บริษัทกิจการร่วมค้าดังกล่าวทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน โดยผู้ร้องทำสัญญาพิพาทไว้กับผู้คัดค้านรับรองว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้โครงการของผู้กู้แล้วเสร็จ โดยเอกสารระบุว่าสัญญานี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายไทย ซึ่งกฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องนำสัญญาดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐก่อนการมีผลใช้บังคับ แม้ผู้ร้องไม่ได้นำสัญญาไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องบกพร่องความสามารถในการเข้าทำสัญญาตามกฎหมายไทย สัญญาพิพาทจึงสมบูรณ์ เมื่อสัญญาพิพาท ข้อ 2 ระบุว่าผู้ร้องให้คำรับรองว่าจะสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทกิจการร่วมค้า ผู้กู้ เพื่อให้สามารถทำโครงการจนแล้วเสร็จ และข้อ 3 ระบุว่าผู้ร้องจะชำระเงินแก่ผู้คัดค้านในฐานะผู้ให้กู้สำหรับการขาดทุน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าเสียหายต่าง ๆ เนื่องจากผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 2 ดังนั้น ข้อตกลงหลักของสัญญาพิพาทคือผู้ร้องมีหน้าที่สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้กู้ จะมีความรับผิดต้องชำระเงินแก่ผู้ให้กู้ต่อเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ข้างต้น ไม่ใช่ข้อตกลงที่ผู้ร้องยอมผูกพันตนชำระหนี้แก่ผู้ให้กู้หากผู้กู้ไม่ชำระ สัญญาพิพาท (Funding Agreement) จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นสัญญาทางแพ่งประเภทหนึ่งที่ไม่มีชื่อระบุใน ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ผู้ร้องก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยผิดสัญญาได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายจากพยานหลักฐาน ชอบแล้วตามกฎหมาย
การกำหนดค่าเสียหายเป็นการใช้ดุลพินิจของคณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่างๆ สำหรับข้อวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญามาจากข้อเท็จจริงในสำนวนที่ว่าผู้ร้องไม่ส่งมอบงานงวดที่ 3 ไม่เข้าร่วมประชุมวันที่ 23 มีนาคม 2554 เพื่อปรับปรุงงานงวดที่ 3 ของกรมการค้าภายในและไม่เข้าร่วมประชุมวันที่ 24 มีนาคม 2554 กับคณะกรรมการตรวจรับงานงวดที่ 3 ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับงานมีมติให้ผู้รับจ้างแก้ไขงานงวดที่ 3 ให้เสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 หลังจากนั้นคณะกรรมการตรวจรับงานยังประชุมกับคณะทำงานของผู้คัดค้านอีกอย่างน้อย 4 ครั้ง โดยผู้ร้องไม่เข้ามาดำเนินการใดในงวดที่ 3 ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยเห็นว่าข้อแก้ตัวต่างๆของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น ดังนั้นคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจึงชอบแล้ว การยอบรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คำพิพากษาของศาลแพ่งไม่ได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14524/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: กำหนดเวลา 90 วัน และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
ตามคำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยผู้คัดค้าน ข้อ 7.1 ระบุว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ข้อ 7.2 ระบุว่า องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (จ) และในข้อ 7.3 ระบุว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง จึงต้องดำเนินการภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ความว่าเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้วได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
สำหรับข้อคัดค้านของผู้ร้องว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
สำหรับข้อคัดค้านของผู้ร้องว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14524/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ต้องยื่นคำร้องภายใน 90 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำชี้ขาด
ตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยผู้คัดค้าน ระบุว่า ผู้ร้องมีความประสงค์จะร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายที่ระบุอยู่ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 กล่าวคือ ข้อ 7.1 ระบุว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการอันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ข้อ 7.2 ระบุว่าองค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (จ) และในข้อ 7.3 ระบุว่าการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด" ดังนั้น เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ให้เพิกถอนบรรดาข้อเรียกร้องทั้งหมดของผู้ร้อง โดยแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำร้อง และมีคำสั่งไม่รับคำร้องเพราะคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ก็ตาม กรณีดังกล่าวจึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง
ข้อคัดค้านของผู้ร้องว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
ข้อคัดค้านของผู้ร้องว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับค่าขึ้นศาลในคดีอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (1) - (5)
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการตรวจรับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. ภาค 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยการอุทธรณ์ ที่ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับชั้นศาล
และจะถือเป็นการอนุโลมว่าผู้ร้องประสงค์จะอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ร้องมิได้ทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์เพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกา ตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องมายังศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการตรวจรับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. ภาค 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยการอุทธรณ์ ที่ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับชั้นศาล
และจะถือเป็นการอนุโลมว่าผู้ร้องประสงค์จะอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ร้องมิได้ทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์เพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกา ตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องมายังศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนด การตีความความรับผิดของผู้รับประกันภัย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา เว้นแต่ (1) การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (2) คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน (3) คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไม่ตรงกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (4) ผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งพิจารณาคดีนั้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ในคำพิพากษา หรือ (5) เป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยการใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่พิพาทตามมาตรา 16 เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในปัญหาเพียงข้อเดียวว่า ศาลชั้นต้นตีความความรับผิดของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ในกรณีผู้รับประกันภัยรับประกันจากผู้เอาประกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไม่ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของผู้ร้องโดยให้เหตุผลในคำวินิจฉัยว่า การที่อนุญาโตตุลาการให้ผู้ร้องรับผิดจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้นนั้น ก็เป็นการจ่ายไปตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการจ่ายและระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาตโตตุลาการจึงชอบแล้ว กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายทั้งห้าวงเล็บดังกล่าวข้างต้นที่จะอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14670/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ผิดช่องทางในคดีอนุญาโตตุลาการ ศาลฎีกายกคำอุทธรณ์และฎีกา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ กรณีจึงเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาแล้ว การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามมาตรา 45 วรรคท้าย การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาจึงไม่ชอบเช่นกัน การที่ผู้ร้องยื่นฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ศาลฎีการับฎีกาไว้พิจารณา กรณีจึงต้องยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และยกฎีกาของผู้ร้อง แต่การที่สำนวนคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องมายังศาลฎีกาอีก
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ นั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 45 (1) ถึง (5) การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์อ้างข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องเป็นภรรยาอยู่กินโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ ป. และ ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุให้ผู้ร้องขอสินเชื่อเช่าซื้อและทำประกันภัย จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัยนั้น ล้วนเป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนของอนุญาโตตุลาการ และศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 45
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ นั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 45 (1) ถึง (5) การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์อ้างข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องเป็นภรรยาอยู่กินโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ ป. และ ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุให้ผู้ร้องขอสินเชื่อเช่าซื้อและทำประกันภัย จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัยนั้น ล้วนเป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนของอนุญาโตตุลาการ และศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาอนุญาโตตุลาการ: เหตุต้องห้ามตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
ตามอุทธรณ์ของผู้ร้องกล่าวอ้างเพียงว่าศาลชั้นต้นเลือกรับฟังพยานหลักฐานในบางเรื่องแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไป โดยอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อน และผู้ร้องเห็นว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันนำไปสู่การอ้างว่าการฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบทำให้ปรับบทกฎหมายผิด เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่จะเป็นคำพิพากษาที่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา