พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12665/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเรา, กระทำอนาจาร, พาเด็กไปเพื่อการอนาจาร: ศาลฎีกาปรับบทและพิพากษา
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า "พราก" หมายความว่าจากไป พาเอาไปเสีย แยกออกจากกัน เอาออกจากกัน ดังนั้น ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จึงหมายถึง การพาหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 2 ทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารให้จำเลย หากรถยนต์โดยสารของจำเลยถึงจังหวัดตรังเวลาค่ำ จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 จะนอนค้างคืนที่ห้องเช่า อีกทั้งผู้ร้องเคยไปพักกับผู้เสียหายที่ 2 ที่ห้องเช่าดังกล่าวด้วย แสดงว่าผู้ร้องรู้เห็นยินยอมให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ห้องเช่าจังหวัดตรังกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
การกระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ เช่น กอดจูบ ลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลุกปล้ำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง และฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ก ข้อ 2 ก ข้อ 3 ก และข้อ 4 ก ว่า จำเลย...ได้บังอาจพราก...ผู้เสียหายที่ 2...ด้วยการพาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองดูแลของ...ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อการอนาจาร ทั้งโจทก์ได้อ้างฐานความผิดไว้ในตอนต้นว่าพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และคำขอท้ายฟ้องอ้าง ป.อ. มาตรา 283 ทวิ ไว้ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ฐานความผิด และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) (5) และ (6) แล้ว ถือได้ว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายครบองค์ประกอบความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง แล้ว
การกระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ เช่น กอดจูบ ลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลุกปล้ำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง และฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ก ข้อ 2 ก ข้อ 3 ก และข้อ 4 ก ว่า จำเลย...ได้บังอาจพราก...ผู้เสียหายที่ 2...ด้วยการพาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองดูแลของ...ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อการอนาจาร ทั้งโจทก์ได้อ้างฐานความผิดไว้ในตอนต้นว่าพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และคำขอท้ายฟ้องอ้าง ป.อ. มาตรา 283 ทวิ ไว้ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ฐานความผิด และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) (5) และ (6) แล้ว ถือได้ว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายครบองค์ประกอบความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนผู้อื่นกระทำชำเราเด็ก – เจตนาพาไปเพื่อกระทำชำเรา – ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283
จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าจะขับรถจักรยานยนต์พาไปส่ง แล้วกลับให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ จ. พวกของจำเลยที่ 1 พาไปพักที่โรงแรม เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เดินออกจากโรงแรม จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 1 กลับเข้าไปในห้องพักภายในโรงแรมโดยมี จ. ซึ่งไปด้วยรออยู่แล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นเป็นใจกับพวกที่ไปด้วยกัน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกพวกของจำเลยที่ 1 ที่ไปด้วยกันกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่ความผิดฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารนั้น จำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาเดียวคือพาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้พวกของตนกระทำชำเรา จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์ฟ้องไม่
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้ว ก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ จ. กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อสนองความใคร่ของ จ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้ว ก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ จ. กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อสนองความใคร่ของ จ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19958/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กต้องมีการพาไปเสีย การกระทำอนาจารต่อเด็กแต่ละคนมีเจตนาเดียวกัน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 แม้จะมุ่งคุ้มครองมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวน หรือกระทำการใด ๆ อันจะกระทบต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก แต่กรณีจะเป็นความผิดดังกล่าวได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการพราก ซึ่งหมายถึงการพาไปเสียประกอบด้วย การที่เด็กทั้งห้ามาที่ห้องพักของจำเลยด้วยความสมัครใจ จำเลยไม่เคยเป็นผู้พามา และเด็กทั้งห้าสามารถกลับบ้านของตนเองได้เสมอหากต้องการเช่นนั้น เช่นนี้จำเลยจึงมิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการพรากเด็กทั้งห้าไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล จำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14795/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
ผู้เสียหายที่ 2 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ผู้เป็นป้า ตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 3 ปีเศษ เนื่องจากบิดามารดาของผู้เสียหายที่ 2 หย่าร้างกัน ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในฐานะผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปพบแล้วพาขึ้นบ้านไปที่ระเบียง แล้วดึงแขนผู้เสียหายที่ 2 จากระเบียงพาเข้าห้องไปกระทำชำเรา เป็นการรบกวนล่วงอำนาจผู้ดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะใช้ถ้อยคำว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ปกครองคลาดเคลื่อนไป ศาลฎีกาก็ปรับบทให้ถูกต้องได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความและตามฟ้องโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14526/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10284/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำชำเรา การนิยามความหมายของการ “พราก” และการรบกวนอำนาจปกครอง
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเด็กเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปหาที่บ้านจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปที่ห้องนอนของจำเลย และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้ อำนาจปกครองผู้เสียหายที่ 1 จึงยังคงอยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้เสียหายที่ 2 ย่อมทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอมด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางเพศต่อเด็กและการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนที่สอดคล้องกับคำพิพากษาในคดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยมิได้มีการพรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร การพิพากษาคดีส่วนแพ่งของจำเลยต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่าจำเลยไม่ได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากผู้เสียหายที่ 2 และที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชำเรา ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการอุทธรณ์คัดค้านพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันพรากโจทก์ร่วมที่ 2 อายุ 14 ปีเศษ ไปจากโจทก์ร่วมที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยทั้งหกโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเรา อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและจำคุกตลอดชีวิต แม้จำเลยทั้งหกให้การรับสารภาพ โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งหกเพื่อพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดตามฟ้องและศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองจนกว่าจะพอใจว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหมด การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นฝ่ายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เอง และโจทก์ร่วมที่ 2 ยินยอมให้จำเลยทั้งหกมีเพศสัมพันธ์ เป็นการอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพไม่สมฟ้องนั่นเอง ไม่ใช่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์อันเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งจะต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำอนาจาร ต้องมีการพาเด็กออกจากความปกครองดูแลของบิดามารดา หรือผู้ดูแล
จำเลยเพียงแต่พาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่โรงครัวและห้องน้ำภายในวัดศรีบุญเรืองที่ผู้เสียหายที่ 1 เล่นชิงช้าอยู่เพื่อกระทำอนาจาร เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ส. มาเรียก จำเลยก็ปล่อยผู้เสียหายที่ 1 กลับไปโดยดี โดยมิได้มีการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 แต่อย่างใด การที่จะเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จะต้องเป็นการพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ซึ่งคำว่า "พราก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า จากไป พา เอาไปจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่เข้าลักษณะพาหรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กอันทำให้ความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนสิทธิ จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
ในส่วนของจำเลยที่ 7 ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 5 ขับรถยนต์กระบะออกจากขนำที่เกิดเหตุไปโดยบอกว่าจะไปรับพวกอีกคนหนึ่ง แล้วจำเลยที่ 5 ขับรถยนต์กระบะกลับมาพร้อมจำเลยที่ 7 เมื่อมาถึงขนำที่เกิดเหตุ ในขณะที่จำเลยที่ 7 ยืนปัสสาวะอยู่ จำเลยที่ 4 และที่ 6 ซึ่งกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เสร็จแล้วได้ออกมาจากขนำ โดยผู้เสียหายที่ 1 เดินตามออกมาด้วย จำเลยที่ 7 จับมือผู้เสียหายที่ 1 พร้อมถามว่าจะไปไหน ผู้เสียหายที 1 ตอบว่าขอไปปัสสาวะ จำเลยที่ 7 ไม่เชื่อดึงมือผู้เสียหายที่ 1 ไว้อีก ผู้เสียหายที่ 1 สะบัดหลุดวิ่งหนีเข้าไปในป่า จำเลยที่ 7 กับพวกติดตามไม่พบ เนื่องจากผู้เสียหายซ่อนตัวอยู่นั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 7 มีส่วนร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับจำเลยอื่นในการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารมาแต่ต้น การที่จำเลยที่ 7 มายังขนำที่เกิดเหตุและกระทำการดังกล่าวหลังจากที่จำเลยอื่นได้พาผู้เสียหายที่ 1 มากระทำชำเราแล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 7 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยอื่นพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร