คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 655

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นและการพิจารณาคดีใหม่
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่าการถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆ ที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคารพร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่ง-ประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไป ข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันคดีนี้ด้วยและธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควร ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวแสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝาก-กระแสรายวันกับโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีตามบัญชี-เงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวสืบไปโดยจำเลยใช้ใบฝากเงินตามแบบของโจทก์ในการฝากเงิน และใช้เช็คในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของจำเลย หากโจทก์จ่ายเงินตามเช็คไปทั้งที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ จำเลยก็ตกลงจะใช้เงินที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีไปคืนให้โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินเป็นต้นไป ทั้งนี้โดยโจทก์จะจัดส่งรายการเดินสะพัดทางบัญชีเงินฝากไปยังจำเลยเดือนละหนึ่งครั้งการฝากและการถอนเงินจากบัญชี-กระแสรายวันดังกล่าวนี้โจทก์จำเลยตกลงให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปถือปฏิบัติมาใช้บังคับด้วย และโจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของจำเลยเมื่อใดก็ได้ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 แล้ว โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามฟ้องได้ตามประเพณี-การค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4963/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและการคิดดอกเบี้ยเกินบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
การที่จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารได้จ่ายเงินเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันที่ชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน โดยมิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้นั้น ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมเงิน หรือการทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ธนาคารโจทก์จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 มิได้บังคับโดยเด็ดขาดมิให้ธนาคารจ่ายเงินเกินบัญชีของผู้เคยค้า และตามเงื่อนไขคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวก็ให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราสัญญาเดิม และขอบเขตการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารโจทก์ไม่ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ค้างชำระแสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, การหักทอนบัญชี, สิทธิของธนาคารพาณิชย์
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันในลักษณะบัญชี เดินสะพัดและปฏิบัติการหักทอนบัญชีกันตลอดมา โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ จึง มีสิทธิคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ ไม่เกิน อัตรา สูงสุด ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีของธนาคาร แม้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะกำหนดให้ชำระหนี้กันหมดสิ้น ภายในวันที่ 30 มกราคม 2528 ก็ตาม แต่ปรากฏตามการ์ดบัญชี เงินฝาก กระแสรายวันว่า หลังจากวันนั้นยังมีทั้งการถอนเงินจากบัญชี และ การ นำ เงิน เข้าบัญชี แสดงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะให้มีการเดินสะพัด ทาง บัญชี กัน ต่อไปบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และแม้ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2528แล้ว จะปรากฏตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่า มี เฉพาะ การ นำเข้าบัญชีเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีการถอนเงิน จาก บัญชี อีก เลย ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดง เจตนา บอกเลิก สัญญา แก่ อีกฝ่าย หนึ่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่าง โจทก์จำเลยทั้งสองจึงยังไม่เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, การหักชำระหนี้จากเงินฝาก, เจตนาใช้สิทธิ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงต่ออายุสัญญาออกไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดที่ต่ออายุสัญญาคงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับต้นเงินเป็นประจำเดือนตลอดมา ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดในบัญชีอันจะแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก และจำเลยผิดนัดไม่นำเงินส่วนที่เหลือหลังจากหักทอนบัญชีแล้วมาชำระ ทั้งโจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเสียเมื่อครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่จำเลยได้ตกลงยินยอมไว้ตั้งแต่ตอนแรกที่ทำสัญญาคงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนเกือบ 2 ปี โจทก์จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชี พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นไปโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้อย่างไม่ทบต้นเท่านั้น ทั้งโจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงและเป็นวันที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าวโจทก์ได้นำเงินฝากประจำของจำเลยบางส่วนมาหักใช้หนี้โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาใช้สิทธิตามที่ได้ตกลงกันไว้เพื่อระงับหนี้ที่มีอยู่แล้ว หนี้ที่เหลือโจทก์ก็ชอบที่จะนำเงินฝากประจำของจำเลยที่เหลือทั้งหมดมาหักใช้หนี้ หากมีหนี้คงเหลืออยู่อีกเท่าใด โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด หากไม่มีการต่ออายุ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อ
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือนตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการคิดดอกเบี้ยทบต้น ศาลยืนตามสิทธิเรียกร้องเดิมในต้นเงิน
แม้จำเลยยอมรับตามหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินตามเช็คทั้งสองฉบับกับดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 71,058.78 บาท ก็ตามแต่ในหนังสือดังกล่าวก็ระบุไว้ชัดว่าจำเลยตกลงจะขอชำระหนี้จำนวน 20,000 บาท ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2524และขอผ่อนชำระหนี้ที่เหลือเดือนละ 2,000 บาท ภายในสิ้นเดือนของทุกเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามปกติ กับขอให้โจทก์งดคิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนชำระและลดหย่อนให้บ้าง หาได้รับสภาพหนี้ในต้นเงิน71,058.78 บาท โดยยินยอมให้โจทก์เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา655 ไม่ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในต้นเงิน30,000 บาท ตามเช็คทั้งสองฉบับรวมกัน ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่เดิมต่อจำเลยผู้เป็นลูกหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินเดิม แม้มีการตกลงผ่อนผันหนี้
แม้จำเลยยอมรับตามหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินตามเช็คทั้งสองฉบับกับดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 71,058.78 บาท ก็ตามแต่ในหนังสือดังกล่าวก็ระบุไว้ชัดว่าจำเลยตกลงจะขอชำระหนี้จำนวน 20,000 บาท ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2524 และขอผ่อนชำระหนี้ที่เหลือเดือนละ 2,000 บาทภายในสิ้นเดือนของทุกเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามปกติกับขอให้โจทก์งดคิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนชำระและลดหย่อนให้บ้าง หาได้รับสภาพหนี้ในต้นเงิน 71,058.79 บาท โดยยินยอมให้โจทก์เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในต้นเงิน30,000 บาท ตามเช็คทั้งสองฉบับรวมกัน ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่เดิมต่อจำเลยผู้เป็นลูกหนี้.
of 15