คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และการยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดี
เมื่อยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 7ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ซึ่งตามมาตรา 60 นี้บัญญัติว่า เมื่อศาลแรงงานกลาง (สงขลา) สั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น ศาลแรงงานกลาง (สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลาดังนั้น ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และการยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดี
เนื่องจากยังไม่มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 7 ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วยตามมาตรา 60ศาลแรงงานกลาง (สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลา ทนายจำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามยื่นต่อศาลผิดอำนาจ แม้ศาลมีคำสั่งขยายเวลา แต่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 229 ประกอบด้วย มาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยคู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนดังนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยาย ระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาและการขยายระยะเวลาในกรณีที่ศาลมีเขตอำนาจต่างกัน การยื่นฎีกาต้องทำต่อศาลที่มีคำพิพากษา
ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบด้วยมาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10แห่ง ป.วิ.พ.
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยที่ 1จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยและหน้าที่ของทนายความ
ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายเวลากำหนดยื่นฎีการวมสองครั้งแล้วต่อมาทนายโจทก์อ้างว่าต้องเดินทางไปจัดการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินที่จังหวัดระนองเมื่อเสร็จธุรกิจแล้วเช้ามือของวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาทนายโจทก์ขับรถยนต์กลับกรุงเทพมหานครแต่รถยนต์ออกจากจังหวัดระนองไปได้ประมาณ20กิโลเมตรเศษก็เกิดอุบัติเหตุตกคูน้ำข้างถนนต้องนำรถยนต์ไปซ่อมทนายโจทก์นั่งรถยนต์โดยสารเข้ากรุงเทพมหานครทำฎีกาใหม่ไปยื่นต่อศาลหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ดังนี้ถึงแม้ว่ารถยนต์ส่วนตัวของทนายโจทก์จะเกิดเสียหายในวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาแต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา10 เปิดโอกาสไว้หรือแจ้งต่อกรรมการโจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เพื่อให้ตัวความไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นเองฉะนั้นเหตุการณ์ตามที่ทนายโจทก์กล่าวอ้างจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยต้องแจ้งศาล/ผู้รับมอบอำนาจ หากไม่แจ้งถือมิได้เป็นเหตุพิเศษ
ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายเวลากำหนดยื่นฎีการวมสองครั้งแล้ว ต่อมาทนายโจทก์อ้างว่าต้องเดินทางไปจัดการปัญหาเรื่องที่ดินที่จังหวัดระนอง เมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว เช้ามืดของวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาทนายโจทก์ขับรถยนต์กลับกรุงเทพมหานคร แต่รถยนต์ออกจากจังหวัดระนองไปได้ประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ ก็เกิดอุบัติเหตุตกคูน้ำข้างถนนต้องนำรถยนต์ไปซ่อมทนายโจทก์นั่งรถยนต์โดยสารเข้ากรุงเทพมหานครทำฎีกาใหม่ไปยื่นต่อศาลหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ ดังนี้ ถึงแม้ว่ารถยนต์ส่วนตัวของทนายโจทก์จะเกิดเสียหายในวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกา แต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 10 เปิดโอกาสไว้หรือแจ้งต่อกรรมการโจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เพื่อให้ตัวความไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นเอง ฉะนั้นเหตุการณ์ตามที่ทนายโจทก์กล่าวอ้างจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาขอรับชำระหนี้เฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นตามกำหนด
พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 91 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้อีกไม่เกิน 2 เดือน เฉพาะแต่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้การที่เจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยสุจริตเพราะเหตุจำเลยได้เปลี่ยนชื่อใหม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะมิเช่นนั้นจะเท่ากับเป็นการขยายเวลาตามมาตรา 91 ออกไป ซึ่งไม่มีกฎหมายให้กระทำได้ และกรณีไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 10 และมาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลแพ่งมีอำนาจอนุญาตเลื่อนคดีได้ แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ไม่ได้ไปศาลเจ้าของคดีตามนัด แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์และทนายโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ อ้างเหตุว่าทนายโจทก์ป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และความเห็นของแพทย์แนบไปด้วยศาลแพ่งจึงสั่งให้โจทก์เลื่อนคดีและได้แจ้งให้ศาลเจ้าของคดีทราบอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลแพ่งมีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนวันสืบพยาน 3 วันก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลเจ้าของคดีสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อนทราบคำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ศาลเจ้าของคดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โดยที่โจทก์ยังมิได้ชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและไม่มีผลผูกพันคู่ความ
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดี หาใช่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตามสัญญาประกัน กรณีจำเลยหลบหนี และการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีที่ไม่ถูกต้อง
กรณีมีอุบัติเหตุรถยนต์ติดหล่มเดินทางไปยังศาลที่พิจารณาคดีไม่ทัน ผู้ประกันมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและผัดการส่งตัวจำเลยต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตในขณะนั้นโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 10 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ แต่การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตขณะเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13.40นาฬิกา ซึ่งล่วงเลยเวลานัดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าการเดินทางต่อไปยังศาลชั้นต้นคดีนี้ต้องใช้เวลามากกว่าหรือยากลำบากกว่าเพียงใด ผู้ประกันจึงไม่อาจนำจำเลยไปแสดงตัวต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ได้ ทั้งยังปรากฏต่อมาว่าเมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอื่น ผู้ประกันก็ส่งตัวจำเลยตามสัญญาประกันไม่ได้ แม้ภายหลังจากที่ศาลสั่งปรับผู้ประกันฐานผิดสัญญาประกันแล้ว ผู้ประกันก็มิได้นำส่งตัวจำเลยต่อศาลเพื่อขอลดค่าปรับหรือบรรเทาผลร้ายอีก เช่นนี้เชื่อได้ว่าจำเลยหลบหนีไม่มาศาลชั้นต้นตามกำหนดนัดตั้งแต่วันที่อ้างว่ามีอุบัติเหตุแล้ว.
of 4