พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อกรณีรถหาย และขอบเขตค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีผู้บริโภคต้องสอบถามคำให้การจำเลยก่อน หากจำเลยแสดงความประสงค์ต่อสู้คดี
ในการพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าศาลต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลจัดให้มีการสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลจัดให้มีการบันทึกคำให้การนั้นและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ วรรคสอง ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคหนึ่ง และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีนี้ในวันนัดพิจารณาจำเลยมาศาลและแถลงต่อศาลว่าไม่เคยสมัครสินเชื่อกับโจทก์และไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ ขอต่อสู้คดี เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่ความไม่อาจตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาดังกล่าวแต่ยังไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กล่าวคือต้องจัดให้มีการสอบถามคำให้การจำเลย โดยจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคหนึ่งและไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การ จึงจะมีผลตามวรรคสอง คือ ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาโดยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จการพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปอย่างกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไปเสียทีเดียวโดยไม่จัดให้มีการสอบถามคำให้การจำเลยก่อน การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 26 วรรคหนึ่งและวรรคสอง กรณีมีเหตุสมควรยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้อง หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและอาจเพิกถอนได้
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลไม่ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 131 และ มาตรา 133 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา โดยมาตรา 104 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ ทั้งมาตรา 87 (1) ยังบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบ อันเป็นความหมายว่า การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดี ศาลต้องอาศัยพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีในคดีนั้น ๆ ด้วย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติ และต้องนำมาใช้กับคดีผู้บริโภคด้วย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อประกันการชำระหนี้ร่วมกัน และสิทธิในการรับเงินคืนเมื่อศาลพิพากษา
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ต้องวางต่อศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 7 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์และมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชําระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมคนหนึ่งได้นําเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้ว จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการยื่นอุทธรณ์อีกเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อนเท่านั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยที่ 2 วางเงินแทนจำเลยที่ 1 ไม่ และเงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชําระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ หาใช่เป็นการวางเพื่อชําระหนี้แก่คู่ความฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นไม่ จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ชนะคดี และให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกําหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะร้องขอให้คืนเงินที่วางนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฆษณาเกินจริง-ความรับผิดทางละเมิด: การร่วมกันฉ้อโกงผู้บริโภคและความรับผิดของแพทย์
จำเลยที่ 1 มีอำนาจในการตัดสินใจรับผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการตรวจร่างกายเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 และหากมีผู้เข้าร่วมโครงการกับจำเลยที่ 1 จำนวนมากก็จะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์จากค่าผ่าตัดเป็นจำนวนมากไปด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในโครงการของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินโครงการร่วมกัน และจำเลยที่ 1 ในฐานะร่วมเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 ในการผ่าตัดศัลยกรรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการด้วยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 4 ก่อขึ้น ในส่วนของความรับผิดในการโฆษณาด้วยข้อความที่เกินความจริง แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องอาจเป็นได้ทั้งละเมิดและสัญญา แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ กรณีต้องถือว่าไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องผิดสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำโฆษณาและคำรับรองของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เมื่อการโฆษณาและรับรองไม่ตรงกับความจริง จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 เมื่อปัญหานี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 โฆษณาว่าผ่าตัดไร้รอยแผลเข้าลักษณะข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริงอันเป็นกรณีจำเลยที่ 1 ละเมิดสิทธิของโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ จึงต้องรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และ ที่ 3 ถือได้ว่าดำเนินการโครงการร่วมกัน การที่จำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 โฆษณาโครงการด้วยข้อความเกินความจริง แต่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 ยังรับทำศัลยกรรรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวมาตลอด ย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ร่วมรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 โฆษณาโครงการเกินจริง จึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนองหลังการล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งอนุญาต
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 24 บัญญัติห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 โดยเด็ดขาดแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ในมูลหนี้จำนองตามมาตรา 95 ประกอบมาตรา 22 การที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้จำเลยที่ 1 งดดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ไปดำเนินการตามกฎหมายอื่น มีผลเป็นการสละสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงตามมาตรา 145 (3) ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินในกองทรัพย์สินในคดีล้มละลายของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 1 ต้องมีหน้าที่รวบรวมนำมาขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นเพื่อนำมาแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ และไม่มีอำนาจต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงตามมาตรา 22 (3) แทนจำเลยที่ 2 อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับจำนองที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงด้วยตนเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับจำนองที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงดังเช่นคดีแพ่งทั่วไป การที่ศาลล่างมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นการเข้าใช้บัญชีผู้บริโภคโดยไม่แจ้งเหตุผล เป็นการละเมิดสิทธิ และขัดต่อหลักสุจริตตาม พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
จำเลยประกอบธุรกิจในการทำตลาดสินค้าหรือบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสื่อสารข้อมูลบนแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ของจำเลย เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่นโดยตรงต่อบุคคลทั่วไปในฐานะเป็นผู้บริโภคที่สมัครเข้ารับบริการในเว็บไซต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่น เข้าลักษณะตามนิยามศัพท์คำว่า "ตลาดแบบตรง" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นการเข้าถึงบริการของผู้บริโภคโดยไม่แจ้งเหตุผล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาตัดสินให้คืนสิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภค
จำเลยประกอบธุรกิจในการทำตลาดสินค้าหรือบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสื่อสารข้อมูลบนแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ของจำเลย เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่นโดยตรงต่อบุคคลทั่วไปในฐานะเป็นผู้บริโภคที่สมัครเข้ารับบริการในเว็บไซต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่น เข้าลักษณะตามนิยามศัพท์คำว่า "ตลาดแบบตรง" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทางปริยาย, สัญญาประกันภัย, ละเมิด: การกรอกข้อมูลไม่ตรงจริงทำให้ประกันภัยเป็นโมฆะ และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดทางละเมิด
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า โจทก์ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในคำขอเอาประกันภัยว่า โจทก์มีส่วนสูง 163 เชนติเมตร น้ำหนัก 85 กิโลกรัม ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาน้ำหนักลดลง 2 กิโลกรัม เนื่องจากออกกำลังกาย และในระหว่าง 3 ปีที่แล้วมา โจทก์เคยให้แพทย์ตรวจหรือเข้าสถานพยาบาลรักษาตัวโดยโจทก์เคยตรวจประจำของบริษัทที่โจทก์เป็นพนักงาน โจทก์เคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลชิ้นเนื้อปกติ แต่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความในแบบพิมพ์คำขอเอาประกันชีวิตไม่ตรงกับที่โจทก์แจ้ง เป็นว่า โจทก์มีส่วนสูง 163 เซนติเมตร น้ำหนัก 65 กิโลเมตร ในระหว่าง 3 ปีที่แล้ว โจทก์ไม่เคยให้แพทย์ตรวจหรือเข้าสถานพยาบาลรักษาตัว และไม่มีข้อความว่า โจทก์ผ่าตัดเนื้องอกที่มดลูกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และข้อเท็จจริงได้ความเพิ่มเติมจากพนักงานของจำเลยที่ 1 ตอบคำถามค้านว่า ขั้นตอนการขอทำประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 นั้น ลูกค้าจะต้องกรอกแบบคำขอทำประกันชีวิต โดยจะแจ้งให้ตัวแทนกรอกให้หรือจะกรอกเองก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนขายประกันของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2552 ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกค้าจำเลยที่ 1 ในเรื่องส่วนสูง น้ำหนัก ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักภายในรอบ 6 เดือน สาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลง การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผลการตรวจโลหิต ความดันโลหิต ปัสสาวะ เอกซเรย์ หัวใจ หรือตรวจอย่างอื่น ที่ปรากฎในแบบฟอร์มคำขอเอาประกันภัยของจำเลยที่ 1 แล้วกรอกข้อมูลลงในคำขอเอาประกันชีวิตแทนโจทก์ส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากลูกค้าอีก และถือเอาข้อมูลที่จำเลยที่ 2 กรอกลงในคำขอเอาประกันชีวิตเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของตนตามความเป็นจริง แต่จำเลยที่ 2 กลับกรอกข้อมูลไม่ตรงกับที่โจทก์แจ้ง และส่งไปให้จำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมไม่มีทางทราบได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับประกันชีวิตแทนจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 สอบถามรายละเอียดของข้อมูลสุขภาพของลูกค้าและถือเอาข้อมูลดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 1 ในการสอบถามข้อมูลสุขภาพดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
แม้คำฟ้องของโจทก์ระบุด้วยว่า จำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ โดยร่วมกันทำคำขอเอาประกันภัยของโจทก์ไม่ตรงกับที่โจทก์แจ้ง แต่สภาพแห่งข้อหาเป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาประกันภัยด้วยการปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สาระสำคัญของคำฟ้องเป็นเรื่องการผิดสัญญาโดยตรง ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยปริยาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
แม้คำฟ้องของโจทก์ระบุด้วยว่า จำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ โดยร่วมกันทำคำขอเอาประกันภัยของโจทก์ไม่ตรงกับที่โจทก์แจ้ง แต่สภาพแห่งข้อหาเป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาประกันภัยด้วยการปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สาระสำคัญของคำฟ้องเป็นเรื่องการผิดสัญญาโดยตรง ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยปริยาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3690/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การบังคับจำนองทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อน ธนาคาร ศ. เป็นโจทก์ฟ้อง ธ. กับพวกรวม 6 คน ให้รับผิดเรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง แต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีใจความว่า จำเลยทั้งหกตกลงชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้บังคับยึดที่ดินทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม กรณีถือได้ว่า ประเด็นแห่งคดีได้รับการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอมนั้น การที่จำเลยทั้งหกในคดีดังกล่าวผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประยอมความข้างต้นเป็นเรื่องที่ธนาคาร ศ. รวมถึงโจทก์ผู้เข้าสวมสิทธิ เป็นคู่ความแทนชอบที่จะต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดีในคดีเดิม ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ส. ซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร ศ. อีกทอดหนึ่ง ประสงค์ที่จะบังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองหรือไม่ เพียงใด คำฟ้องของโจทก์กรณีนี้หาใช่เป็นคำฟ้องในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่ เมื่อความปรากฏว่าทรัพย์จำนองในคดีก่อนและคดีนี้เป็นทรัพย์จำนองรายเดียวกัน และโจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากบริษัท ส. ซึ่งรับโอนมาจากธนาคาร ศ. โจทก์เดิมอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันในคดีก่อนซึ่งมีคำพี่พากษาถึงที่สุดแล้ว รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องช้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7